สงครามในอาฟริกาเขย่ามหาอำนาจอดีตนักล่าอาณานิคมอย่างฝรั่งเศส และอาจขยายไปถึงนักล่าอาณานิคมใหม่อย่างสหรัฐฯ แม่ว่าสถานการณ์โดยรวมดูเหมือนว่าการรัฐประหารครั้งนี้ อเมริกาจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ที่สุดก็ตาม
สถานการณ์ล่าสุด คณะรัฐประหารได้ติดต่อคุยกับหลายฝ่ายซึ่งมีรายงานตามโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวางแต่ไม่ปรากฎในรายงานสำนักข่าวหลักเท่าใดนัก แต่ที่แน่ๆคือมีการติดต่อว่าจ้าง “กลุ่มวากเนอร์” ขอความช่วยเหลือกลัวโดนต่างชาติส่งกำลังทหารแทรก
แต่ที่ลือสนั่นเผยแพร่ในสื่อตะวันตกคือ มาครงกริ้วหน่วยข่าวกรองลับฝรั่งเศส DGSE ว่าทำงานไร้ประสิทธิภาพ แต่ถูกตอกกลับมาว่า “มาครง” ส่งหน่วยรบพิเศษไปช่วย “บาซูม” ก่อนเกิดปฏิวัติแล้วแต่ไม่ทันเอง เป็นที่น่าสังเกต หรือมาครงถูกเมกาวางยา เพราะที่ผ่านมาโดนมาแล้วหลายดอกฐานมีท่าทีแข็งข้อเอาใจออกห่าง ทั้งฉีกสัญญาซื้อเรือดำน้ำของออสซี่ ทั้งหนุนปฏิวัติสีหลังฝรั่งเศสเอนเอียงไปปกป้องจีน ยอมซื้อพลังงานจากจีนด้วยเงินหยวน มันเป็นการบีบหัวใจเปโตรดอลลาร์ชัดๆ
ต้องจับตาว่าเกมสงครามในอาฟริกาจะจบลงแบบไหน ขณะที่ฝุ่นยังตลบ ภาพตอนนี้มีให้เห็น ขณะที่อาฟริกาผู้แข็งข้อบอกคือสงครามต่อต้านนักล่าอาณานิคม แต่เมกา-อียูบอกคือ สงครามระหว่างผู้รักประชาธิปไตยกับเผด็จการ
แต่เกมมันไม่นิ่งเพราะ ECOWAS ถอยไม่ยอมส่งทหารเข้าไปบี้ไนเจอร์เนื่องจากวุฒิสภาของกลุ่มไม่ยอมรับมติปราบไนเจอร์ตามคำขู่ของประธานซึ่งปีนี้คือไนจีเรียปธน.สายโปรตะวันตก และอาฟริกาหลายประเทศคัดค้านแก้ปัญหาด้วยทหารให้เน้นเจรจา ด้านตะวันตกทั้งอียูและนาโต้พากันหลอนวากเนอร์กลัวลับลวงพรางของปูตินตามๆกัน
วันที่ ๗ ส.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์รายงานว่า ไนเจอร์ปิดน่านฟ้าท่ามกลางภัยคุกคามจากการรุกรานต้องต่างชาติ รัฐบาลทหารของไนเจอร์เพิกเฉยต่อคำขาดของเพื่อนบ้านที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตกอย่างอีโควอสว่าจะส่งทหารเข้ามาปราบหากไม่ยอมคืนอำนาจให้รัฐบาลหุ่นเชิดต.ต. วันนี้อีโควอสหงอยเพราะวุฒิสภาไม่อนุมัติให้เคลื่อนกำลังทหาร เพราะจะคนอาฟริกันไม่สมควรสู้รบกันเองและโดยอำนาจของอีโควอสก็ไม่มีสิทธิ์แทรกแซงประเทศสมาชิก
รัฐบาลทหารประกาศในคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า “ความพยายามใด ๆ ที่จะละเมิดน่านฟ้า”จะส่งผลให้เกิด“การตอบสนองที่รุนแรงและฉับพลัน”
สภาแห่งชาติเพื่อการปกป้องมาตุภูมิซึ่งเข้ายึดอำนาจในการก่อรัฐประหาร อ้างว่ากองกำลังในภูมิภาคที่เป็นศัตรูได้ดำเนินการ”ส่งกำลังล่วงหน้าเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแทรกแซงในสองประเทศที่ไม่เปิดเผยชื่อในแอฟริกากลาง ทั้งย้ำเตือนว่า“รัฐใดก็ตามที่เกี่ยวข้องจะถูกพิจารณาว่าเป็นผู้ร่วมทำสงคราม”
สื่ออัลญะซีราห์ของกาตาร์รายงานว่า มีกองกำลังชาติตะวันตกประจำอยู่ในไนเจอร์กว่า ๒,๐๐๐ นาย ส่วนใหญ่มาจากสหรัฐฯ และฝรั่งเศส ซึ่งหลังไนเจอร์เกิดรัฐประหาร เมกา-อียูต่างถอนความช่วยเหลือหรือระงับไว้ชั่วคราวาแต่ทั้งฝรั่งเศสและอเมริกายังไม่ยอมถอยแม้เจ้าบ้านไนเจอร์จะฉีกสัญญาทางทหารแล้ว
ฝรั่งเศสอดีตเจ้าอาณานิคมที่เสียผลประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่อง ยังเถียงกันไม่เลิก เดลีเทเลกราฟของอังกฤษรายงานวันศุกร์ที่ ๔ ที่ผ่านมาว่า ประธานาธิบดีเอ็มมานุแอล มาครง ออกมากล่าวหาหน่วยข่าวกรองลับแดนน้ำหอม DGSE ซึ่งเทียบกับหน่วย MI6 ของอังกฤษ ทำงานพลาดขั้นร้ายแรงไม่รู้ระแคะระคายล่วงหน้ากบฏในไนเจอร์ระหว่างการประชุมกับผู้อำนวยการ DGSE สัปดาห์ที่แล้ว
แต่ทว่าหน่วยข่าวกรองฝรั่งเศสโต้มาครงกลับไปว่า ทาง DGSE ได้ส่งรายงานให้คำแนะนำแก่ทำเนียบแห่งปารีสแล้ว ให้ส่งกองกำลังออกไปปกป้องประธานาธิบดีไนเจอร์ในกรุงนีอาเม แต่กลับโดนปฏิเสธกลับมา อ้างวิตกกลัวจะโดนข้อหาใช้อำนาจเจ้าอาณานิคมเก่า
จอร์จ มัลบูนองต์(Georges Malbrunot) นักข่าวชื่อดังจากเลอ ฟิกาโร(Le Figaro) และเจ้าของหนังสือ France’s waning influence in the Middle East เปิดเผยว่า
“ไม่กี่ชั่วโมงก่อนเกิดการรัฐประหาร DGSEได้ยื่นคำแนะนำต่อรัฐบาลฝรั่งเศสในการตั้งสมาชิกกองกำลังรบพิเศษในทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงนีอาเม แต่คำตอบคือ “ไม่” ซึ่งมันอาจถูกแปลว่าเป็นลัทธิล่าอาณานิคม และมันอาจส่งผลให้พวกเราไม่สามารถรักษาขอบเขตอิทธิพลของฝรั่งเศสได้”
ด้านเลอ คานาร์ด เอ็นเชนเน (Le Canard enchaîné) สื่อแดนน้ำหอมรายงานคำกล่าวของมาครงว่า “ไนเจอร์นั้นเดินตามมาลี ซึ่งนั่นมันมากเกินไป” และกล่าวต่อด้วยอารมณ์เดือดดาลต่อหน่วยข่าวกรองฝรั่งเศสของเขาว่า “พวกเราสามารถมองได้ว่า วิธีการทำงานของ DGSE นั้นไม่น่าพอใจ เพราะเมื่อคุณมองไม่เห็นในสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น นั่นถือเป็นปัญหาของประสิทธิภาพ”
มาครงทำได้แค่ประกาศเตือนภัยขั้นสูงสุดสำหรับผู้ที่จะเดินทางเข้าเมืองหลวงของ บูร์กินาฟาโซ ไนเจอร์ และ มาลี