ทางด้านรัฐบาลรัสเซียยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศท่ามกลางการคว่ำบาตรแบบสุดโต่งของเมกาและพันธมิตร นายกรัฐมนตรีมิคาอิล มิชูติน (Mikhail Mishustin) ทำนายว่าภายในปี ๒๕๖๗ เศรษฐกิจรัสเซียจะสามารถแซงหน้าประเทศที่พัฒนาแล้วในแง่ของการเติบโต และยิ่งใหญ่ในแง่ของความเสมอภาคของกำลังซื้อ แบบนี้เรียกว่า คว่ำบาตรแบบไหนดันให้รัสเซียแข็งแรงกว่าเดิม
วันที่ ๕ ส.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์รายงานว่า ธนาคารโลกได้อัปเดตประมาณการ GDP สำหรับประเทศต่างๆ ในโลก ณ สิ้นปี ๒๕๖๕
รัสเซียเป็นหนึ่งใน ๕ ประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกและใหญ่ที่สุดในยุโรปในแง่ของความเท่าเทียมกันของกำลังซื้อ หรือที่เรียกว่า PPP:Purchasing power parity ณ สิ้นปี ๒๕๖๕ แม้ว่าจะถูกคว่ำบาตรจากตะวันตกก็ตาม รายงานเศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุดได้เปิดเผยอย่างชัดเจน
รายงานระบุว่า จากการประมาณการจากข้อมูลทางการของประเทศที่เผยแพร่โดยธนาคารโลกและไอเอ็มเอฟ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของรัสเซียอยู่ที่ ๕.๕๑ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเงื่อนไข PPP ณ สิ้นปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าประมาณการอย่างเป็นทางการที่ ๓.๙๙๓ ล้านล้านดอลลาร์ถึง ๓๘%
นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของรัสเซียนำหน้าเยอรมนีเมื่อวัดจากความเท่าเทียมกันของกำลังซื้อ โดยมี GDP ของรัสเซียอยู่ที่กว่า ๕ ล้านล้านดอลลาร์
จีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก จำนนวน ๓๑ ล้านล้านดอลลาร์ ตามมาด้วยสหรัฐฯ อินเดีย และญี่ปุ่น ๑๐ อันดับแรกยังรวมถึงอินโดนีเซีย บราซิล และตุรกี
เมื่อเร็ว ๆ นี้ IMF และธนาคารโลกได้เพิ่มการคาดการณ์สำหรับเศรษฐกิจรัสเซีย โดยกล่าวว่า GDP จะยังคงเติบโตต่อไปแม้ว่าจะมีการคว่ำบาตร โดยได้แรงหนุนจากการค้าที่แข็งแกร่งและการผลิตภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนรายได้จากพลังงานที่สูงกว่าที่คาดไว้
ปธน.ปูตินเปิดเผยว่า ภาคการผลิตของรัสเซียพุ่งสูงขึ้น อุตสาหกรรมเติบโตถึง ๑๒% ในปีนี้
ระหว่างการประชุมกับผู้บริหารธุรกิจ ปูตินกล่าวว่าการผลิตเพิ่มขึ้นใน 2 ไตรมาสแรกของปีนี้ และหากแนวโน้มยังคงดำเนินต่อไป การเติบโตจะอยู่ที่ 12% ต่อปี
สถานการณ์โดยรวมในภาคการผลิตมีเสถียรภาพ ระดับการจ้างงานอยู่ในระดับเหมาะสม และค่าจ้างกำลังเพิ่มขึ้น ซึ่งบ่งชี้ว่าอุตสาหกรรมของรัสเซียกำลังขยายตัวและมีความหลากหลาย อุตสาหกรรมที่มีผลงานดีที่สุด คือ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์โลหะสำเร็จรูป และอุปกรณ์ไฟฟ้า การแปรรูปไม้กำลังลดลงสาเหตุหลักมาจากปัญหาด้านลอจิสติกส์
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ศก.รัสเซียไม่ล่มตามความคาดหวังของเมกาและพวก เพราะรัสเซียเป็นเจ้าของพลังงาน และมีลูกค้ารายใหญ่เป็นลูกค้าประจำอย่างอินเดีย จีนและเอเชีย ปีนี้รัสเซียสร้างสถิติใหม่ส่งก๊าซให้จีนกระฉูดอีกเหมือนเคย
Gazprom ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซียเปิดเผยว่าจะยังคงส่งพลังงานให้จีนเกินภาระผูกพันตามสัญญารายวัน ผ่านท่อส่งขนาดใหญ่ Power of Siberia
รัสเซียเป็นผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติให้กับคู่ค้าหลักภายใต้สัญญาระยะยาวระหว่าง Gazprom และ China National Petroleum Corporation (CNPC) The Power of Siberia เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง ๓๐ ปีมูลค่า ๔ ล้านล้านดอลลาร์ระหว่าง Gazprom และ CNPC ซึ่งลงนามในปี ๒๕๕๗
ปัจจุบัน จีนได้รับก๊าซรัสเซียส่วนใหญ่ผ่านทางท่อส่งก๊าซขนาดใหญ่ของ Power of Siberia ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายตะวันออกที่เรียกว่า เปิดตัวบางส่วนในเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ กลายเป็นท่อส่งก๊าซแห่งแรกที่ส่งก๊าซรัสเซียไปยังจีน
ปีที่แล้ว รัสเซียส่งออกก๊าซ ๑๕,๕๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตรไปยังจีนผ่านทาง Power of Siberia รองนายกรัฐมนตรี อเล็กซานเดอร์ โนวัค กล่าวว่า ปริมาณก๊าซที่ส่งไปยังจีนผ่านทางท่อส่งก๊าซจะสูงถึง ๒.๒ หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรในปี ๒๕๖๖ นี้ เนื่องจากมอสโกว์ยังคงส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานกับปักกิ่ง
สำนักข่าวรอยเตอร์และบลูมเบริ์กรายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า จีนเร่งเก็บกักตุนน้ำมันดิบรัสเซียท่ามกลางส่วนลดจำนวนมาก โดยการนำเข้าทำสถิติใหม่ เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ ๓ ปีเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
เดือนมิถุนายนเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำมันของรัสเซียมากที่สุดต่อเดือน เนื่องจากจีนเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันเชิงพาณิชย์หรือทางยุทธศาสตร์ ๒.๑ ล้านบาร์เรลต่อวัน (bpd) เพิ่มขึ้นจาก ๑.๗๗ ล้านบาร์เรลต่อวันในสินค้าคงคลังในเดือนพฤษภาคม และสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน๒๕๖๓ สำนักข่าวคำนวณโดยอ้างข้อมูลจากกรมศุลกากรจีน น้ำมันและก๊าซต่างเป็นยุทธปัจจัยสำคัญในสงครามแข่งขันทั้งทางเศรษฐกิจและทหาร จีนกักตุนมากเป็นพิเศษย่อมซ่อนนัยสำคัญบางประการที่อธิบายได้หลายมุมมอง เมื่อความตึงเครียดในจุดวาบไฟเอเชีย-แปซิฟิคเพิ่มระอุขึ้นจากการดิ้นรนของมหาอำนาจเดี่ยวที่เมกาเป็นหัวโจก!!??