เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ความโดดเด่นในการป้องกันการตอบโต้ของยูเครนกว่า ๓ เดือน คือแนวป้องกันที่สร้างขึ้นอย่างเหมาะสมโดยนายพล Surovikin นี่เป็นสาเหตุหลักของความล้มเหลวในการตอบโต้ยูเครน ประกอบกับการระดมอาวุธยุทโธปกรณ์ซึ่งรัสเซียสามารถผลิตได้เอง ออกมาใช้ในสนามรบอย่างไม่หยุดหย่อนใช้ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศและทางทะเล
วันที่ ๑๐ ส.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวมิลิทารี่รีวิวรายงานว่า พลเอกอาวุโสวาเลอรี มาร์เชนคอฟ เปิดเผยว่า การตอบโต้ของยูเครนกำลังล้มเหลวเนื่องจากผลงานของอดีตผู้บัญชาการกองกำลังร่วมของกลุ่มกองกำลังรัสเซียในยูเครน นายพลแห่งกองทัพรัสเซียเซอร์เก ซูโรวิคิน (Sergei Surovikin) ผู้สร้างแนวป้องกันที่แข็งแกร่ง
Marchenkov ครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้บังคับบัญชาของ Surovikin กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับสิ่งพิมพ์อูราด็อตอาร์ยู(Ura.ru)กล่าวว่า “ในบางพื้นที่ ความลึกของแนวป้องกันที่เขาสร้างนั้นยาวถึง ๑๐ กิโลเมตร”
มาร์เชนคอฟตั้งข้อสังเกตว่า “ฟันของมังกร” ที่เป็นโครงสร้างป้องกันคอนกรีตเบื้องต้น ที่มักแสดงให้เห็นในวิดีโอไม่ใช่แนวป้องกันหลักในตัวเอง ความจริงคือมันประกอบด้วยองค์ประกอบหลากหลายมากมาย
มาร์เชนคอฟถือว่าการใช้กลุ่มสนับสนุนทางยุทธวิธี มากกว่ากองทัพหลักระดับกองพันเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของ Surovikin ในการป้องกันรัสเซีย นอกจากนี้เขายังเสริมว่ามาตรการของ Surovikin แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการต่อสู้กับ UAV ของศัตรูด้วย
และในช่วงเวลานี้ที่ยูเครนใช้คลัสเตอร์บอมในพื้นที่แนวหน้าของการสู้รบ ก็ยังไม่อาจฝ่าข้ามแนวป้องกันด่านแรกได้ นักรบของเคียฟก็ยังคงพอใจที่ทำลายป่าให้ราบลงได้เพื่อไม่เป็นที่ซ่อนของกองกำลังรัสเซีย
Surovikin ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของRussian Aerospace Forcesตั้งแต่ปี ๒๐๑๗ โดยดูแลความสามารถในการป้องกันทางอากาศของประเทศ
ตลอดอาชีพการทหารที่ยาวนานหลายสิบปี นักรบวัย ๕๖ ปีคนนี้ได้สั่งสมประสบการณ์สำคัญในความขัดแย้ง เช่น สงครามโซเวียตในอัฟกานิสถาน สงครามเชเชนครั้งที่สอง และสงครามกลางเมืองในซีเรีย ความเป็นผู้นำและความเชี่ยวชาญทางยุทธวิธีของเขาทำให้เขาได้รับสมญานามว่า ‘ นายพลอาร์มาเก็ดดอน ‘ จากสื่อตะวันตก โดยเน้นย้ำถึงชื่อเสียงของเขาในการใช้กลยุทธ์สงครามที่แปลกใหม่และมีประสิทธิภาพ
แนวป้องกัน Surovikin ครอบคลุมเครือข่ายขนาดใหญ่ของตำแหน่งที่มีป้อมปราการซึ่งออกแบบมาเพื่อขัดขวางกองกำลังยูเครน
แนวป้องกันประกอบด้วยระบบที่ซับซ้อนและมีหลายชั้น รวมถึงสนามเพลาะของทหารราบซึ่งลึกมาก ทุ่นระเบิดต่อต้านบุคลากรและต่อต้านรถถังกว้างมาก และแนวป้องกันต่อต้านรถถังที่เรียกว่า ‘เขี้ยวมังกร’ นอกจากนี้ เขื่อนดินที่ยกสูงขึ้นยังได้รับการวางเชิงกลยุทธ์เพื่อป้องกันยุทโธปกรณ์ทางทหารและให้การป้องกันเพิ่มเติมอีกด้วย ในช่วงต้นของการเตรียมการและภาพถ่ายดาวเทียมของฝ่ายยูเครนนำออกเผยแพร่ เคียฟและนาโต้หัวเราะเยาะและวิจารณ์กันอย่างเย้ยหยัน แต่พอเจอของจริงจนวันนี้ก็ยังแพ้ยับ
แนวป้องกันมีความยาวเกือบ ๒,๐๐๐ กิโลเมตร ขยายผ่านภูมิภาคเช่นKherson , Zaporozhye , Crimea , Donetsk , Luganskและดินแดนรัสเซียที่มีพรมแดนติดกับยูเครน แม้ว่าองค์ประกอบบางอย่างของแนวป้องกันจะมองเห็นได้โดยนักวางแผนทางทหารของยูเครนผ่านภาพถ่ายดาวเทียม แต่การทำลายโครงสร้างพื้นฐานนี้พิสูจน์ให้เห็นถึงความท้าทายและยากที่ฝ่าฟันเนื่องจากปัจจัยหลายประการ
๑.มีการเฝ้าระวังด้วยดาวเทียมทหารของรัสเซีย ทำให้กองสู้รบของดาวเทียมนาโต้ที่เฝ้าติดตามสถานการณ์ในสนามรบอย่างต่อเนื่องทำให้มองเห็นแนวป้องกันได้อย่างจำกัด การสอดแนมนี้ช่วยให้กองกำลังยูเครนสามารถระบุองค์ประกอบบางอย่างของโครงสร้างพื้นฐานการป้องกันได้ แต่ภาพรวมทั้งหมดยังคงถูกบดบัง
๒.ความซับซ้อนและลักษณะหลายชั้น การออกแบบที่ซับซ้อนของ Surovikin Defensive Line และการป้องกันหลายชั้นทำให้ยากต่อการเจาะหรือปิดการใช้งาน การรวมกันของสนามเพลาะ ทุ่นระเบิด และฟันของมังกรทำให้เกิดอุปสรรคที่น่าเกรงขามซึ่งต้องมีการวางแผนและดำเนินการอย่างรอบคอบจึงจะทะลวงได้
๓.ความเชี่ยวชาญของทหารรัสเซีย กองกำลังรัสเซียภายใต้การบังคับบัญชาของนายพล Surovikin ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถและประสบการณ์ในการปฏิบัติการป้องกัน ความสามารถในการสร้างและเสริมตำแหน่งอย่างมีประสิทธิภาพมีส่วนทำให้แนวรับมีความยืดหยุ่น
๔.ข้อจำกัดด้านทรัพยากรของฝ่ายยูเครน กองกำลังยูเครนเผชิญกับข้อจำกัดในด้านทรัพยากรอาวุธยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ต้องพึ่งพาจากตะวันตกผลิตเองไม่ได้ ซึ่งขัดขวางความสามารถในการโจมตีแนวป้องกันอย่างต่อเนื่อง
แม้ว่ากองกำลังยูเครนยังคงปิดล้อมคาบสมุทรและเปิดการโจมตีลึกเข้าไปในดินแดนของรัสเซีย แต่แนวป้องกัน Surovikin ได้ขัดขวางการตอบโต้ของเคียฟ-นาโต้อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้กองกำลังยูเครนไม่สามารถบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการได้