สถานการณ์ล่อแหลมที่จะเกิดการเผชิญหน้าระหว่างNATO กับรัสเซียระอุคุโชนขึ้นรัสเซียได้ออกมาเตือนอย่างดุดันไม่กี่วันที่ผ่านมา มีนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันวิเคราะห์ถึงบทบาทNATO ที่ส่อเค้าจะล่มสลายภายใน ๒ปีหรือภายในปี ๒๕๖๘ ด้วยปัจจัยภายในและภายนอกอย่างน่าคิด
วันที่ ๕ ก.ย.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์ ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์ของศาสตราจารย์ฟิลลิปส์ เพย์สัน โอ’ไบรอัน นักวิชาการชาวอเมริกันฟันธงว่า “การเปลี่ยนแปลงอำนาจในวอชิงตันจะทำให้กลุ่มพันธมิตรทหารนาโต้แตกแยกอย่างไม่อาจแก้ไขได้”
การกลับมาของโดนัลด์ ทรัมป์ที่ทำเนียบขาวอาจยุติความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯ ที่มีต่อยูเครน ปล่อยให้ยุโรปแตกแยกเพื่อดูแลค่าใช้จ่ายของเคียฟ และก็ต้องยุติสนธิสัญญานาโตในที่สุด
ฝ่ายค้านในการติดอาวุธยูเครนตอนนี้กลายเป็นฐานผู้สนับสนุนของทรัมป์ ซึ่งโอ’ไบรอันประเมินว่ามีสัดส่วนถึงสามในสี่ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งของพรรครีพับลิกัน ทรัมป์ให้คำมั่นซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าจะใช้ความช่วยเหลือทางทหารเป็นช่องทางในการบังคับยูเครนให้เข้าสู่การเจรจาสันติภาพกับรัสเซีย“ภายใน ๒๔ ชั่วโมง”นับจากการเข้ารับตำแหน่ง ในขณะที่คู่แข่งที่ใกล้ที่สุดสองคนสำหรับการเสนอชื่อ GOP ได้แก่ รอน เดซานติส และวิเวก รามาสวามี ก็ได้หารือเรื่องการจำกัดการสนับสนุนเคียฟเช่นกัน
จากผู้สมัครที่มีศักยภาพทั้ง ๓ ราย รามาสวามีไปได้ไกลที่สุด โดยเสนอว่าสหรัฐฯ รับรองการอ้างสิทธิเหนือดินแดนของรัสเซียในยูเครน เพื่อแลกกับการที่มอสโกว์ต้องตีตัวออกห่างจากปักกิ่ง
โอไบรอันเตือน“หากทรัมป์หรือหนึ่งในผู้ลอกเลียนแบบของเขาชนะตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน ๒๐๒๔ ยุโรปอาจพบว่าตัวเองต้องเผชิญกับรัฐบาลอเมริกันชุดใหม่ที่จะยุติการสนับสนุนยูเครนทั้งหมด”
ในสถานการณ์นี้ ประเทศต่างๆ ในยุโรปจะไม่สามารถชดเชยการสูญเสียความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯ ได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดความพ่ายแพ้ทางทหารต่อยูเครน เมื่อสหรัฐฯ ไม่ได้อยู่ในภาพรวม ยุโรปก็จะถูกแบ่งแยกในประเด็นนี้เช่นกัน ประเทศยุโรปตะวันออกและบอลติกกระตือรือร้นแต่ไม่สามารถส่งอาวุธไปยังเคียฟได้ และประเทศตะวันตก เช่น ฝรั่งเศส และเยอรมนี มีแนวโน้มที่จะแสวงหาสันติภาพกับ รัสเซีย
“ผลลัพธ์ที่ได้อาจเป็นมรดกแห่งความขมขื่นและความไม่ไว้วางใจอย่างที่สุด และทำให้ความร่วมมือของยุโรปแตกหักอย่างถาวรอย่างเลวร้ายที่สุด” โอไบรอันความจริงเขาเป็นผู้สนับสนุนยูเครนอย่างกระตือรือร้น แต่เขามองว่าประเทศต่างๆ ในยุโรปจำเป็นต้องเพิ่มการผลิตทางทหารทันทีเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับความเป็นไปได้นี้ แต่เนื่องจากยูโรโซนเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงสามเดือนแรกของปี ๒๕๖๖ และการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเยอรมนีลดลง รัฐต่างๆ ในยุโรปจึงไม่น่าจะสามารถรักษาสนับสนุนกองทัพยูเครนไว้ได้ด้วยตัวเอง
การคาดการณ์ของโอไบรอันตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่ายูเครนจะยังคงสามารถต่อสู้ได้ไปถึงปี ๒๕๖๘ แต่ปัจจุบันตามตัวเลขของรัสเซีย เคียฟสูญเสียทหารไป ๔๓,๐๐๐-๔๕,๐๐๐ นายในช่วงสองเดือนแรกของการรุกโต้ตอบอย่างต่อเนื่อง โดยไม่สามารถเจาะเข้าไปในสนามเพลาะและป้อมปราการหลายชั้น ที่วางโดยรัสเซียตลอดแนวหน้าทั้งเคอร์ซอนและโดเนตสค์
ก่อนที่ปฏิบัติการจะเริ่มในต้นเดือนมิถุนายน รายงานของสื่อตะวันตกหลายฉบับแนะนำว่าการช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯ และ NATO ต่อเคียฟนั้นขึ้นอยู่กับความสำเร็จของการรุก ในเวลาเกือบสามเดือนผ่านไป การรุกโต้กลับของเคียฟถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวอย่างกว้างขวาง
หลังการเลือกตั้งปธน.สหรัฐฯก็พอจะมองออกว่า สภาพขององค์กรพันธมิตรทหารNATO จะเป็นอย่างไร? หากรีพับลิกันขึ้นมา นาโต้จะเหี่ยวเฉาเพราะต้องพึ่งตนเอง ถึงเวลานั้นยุโรปคงไม่ให้พึ่ง ถ้าเดโมแครตยังขึ้นมา NATO อาจยังมีอยู่แต่จะต้องรับภาระหนักในฐานะตัวแทนของสหรัฐลุยสงครามในหลายจุดวาบไฟทั้งยุโรป อาฟริกาและเอเชียแปซิฟิก ดูเหมือนว่า สงครามจะย้ายวิกหรือไม่นาโต้ก็จะเดี้ยงเพราะยิ่งนานวัน กระแสต่อต้านสงครามจากประชาชนในยุโรปจะหนักหน่วงมากขึ้น ความวุ่นวายภายในรัฐต่างๆที่เป็นตัวตั้งตัวตีก่อสงครามจะสาหัสมากขึ้น แม้แต่สหรัฐฯอาจหนีไม่พ้นสงครามกลางเมือง ถ้ารีพับลิกันพ่ายแพ้อย่างไม่เข้าตาอีกครั้ง ดังนั้นสมมติฐานของนักวิชาการอเมริกันท่านนี้ก็เข้าเค้า!!??