จากเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 สื่อต่างประเทศรายงานว่า ระหว่างให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม โดยเซเลนสกี ยืนกรานว่ายูเครน เตรียมพร้อมสำหรับทำสงครามลากยาวกับรัสเซียนั้น
ทั้งนี้สื่อรายงานต่อมาว่า เมื่อผู้สื่อข่าว นาตาเลีย โมเซชุค สอบถามถึงโอกาสที่ความขัดแย้งจะ เคลื่อนเข้าสู่ดินแดนของรัสเซียหรือไม่ ทำให้ ผู้นำยูเครนตอบกลับว่า “มันจะก่อความเสี่ยงใหญ่หลวงที่เราจะถูกทิ้งไว้เพียงลำพัง”
โดยเคียฟยืนกรานมาตลอดว่าเล็งเป้าโจมตีเฉพาะเป้าหมายด้านการทหารแคว้นต่างๆ ที่พวกเขากล่าวอ้างอธิปไตยเหนือดินแดนเท่านั้น เช่น แหลมไครเมีย และไม่เคยดำเนินการโจมตีใดๆ ในดินแดนรัสเซีย ท่าทีที่ขัดแย้งกับเหตุโจมตีอย่างต่อเนื่องเล่นงานแคว้นต่างๆ ตามแนวชายแดน เช่นเดียวกับเหตุโดรนกามิกาเซ่โจมตีลึกเข้าไปภายในดินแดนของรัสเซีย ซึ่งทางมอสโกกล่าวโทษว่าเป็นฝีมือของกองกำลังยูเครน
สำหรับบทบาทของยูเครนในการส่งโดรนโจมตีรัสเซีย เช่นเดียวกับคำกล่าวอ้างว่ามันดำเนินการภายใต้การสมรู้ร่วมคิดของตะวันตก ถูกตอกย้ำในรายงานข่าวหนึ่งของนิตยสารข่าวอีโคโนมิสต์ โดยสื่อมวลชนสัญชาติอังกฤษแห่งนี้ระบุว่าพวกผู้สนับสนุนต่างชาติมอบข่าวกรองแก่บรรดานักวางแผนยูเครน ในขณะที่ รัสเซียไม่อาจปิดจุดอ่อนดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของตนเองได้ทั้งหมด
รายงานข่าวของอีโคโนมิสต์ ระบุว่า โปรแกรมโดรนของยูเครนไม่ได้อยู่ภายใต้คำสั่งโดดๆ แต่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และด้วยที่มันเตรียมการโดยบรรดาผู้อุปถัมภ์ทั้งหลาย มันจึงหมายความว่า
“ปฏิบัติการบางส่วนที่เล็งเป้าหมายเล่นงานมอสโก ดูเหมือนจะเป็นโครงการประชาสัมพันธ์ที่ออกแบบมาเพื่อดึงดูดความสนใจบรรดาบอสผู้จัดซื้อทั้งหลาย มากกว่าที่จะเล็งเป้าไปที่คุณประโยชน์ด้านการทหาร” มอสโกส่งเสียงเตือนมาช้านานว่าด้วยการจัดหาแสนยานุภาพด้านการทหารล้ำสมัยมากขึ้นเรื่อยๆ แก่เคียฟ บรรดาชาติตะวันตกกำลังลากตนเองลึกเข้าสู่ความขัดแย้ง และเสี่ยงทำให้สถานการณ์ลุกลามบานปลาย
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ที่ประชุมซัมมิตของบรรรดาผู้นำ 31 ชาติสมาชิกนาโตในกรุงวิลนีอุส เมืองหลวงของลิทัวเนีย เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการใหญ่นาโต้ ยืนกรานว่าพันธมิตรแห่งนี้ “ไม่เคยใช้ภาษาที่หนักแน่นเช่นนี้มาก่อน” ในการสนับสนุนยูเครน สู้รบเพื่อเอาชนะการรุกรานของรัสเซีย
บรรดาผู้นำนาโต้รับปากว่า “อนาคตของยูเครนอยู่ในนาโต้” และได้หั่นกระบวนการต่างๆ ที่เคียฟจำเป็นต้องฟันฝ่าเพื่อก้าวเข้าสู่พันธมิตรแห่งนี้ “เราจะอยู่ในจุดที่ขยายคำเชิญไปยังยูเครนให้เข้าร่วมในพันธมิตร ครั้งที่พันธมิตรเห็นพ้องกันและเข้าเงื่อนไขต่างๆแล้ว” พูดหวานหูปลอบเซเลนสกี้แต่เนื้อหาคือไม่ใช่ตอนนี้นั่นเอง
ถ้อยแถลงนี้ที่ไม่ได้มีความก้าวหน้ามากไปกว่าคำประกาศเมื่อปี 2008 เกี่ยวกับสถานภาพความเป็นสมาชิกของยูเครน ได้สร้างความผิดหวังอย่างหนักแก่เซเลนสกี้ ซึ่งเดินทางมายังกรุงวิลนีอัสด้วยตนเอง และได้กล่าวปราศรัยกับผู้สนับสนุนชาวลิทัวเนีย บริเวณจัตุรัสกลางเมืองก่อนประชุมร่วมกันบรรดาผู้นำนาโต อุตส่าห์ระดมคนมาเชียร์ยังแห้ว