จากที่ขณะนี้มีการพูดถึงการฆ่าตัวตายจนกำลังกลายเป็นกระแส ให้วิพากษ์วิจารณ์ในสังคม โดยบางส่วนมีการโยงไปถึงสาเหตุว่ามาจากผลกระทบโควิด-19 และบางฝ่ายถึงกับนำไปโจมตีรัฐบาล ล่าสุดมีการสนทนาระหว่างนักวิชาการกับลูกศิษย์ระบุไว้อย่างน่าสนใจ
ทั้งนี้ดร.เวทิน ชาติกุล ผู้อำนวยการสถาบันทิศทางไทย ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก โดยระบุเนื้อว่า สนทนาเรื่องฆ่าตัวตาย มีลูกศิษย์เปิดประเด็นเรื่องฆ่าตัวตาย https://www.facebook.com/100001641705085/posts/3188622674535758/ จึงเข้าไปร่วมสนทนาด้วย นี่คือบางส่วนของการสนทนาดังกล่าว
คุณตาผมฆ่าตัวตายเพราะป่วยหนัก ก่อนอื่นเราเองต้องวางความคิดว่า การฆ่าตัวตาย บวกหรือลบ ถูกหรือผิด (แม้ว่ามันจะเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำก็ตาม) แล้วมองมันตามจริง ปกติคนเราจะทำอะไรซ้ำๆ จนคล้ายจะกลายเป็นนิสัย ตั้งแต่ ตื่นเช้าขึ้นมาต้องหากาแฟกินก่อน หรือ 5 นาทีต้องมาเช็คเฟซ หรือ ด่าคนเห็นต่างทางการเมือง แม้แต่ต้องสวดมนต์แผ่เมตตาก่อนนอน มันจะวนมาเอง เป็นความเคยชิน หนักๆคือ กลายเป็น addict พวกนี้ออกยากเหมือนคนจะเลิกบุหรี่ เลิกยาก
ฆ่าตัวตาย ไม่ใช่ความเคยชินแบบข้างบนแต่น่าจะมีลักษณะของการย้ำคิดย้ำทำแบบนี้มาก ส่วนใหญ่คือเกิดภาวะขัดแย้งที่แก้ไม่ได้รู้สึกไม่มีทางออกซ้ำๆอยู่นานมาก ถ้าไม่เกิดภาวะ mental breakdown ก็จะคิดสั้น ปัญหาบางเรื่องอาจไม่ใช่เรื่องเลวร้ายส่วนตัว สุขภาพ หรือทางเศรษฐกิจด้วยซ้ำ เช่นกรณีคุณสืบ เป็นเรื่องงานและอุดมการณ์ สังคมก็ไม่ได้ด่า
มี 1 กรณีที่มีพระฆ่าตัวตาย (เพราะเจ็บป่วยจนทำไม่ได้แล้ว)แต่ก่อนตายแว็บเดียวจิตเกิดหลุดพ้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ว่า หรือติเตียน แต่นี่คือ rare ของ rare case มากๆ
Chainaphat Channak แล้วอาจารย์คิดว่า อะไรที่จะทำให้ผู้เสพติดทั้งหลายออกมาจากวังวนแบบนี้ได้ครับ ผมเองค่อนข้างเพ้อเจ้อ เอะอะอะไรก็เอาความรักมาตอบตลอด อาจารย์เห็นว่าไงบ้าง
Wathin Chatkoon ตัวเองครับ จะพาตัวลงห้วงเหวหรือนรกขุมที่ลึกที่สุด หรือจะไปนิพพาน ไปพบพระเจ้า ก็ตัวเองทั้งนั้น
- Self-Loving ความรักและเมตตาตัวเอง ที่สำคัญที่สุุดคือ ให้อภัยตัวเอง (self-forgiving)
2. Surrender การปล่อยวางและยอมรับความพ่ายแพ้ หรือสูญเสีย ว่าทุกอย่างไม่ใช่ของเราจริงๆ ได้มาเสียไป
3. Will to Power. ตอบแบบนิชเช่ แรงผลักที่อยากจะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ตัวเองอยู่รอด (ซึ่งนิชเช่เองก็ทำไม่ได้)
4. Self-Understanding คือ “เห็น” ตัวเอง “เข้าใจ” ตัวเอง เห็น patternของตัวเอง ทั้งพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ทั้งบวกและลบ จนเข้าใจว่าแรงผลักหรือแรงกระตุ้นเร้าทั้งบวกและลบเป็นเพียง “ปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติ” ระหว่าง สิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรา กับ โลกภายนอก ตัวเราเป็นเพียง กระบวนการ หรือ กลไกปฏิสัมพันธ์ ที่เกิดขึ้นเท่านั้น เราจะทำให้ปฏิสัมพันธ์หรือใช้กลไกในทาง creation หรือ destruction ก็ได้ทั้งนั้นในปฏิสัมพันธ์หนึ่งๆ
แต่พวกนี้ไม่ได้ทำง่าย เพราะต้องการกำลังของจิตใจและสติที่สูงระดับหนึ่งซึ่งคนที่ซึมเศร้าและคิดไม่ตกไม่มี
กัลยาณมิตร พ่อ แม่ ครอบครัว มิตรสหาย ที่รักเข้าใจและเป็นกำลังใจให้ จึงเป็นส่วนเสริมที่สำคัญ
ในความเป็นจริง มีหลายเรื่องซับซ้อนกว่านี้
ที่มา : เฟซบุ๊กWathin Chatkoon