เพื่อปกปิดความจริงในสนามรบ กองทัพอิสราเอลทำทุกวิธีที่จะทำลายการสื่อสารของสื่อและองค์กรภายนอก ไม่ให้รายงานตามความจริงเชิงประจักษ์ สวนการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายตน ผู้สื่อข่าวจึงกลายเป็นเป้าหมายที่จะต้องถูกขัดขวาง
วันที่ ๒ ต.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวทาซนิมนิวส์รายงานว่า องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน หรือ RSF ประกาศเมื่อวันพุธว่า ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC เกี่ยวกับการกระทำผิดของกองทัพอิสราเอลต่อนักข่าวในฉนวนกาซาอย่างต่อเนื่อง
เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังระบุว่า “นักข่าวเหล่านี้ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีซึ่งอย่างน้อยที่สุดก็เพื่อก่ออาชญากรรมสงครามที่พิสูจน์ให้เห็นถึงการสอบสวนของอัยการของ ICC ว่าเอาจริงเอาจังแค่ไหน”
การร้องเรียนของ RSF ได้ยื่นต่อสำนักงานอัยการของ ICC เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับนักข่าว ๙ คนที่เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ ๗ ตุลาคม และอีก ๒ คนที่ได้รับบาดเจ็บขณะปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงการทำลายศูนย์สื่อกว่า ๕๐ แห่งในฉนวนกาซาโดยเจตนา ทั้งหมดหรือบางส่วน
จากข้อมูลของ RSFล่าสุด นักข่าวทั้งหมด ๓๔ คนเสียชีวิตนับตั้งแต่การทิ้งระเบิดฉนวนกาซาของอิสราเอล โดยอย่างน้อย ๑๒ คนในนั้นเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่นักข่าว อีก ๑๐ คนในฉนวนกาซาและอีกหนึ่งคนปฏิบัติหน้าที่ในเลบานอน
คริสโตฟี เดลอยเร(Christophe Deloire) เลขาธิการ RSF เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนของการดำเนินการของ ICC โดยกล่าวว่า “ขนาด ความร้ายแรง และลักษณะที่เกิดขึ้นซ้ำของอาชญากรรมระหว่างประเทศที่มุ่งเป้าไปที่นักข่าว โดยเฉพาะในฉนวนกาซา เรียกร้องให้มีการสอบสวนโดยอัยการของ ICC เป็นลำดับแรก เรามี การเรียกร้องสิ่งนี้มาตั้งแต่ปี ๒๕๖๐ เหตุการณ์โศกนาฏกรรมในปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงความเร่งด่วนอย่างยิ่งต่อความจำเป็นในการดำเนินการของ ICC”
นี่ถือเป็นการร้องเรียนครั้งที่ ๓ ที่ RSF ยื่นต่ออัยการของ ICC เกี่ยวกับอาชญากรรมสงครามต่อนักข่าวชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซานับตั้งแต่ปี ๑๐๑๘ การร้องเรียนครั้งแรกถูกส่งในเดือนพฤษภาคม ๒๐๑๘ โดยกล่าวถึงนักข่าวที่เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บระหว่างการประท้วง “Great March of Return” ในฉนวนกาซา
การร้องเรียนครั้งที่สองถูกยื่นในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔ หลังจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลมุ่งเป้าไปที่สถาบันสื่อมากกว่า ๒๐ แห่งในฉนวนกาซา RSF ยังให้การสนับสนุนการร้องเรียนของ Al Jazeera เกี่ยวกับเหตุยิงนักข่าวชาวปาเลสไตน์ ชิริน อบู อัคเลห์(Shirin Abu Akleh) ในเขตเวสต์แบงก์เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๐๒๒ จนปัจจุบันทุกเรื่องยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด
รายงานล่าสุดโดยคณะกรรมการเพื่อปกป้องนักข่าวหรือ CPJ เปิดเผยว่า “มีนักข่าว 8 คนได้รับบาดเจ็บ ขณะที่อีก 3 คนได้รับรายงานว่าสูญหายหรือถูกควบคุมตัว เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังหรือ Watchdog ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวตนของพวกเขา CPJ เน้นย้ำว่าตัวเลขเหล่านี้อยู่บนพื้นฐานของ “การสอบสวนเบื้องต้น” และกำลังพิจารณารายงานที่ยังไม่ได้รับการยืนยันของนักข่าวคนอื่นๆ ที่ต้องเผชิญกับชะตากรรมที่คล้ายกัน ไม่ว่าจะเสียชีวิต สูญหาย ถูกควบคุมตัว ได้รับบาดเจ็บ หรือถูกข่มขู่!!??