จากที่ ดร.ปฐมพงษ์ ออกมาเปิดเผยเมื่อวันที่ 07 กันยายน 2566 ถึงการที่รัฐบาลอเมริกา เตือนเกาหลีเหนือ ต่อมารัสเซียได้เชิญชวนรัฐบาลเกาหลีเหนือให้จัดกองทัพเรือมาร่วมลาดตระเวนกับกองทัพรัสเซียและจีนที่มหาสมุทรอินโด- แปซิฟิกด้วย
ทั้งนี้เนื้อหาบางส่วนที่ ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์เปิดเผยเอาไว้นั้นระบุว่า หลังจากที่อเมริกาแท็กทีมกับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ซ้อมรบที่คาบสมุทรเกาหลีซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อเกาหลีเหนือโดยตรง
รัฐบาลรัสเซียไม่ต้องการให้เกาหลีเหนืออยู่อย่างโดดเดี่ยวจึงขอเชิญกองทัพเรือเกาหลีเหนือมาร่วมซ้อมรบด้วย รัฐบาลอย่างจักรวรรดิ์นิยมอเมริการับไม่ได้ เพราะกลัวว่าเกาหลีเหนือจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีสงครามจากรัสเซียเพิ่มเติม จนทำให้อาวุธยุทโธปกรณ์เหนือล้ำกว่าอเมริกาไปเสียอีกชาติ
ด้านสื่อต่างประเทศรายงานด้วยว่า คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ได้ปรากฏตัวเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566 โดยระบุถึงการติดอาวุธแก่กองทัพเรือด้วยอาวุธนิวเคลียร์คือภารกิจเร่งด่วน และสัญญาว่าจะถ่ายโอนเรือใต้น้ำและพื้นผิว ติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธี เข้าสู่กองทัพเรือมากยิ่งขึ้น ตามรายงานของสำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (เคซีเอ็นเอ)
“พิธีเปิดตัวเรือดำน้ำเป็นการป่าวประกาศจุดเริ่มต้นแห่งปฐมบทใหม่ สำหรับการยกระดับกองทัพเรือแห่งเกาหลีเหนือ” เคซีเอ็นเอรายงาน ซึ่งเรือดำน้ำหมายเลข 841 ซึ่งมีชื่อว่า ฮีโร่ คิม คัน โอ๊ค ตั้งตามบุคคลทางประวัติศาสตร์ของเกาหลีเหนือ จะดำเนินการภารกิจสู้รบในฐานะ หนึ่งในแกนหลักของหนทางจู่โจมใต้น้ำของกองทัพเรือ แห่งเกาหลีเหนือ” คิม จองอึนกล่าว
โดยนักวิเคราะห์พบเห็นสัญญาณของการสร้างเรือดำน้ำใหม่อย่างน้อย 1 ลำ เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2016 และในปี 2019 สื่อมวลชนแห่งรัฐเกาหลีเหนือ เผยภาพ คิม กำลังตรวจตราเรือดำน้ำที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อน ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาภายใต้ความสนใจของเขาเป็นพิเศษ และเชื่อว่ามันจะถูกส่งเข้าปฏิบัติการนอกชายฝั่งทางตะวันออกของประเทศ
ในตอนนั้นสื่อมวลชนแห่งรัฐไม่ได้รายงานเกี่ยวกับระบบอาวุธของเรือดำน้ำหรือบอกว่าการตรวจตราของคิม เกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อไหร่ แต่พวกนักวิเคราะห์มองว่าจากขนาดของเรือดำน้ำใหม่ บ่งชี้ว่ามันถูกออกแบบมาเพื่อบรรทุกขีปนาวุธ ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเรือดำน้ำใหม่นี้จะติดตั้งขีปนาวุธชนิด
ขณะที่เกาหลีเหนือเคยทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกลยิงจากเรือดำน้ำไปแล้วหลายครั้ง เช่นเดียวกับขีปนาวุธพิสัยใกล้และขีปนาวุธร่อนที่สามารถยิงจากเรือดำน้ำ
นอกจากนี้ มันยังไม่ชัดเจนว่าเกาหลีเหนือ สามารถพัฒนาหัวรบนิวเคลียร์ย่อส่วนที่จำเป็นสำหรับติดตั้งบนขีปนาวุธได้แล้วหรือไม่ โดยที่นักวิเคาะห์บอกว่ามีความเป็นไปได้มากที่สุดที่หัวรบขนาดเล็กลงและสมบูรณ์แบบ จะเป็นเป้าหมายหลักของเกาหลีเหนือ หากเปียงยางกลับมาทดสอบนิวเคลียร์อีกรอบ