ตาอยู่โผล่แส่!? อดีตCIAแฉซี๊ด เมกาส่งนูแลนด์ไปข่มขู่แบล็คเมไนเจอร์ เขี่ยฝรั่งเศสหวังจองยูเรเนียมปากมัน

0

ฮือฮามากเมื่อทหารผ่านศึกอดีตซีไอเอออกมาฟันธง การเดินทางไปเยือนไนเจอร์ของนูแลนด์ รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่จริงมีหลายตำแหน่ง ปรากฎการณ์ครั้งนี้เขาฟันธงว่า มันหมายถึงการ ‘ข่มขู่’ ‘คุกคาม’ และแบล็คเมรัฐบาลใหม่ของไนเจอร์นั่นเอง และเหตุผลหลักที่แท้จริงคือ “ยูเรเนียม” เมื่อผู้นำรัฐประหารไม่ให้พบ และเน้นไม่ให้คบกับวากเนอร์ จับตาส่งISIS ขวางวากเนอร์ช่วย ถ้าทำจริงจะเป็นหลักฐานสำคัญว่าที่แท้ ISIS ก็คือกลุ่มก่อการร้ายของสหรัฐฯนั่นเอง

วันที่ ๙ ส.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวสปุ๊ตนิค รายงานว่าลาร์รี่ จอห์นสัน (Larry Johnson) ทหารผ่านศึกอดีตคนของ CIA และกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาฟริกา ให้สัมภาษณ์ถึงการเดินทางของวิคตอเรีย นูแลนด์ (Victoria Nuland) ได้พบกับสมาชิกของรัฐบาลใหม่เพื่อพูดคุย เขาวิเคราะห์การมาเยือนของอาร์ค-นีโอคอนมีความหมายอย่างไรต่ออนาคตของประเทศในแอฟริกาตะวันตกไม่เฉพาะไนเจอร์เท่านั้น

รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯวิกตอเรีย นูแลนด์ เดินทางไปยังเมืองนีอาเมเมืองหลวงของประเทศไนเจอร์ และพบกับรักษาการหัวหน้าฝ่ายป้องกันประเทศไนจีเรีย นายพลมุสซา ซาลาอู บาร์มู (Moussa Salaou Barmou) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเสนาธิการทหารคนใหม่และเคยทำงานอย่างใกล้ชิดกับสหรัฐฯ ในอดีต ซึ่งร่วมกับอดีตเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสได้ตั้งฐานปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มญิฮาดในเขตซาเฮลของไนเจอร์ รวมทั้งทีมเจ้าหน้าที่ของเขาในวันจันทร์ สำหรับสิ่งที่เธออธิบายในภายหลังว่าเป็นการพูดคุยที่ “ตรงไปตรงมามากแต่ยังค่อนข้างยาก”

เธออธิบายว่าเจ้าหน้าที่ที่ก่อการกบฏไม่ตอบรับต่อแรงกดดันของสหรัฐฯ ที่จะให้ประเทศกลับคืนสู่การปกครองของพลเรือน และไม่ตอบรับในการเลิกคบวากเนอร์

การเยือนเกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากเส้นตายที่กำหนดโดยประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตกหรืออีโควาส (ECOWAS) ต่อคณะรัฐบาลชุดใหม่ ให้สละอำนาจคืนให้กับประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด บาซูม (Mohamed Bazoum) ไม่เช่นนั้นจะต้องเผชิญหน้ากับการแทรกแซงทางทหาร 

นี่เป็นเรื่องผิดปกติในการเข้ายึดอำนาจของทหารครั้งก่อน ความพยายามในประเทศแอฟริกาตะวันตกที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีการยึดอำนาจบ่อยครั้งทั้งในปี ๒๕๓๙, ๒๕๔๒, ๒๕๕๓ และ ๒๕๖๔ แต่นั่นไม่ได้รับความสนใจจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯในระดับเดียวกันกับครั้งนี้

นูแลนด์บอกกับสื่อหลังการเจรจาว่า “ฉันหวังว่าพวกเขาจะเปิดประตูสู่การทูต เราทำข้อเสนอนั้น”  “แนวคิดของพวกเขาไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และนั่นจะเป็นเรื่องยากในแง่ของความสัมพันธ์ของเราหากนั่นคือเส้นทางที่พวกเขาเลือก แต่เราได้ให้ทางเลือกมากมายแก่พวกเขาในการพูดคุยกันต่อไป และเราหวังว่าพวกเขาจะยอมรับเราในเรื่องนั้น” เธออ้างถึงข้อเรียกร้องของ ECOWAS  เป็นข้อเรียกร้องเดียวกับฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปที่รัฐบาลทหารต้องคืนอำนาจให้กับประธานาธิบดีที่เป็นพลเรือน

 

จอห์นสันอดีตซีไอเอกล่าวว่า ““การส่งเธอไปเยี่ยมในลักษณะนั้นออกแบบมาเพื่อส่งข้อความว่าสิ่งนี้มีความสำคัญอย่างสูงสำหรับสหรัฐอเมริกา และเธอหวังโดยพื้นฐานแล้วว่าจะข่มขู่ผู้นำรัฐประหารและพันธมิตรของพวกเขา บอกให้พวกเขารู้ว่าสหรัฐฯ จะไม่ปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไปและตราโทษด้วยการขู่ว่าจะเจอการรุกรานหรือปฏิบัติการทางทหาร”

“การที่เธอออกมาบอกว่าเป็นการประชุมที่ยากลำบาก หมายความว่า ผู้นำรัฐประหารไนเจอร์ ซึ่งเป็นรัฐบาลชุดปัจจุบัน ปฏิเสธที่จะยอมรับข้อเรียกร้องของเธอ”

สหรัฐฯ ซึ่งมีทหารประมาณ ๑,๑๐๐ นายและ ฐานทัพอย่างน้อย ๔ แห่งในไนเจอร์ ถูกห้ามไม่ให้ใช้ศูนย์ปล่อยโดรนมูลค่า ๑๑๐ ล้านดอลลาร์ที่สร้างขึ้นในปี ๒๕๖๒ หลังจากกองทัพเข้ายึด ในความคิดเห็นของเธอเมื่อวันจันทร์ นูแลนด์กล่าวว่าเธอและทีมบริหารไนจีเรียมีการคุยใน “รายละเอียดมาก” เกี่ยวกับ “ความเสี่ยงในแง่มุมของความร่วมมือของสหรัฐฯที่หัวหน้าฝ่ายกลาโหม Barmou เคยให้ความสนใจเป็นอย่างมากในอดีต” พูดภาษาชาวบ้านคือเอาผลประโยชน์มาล่อ

การแสดงลักษณะของกองทัพสหรัฐฯ ในสถานการณ์ที่ไนเจอร์เกิดขึ้นแบบนี้เพราะสหรัฐฯมองว่า ถ้าไนเจอร์เป็นอูฐ สหรัฐฯก็เป็นจมูกของอูฐ สามารถแทรกตัวเข้าไปได้อย่างเต็มที่” จอห์นสันกล่าวว่า “ความเป็นไปได้ของปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ นั้นสูงเพราะ กองทัพของไนเจอร์ไม่สามารถถูกมองว่าเป็นคู่ต่อสู้ได้ ไนเจอร์ไม่ใช่รัสเซีย ดังนั้น สหรัฐฯ จึงเลือกที่จะบี้ประเทศที่อ่อนแอกว่าเพราะเชื่อว่าชนะแน่”

จอห์นสันเชื่อว่าวิกฤตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับความคับข้องใจที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และฝรั่งเศสที่ตำแหน่งของพวกเขาในแอฟริกากำลังถูกคุกคามจากกลุ่มอำนาจที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงรัสเซียด้วย “หากย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ล่าสุดของไนเจอร์ ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา ไนเจอร์ปรากฏตัวอย่างโดดเด่นในปี ๒๕๔๔ เนื่องจากยูเรเนียมเยลเค้ก ที่ถูกกล่าวหาว่าลักลอบนำเข้าให้กับซัดดัม ฮุสเซน นั่นกลายเป็นเรื่องโกหก มีการรัฐประหารหลายครั้งในไนเจอร์ตั้งแต่นั้นมา และในเวลาไม่นาน สหรัฐฯ ก็รู้สึกว่าต้องพยายามแทรกแซงหรือคุกคามผู้นำการรัฐประหารของครั้งก่อนๆ ที่จะกอบกู้รัฐบาลดั้งเดิมที่พวกเขาล้มล้าง ฉันคิดว่าสิ่งที่เราเห็นคือการแสดงอิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นของรัสเซียในภูมิภาคนี้ สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสกำลังทำทุกวิถีทางเพื่อพยายามรักษาการควบคุมอาณานิคมที่มีมาเกือบ ๑๐๐ ปี และชาวไนจีเรีย ชาวมาลีและบูร์กินาฟาโซต่างก็ยืนขึ้นและพูดว่าเราพอแล้ว เราจะไม่อยู่ภายใต้หัวแม่มือของตะวันตกอีกต่อไป นูแลนด์พยายามที่จะหยุดสิ่งนั้น แต่ฉันไม่คิดว่าเธอจะทำได้” 

จอห์นสันระบุถึงการคุกคามของการแทรกแซงในวิกฤตโดย ECOWAS ซึ่งได้ตบการคว่ำบาตรไนเจอร์และขู่ว่าจะเข้าแทรกแซงด้วยกำลังทหารที่แข็งแกร่ง ๒๕,๐๐๐ กองร้อย ในฐานะการพัฒนาที่ “อันตรายมาก” แต่ไร้สาระในเวลาเดียวกัน เนื่องจากกลุ่มภูมิภาคไม่มีเหตุผลที่แท้จริง ที่จะเข้าไปแทรกแซง และสมาชิกหลายประเทศก็เมินเข้าร่วม

จอห์นสันย้ำว่า “ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับยูเรเนียมและแร่ธาตุหายากอื่นๆ ที่ผลิตในไนเจอร์ ชาวตะวันตกทั้งสหรัฐฯและฝรั่งเศสต้องการแร่ธาตุเหล่านั้นอย่างยิ่งและต้องการเข้าถึงแร่ธาตุเหล่านั้นอย่างอิสระ และฉันคิดว่าสิ่งที่เรากำลังเห็นอยู่นั้น “ยูเรเนียม”เป็นแกนหลักของความขัดแย้งนี้” ปริมาณยูเรเนียมจากไนเจอร์และจากรัสเซีย ทั้งสองประเทศรวมกันหรือแค่เพียงประเทศเดียวสามารถหยุดชะงักอย่างรุนแรงในตลาดยูเรเนียมทั่วโลก ซึ่งจำเป็นสำหรับเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และอุตสาหกรรมทางทหาร” จอห์นสันกล่าวสรุป ถึงสาเหตุที่แท้จริงเบื้องหลังวิกฤต!!