จากกรณีฝรั่งเศสยังต้องการอยู่ในไนเจอร์ เพราะมีผลประโยชน์ทับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำประเทศที่สามารถชักใยอยู่เบื้องหลังได้ จึงพยายามดึงชาติอื่นๆเข้ามาช่วยเปิดศึก ขณะที่อีกฝ่ายผนึกกำลังชาติแอฟริกา อันมีรัสเซียสนับสนุนทั้งอาวุธและกำลังพล???
ล่าสุดเมื่อวันที่ 09 สิงหาคม 2566 สถานการณ์ของฝรั่งเศสดูจะยิ่งย่ำแย่เมื่อมีรายงานจาก Blockdit World Update ที่เปิดเผยถึงท่าทีชาติยุโรปว่า
“วันที่ผ่านมา นางวิกตอเรีย นูแลนด์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้รับอนุญาตให้บินเข้าไนเจอร์ โดยสหรัฐ พยายามยื่นเงื่อนไขให้อามิสสินจ้าง โน้มน้าวข่มขู่ให้ตัวแทนรัฐบาล คสช.ไนเจอร์
เห็นถึงผลกระทบของการไม่ฟื้นฟูความสัมพันธ์ในข้ออ้างประชาธิปไตยกับสหรัฐ พยายามขอพบอดีตประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด บาซูม ที่ยื่นใบลาออกและถูกคุมขัง แต่กินแห้ว
เธอปล่อยข่าวกรองลวงให้ไนเจอร์ ตระหนักถึงอันตรายของการเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และกลุ่มนักรบ Wagner ขู่ว่าไนเจอร์ไม่มีสิทธิอธิปไตยในการเลือกนโยบายต่างประเทศของตนเอง ต้องให้สหรัฐ ชี้ว่าทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้เท่านั้น แต่ฝ่ายบริหารไนเจอร์ชุดใหม่ เอาหูทวนลม ผู้แทนสหรัฐ จึงกินแห้วกลับบ้านมือเปล่า
รัฐบาล คสช.ไนเจอร์ ยังปฏิเสธคำร้องขอประเทศ คณะผู้แทน ECOWAS , สหประชาชาติ ซึ่งจะขอบินเข้าไปเมืองหลวงกรุงนีอาเม เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อบังคับให้ยอมแพ้ต่อฝรั่งเศส
ไม่สนใจการคว่ำบาตรฝ่ายเดียวที่ผิดกฎหมายและไร้มนุษยธรรม ไม่กลัวคำขู่คุกคามแทรกแซงทางทหารของกลุ่ม ECOWAS ที่กระทำการภายใต้อิทธิพลชักใยของฝรั่งเศส สหภาพยุโรป และสหรัฐ
การแสดงความององอาจ ไม่กลัวมหาอำนาจตะวันตก ได้สร้างความขายหน้าอัปยศอดสูแก่เจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ทำให้ชาติในสหภาพยุโรป ที่ต้องการพลังงานแร่ยูเรเนียมกลัวว่า หากขัดแย้งกับไนเจอร์ อิตาลี จะเจ็บหนักที่สุดเพราะเป็นจุดรับก๊าซและน้ำมัน จากท่อทรานซาฮารา ที่เริ่มจากไนจีเรีย ผ่านดินแดนไนเจอร์ แอลจีเรีย
อิตาลีเป็นเสือนอนกินส่วนต่างราคาขายพลังงานทางท่อต่อให้สหภาพยุโรป การเปิดศึกกับไนเจอร์คือ การฆ่าตัวตาย คล้ายเยอรมนี เปิดศึกกับรัสเซีย จนความเจริญทางเศรษฐกิจ GDP เป็นศูนย์อยู่ตอนนี้
อิตาลี จึงถอยกรูดไม่เอาด้วยกับการบุกทางทหารต่อไนเจอร์ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศอิตาลี สนับสนุนให้ใช้วิธีทางการทูตเท่านั้น เพื่อให้สถานการณ์ในไนเจอร์สงบลง
นอกจากนี้ประเทศทางตอนเหนือของสหภาพยุโรป คือ เบลเยียม สวีเดน ฟินแลนด์ และนอร์เวย์ ที่เห็นบทเรียนหายนะจากหาเรื่องวิวาทกับรัสเซียมาแล้ว จึงถอยกรูดเช่นกัน คัดค้านฝรั่งเศส อย่างแข็งขันในการแทรกแซงทางทหารต่อไนเจอร์ โดยจะยังคงใช้วิธีทางการทูตผูกมิตร ให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนากับไนเจอร์ต่อไป
สหรัฐฯก็เลือกที่จะถอยกรูด ยืนยันว่าสนับสนุนการเจรจาเท่านั้น ตอนนี้ฝรั่งเศส จึงถูกลอยแพจากพวกเดียวกัน กลายเป็นหัวเดียวกระเทียมลีบ ยิ่งบั่นทอนอำนาจของฝรั่งเศสในแอฟริกาลดน้อยลง”