หยุดสะ..หมอบรรจบเตือนพวกโหมกระแสฆ่าตัวตายเล่นกับไฟ ระวังพฤติกรรมเลียนแบบ ชี้กฎแห่งกรรมมีจริงใครจะรู้คนต่อไปไม่ใช่ญาติคุณ
ผศ.นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุลวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดเผยถึงกระโหมกระแสฆ่าตัวตาย เกิดในช่วงมาตรการแก้การแพร่ระบาดโควิด-19 ทั้งที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และได้มีการนำไปสู่ประเด็นการเมืองของฝ่ายแค้น ฝ่ายตรงข้าม โดยระบุว่า.. พวกโหนกระแสฆ่าตัวตายทำลายรัฐบาล คุณกำลังเล่นกับไฟ ก่อพฤติกรรมเลียนแบบ ที่อาจกระจายเหมือนไฟลามทุ่ง
เอส. สแต็ก ศึกษางานวิจัย 42 ชิ้นว่าด้วยบทบาทของสื่อกับการฆ่าตัวตายเลียนแบบพบว่า ข่าวการฆ่าตัวตายของดาราภาพยนต์หรือนักการเมืองคนดังมีผลเพิ่มอัตราฆ่าตัวตายในระยะนั้นเพิ่มขึ้น 14.3 เท่าตัว ความโด่งดังของนวนิยายหรือละครที่ตัวเอกฆ่าตัวตายก่อพฤติกรรมเลียนแบบ 4.03 เท่าตัว
มีการพูดถึงว่าการแพร่ข่าวฆ่าตัวตายก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบมาตั้งแต่ปีค.ศ.1774 นวนิยายของเกอเธ่เรื่อง The sorrows of young man Werther ซึ่งเขียนอย่างซาบซื้งตรึงใจในรักที่ไม่สมปรารถนาจนพระเอกฆ่าตัวตาย ต้องถูกห้ามขาย (ไม่เป็นประชาธิปไตย 555)ในยุโรปหลายประเทศ เพราะพบว่าเกิดพฤติกรรมเลียนแบบฆ่าตัวตายเป็นจำนวนมากในอิตาลี ไลป์ซิกและโคเปนเฮเกน
การศึกษาอย่างเป็นระบบเรื่องพฤติกรรมฆ่าตัวตายเลียนแบบเกิดขึ้นจริงจังโดยเดวิด ฟิลลิปส์ในปีค.ศ.1970 การฆ่าตัวตายที่แพร่ราวกับโรคระบาดเกิดขึ้นหลังข่าวการฆ่าตัวตายของมาริลิน มอนโรว์ ในเดือนที่เธอตายคือก.ค. 1962 มีคนฆ่าตัวตายตามไป 303 คน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 12% ของยามปกติ เรื่องยังไม่จบ เพราะเมื่อข่าวการฆ่าตัวตายของเธอมีการตีพิมพ์รายละเอียดในกระบวนการฆ่าตัวตายของเธอเผยแพร่ไปทั่วประเทศ ก็พบพฤติกรรมฆ่าตัวตายเลียนแบบในเดือนนั้นเพิ่มขึ้นอีก 2.51%
ในสหรัฐอเมริกามีหนังสือเล่มดังอีกเล่มหนึ่ง (ขอปกปิดชื่อ) เป็นหนังสือว่าด้วยวิธีฆ่าตัวตายสำหรับผู้ป่วยระยะท้าย เมื่อหนังสือเล่มนั้นวางตลาด ปรากฏว่าเมืองนิวยอร์กเมืองเดียวมีการฆ่าตัวตายด้วยวิธีที่หนังสือเล่มนี้เสนอแนะ 31.3% ที่น่าตกใจกว่านั้นก็คือ ในจำนวนผู้ฆ่าตัวตายเหล่านี้พบว่า 27% มีหนังสือเล่มนี้อยู่ในครอบครองของคนตายเหล่านั้น
สื่อมีผลอย่างไรที่กระตุ้นเร้าการฆ่าตัวเลียนแบบ?เป็นเพราะการตีข่าวถึงความคับแค้น จดหมายอำลา คำต่อว่ากล่าวโทษ รวมไปถึงวิธีการและฉากการฆ่าตัวตายของคนผู้นั้น มันอาจไปซ้ำกับความรู้สึกของคนที่กำลังตกระกำลำบาก เจ็บป่วย ตกงาน อกหัก หรือถูกลบหลู่ดูแคลน ซึ่งเดิมไม่ถึงกับคิดจะฆ่าตัวตาย แต่ประโคนข่าวที่ลงรายละเอียดมากๆเหล่านี้ อาจกลายเป็นเสมือน “การชี้ทางออก” ให้กับบุคคลดังกล่าว และในเมื่อการตายของคนๆนั้นกลายเป็นเรื่องดัง ราวกับวีรบุรุษ ก็อาจทำให้คนที่ยากลำบากอยู่ คิดหาทางออกเพื่อได้เป็นคนดังอย่างเดียวกัน
บอกตรงๆว่า สถานการณ์โควิด-19 รัฐบาลนี้ดำเนินการได้ดีมาก ด้วยเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของนายกฯลุงตู่ ที่ไม่โกงไม่กินแถมเปิดใจรับฟังความคิดเห็น โดยเลือกฟังความเห็นจากอาจารย์แพทย์อาวุโส แล้วนำไปพิจารณาปฏิบัติ ขณะเดียวกันก็พร้อมใช้การเผด็จอำนาจได้ในยามจำเป็น แต่ยังคงความนุ่มนวลน่านับถือ ผลงานจึงมีให้เห็นไปทั่วโลก นั่นทำให้คนบางฝ่ายที่ค้านจนไม่มีอะไรจะค้านแล้ว ก็หันไปโหนกระแส กระทั่งสร้างกระแสฆ่าตัวตายขึ้นมา
แน่นอนว่าเรื่องฆ่าตัวตายของผู้ตายเป็นเรื่องน่าเสียใจ แต่ผมขอเตือนว่า การสร้างกระแสฆ่าตัวตาย และโหนประโคมให้มันใหญ่โตขึ้น พวกคุณกำลังเล่นกับไฟ เห็นตัวอย่างคนมือบอนไปจุดไฟเผาป่าเล่นที่เชียงใหม่บ้างไหน พอไฟมันลุกเข้าจริงๆก็ลามไปทั่วทั้งเขาจนคุมสถานการณ์ไม่อยู่
ฉันใดก็ฉันนั้น และใครที่สร้างกระแส คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า คนต่อไปที่ฆ่าตัวตายจะไม่ใช่ญาติพี่น้อง ลูกหลานของคุณ เพราะกฎแห่งกรรมนั้น มีจริง!! …ขอเตือนให้หยุด
พวกโหนกระแสฆ่าตัวตายทำลายรัฐบาล คุณกำลังเล่นกับไฟ ก่อพฤติกรรมเลียนแบบ ที่อาจกระจายเหมือนไฟลามทุ่งเอส. สแต็ก…
Posted by หมอบรรจบ (แพทย์ทางเลือก) on Friday, May 1, 2020