ผู้นำคณะรัฐประหารไนเจอร์วิจารณ์การที่นานาชาติเตรียมคว่ำบาตร และกล่าวถึงกรณีฝรั่งเศสอพยพพลเมืองกลับประเทศ ว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น ในขณะเดียวกันประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตก หรือที่เรียกว่าอีโควาส (ECOWAS) ได้ส่งคณะผู้แทนไปยังไนเจอร์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เพื่อพบปะกับผู้นำทางทหารที่ก่อการรัฐประหารโค่นล้มประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด บาซูม (Mohamed Bazoum) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ในขณะที่ยังฝุ่นตลบอยู่นี้ ฝั่งเจ้าอาณานิคมเดิมอย่างฝรั่งเศสดูจะเสียประโยชน์มากที่สุดเพราะถูกมาตรการคว่ำบาตรห้ามส่งออกทองคำและยูเรเนียม คิดดูไม่เฉพาะไนเจอร์เท่านั้นที่เป็นเจ้าของทองคำแต่เป็นประเทศยากจนที่สุด ขณะเจ้าอาณานิคมเก่าอย่างฝรั่งเศสปกครองมานาน ไม่ได้ช่วยอะไรกลับเป็นประเทศที่มีทองคำสำรองสูงเป็นอันดับ ๓ ของโลกทั้งๆที่ไม่มีเหมืองทองคำแม้แต่เหมืองเดียว
ต้องจับตาจุดวาบไฟใหม่ที่ก่อการโดยคนอาฟริกันที่สุดจะทนกับการปล้นทรัพยากรของเจ้าอาณานิคมตะวันตก อาฟริกันสปริงครั้งนี้จึงย้อนศรมหาอำนาจตะวันตก ที่กำลังขยายยุทธศาสตร์เจ้าอาณานิคมใหม่ ตอกย้ำการเจ้าโลกนักแย่งชิงทรัพยากรประเทศที่อ่อนแอกว่าตัวเอง ไม่มีใครรู้ว่าศึกครั้งนี้จะจบลงแบบไหน แต่สัญญาสู้ของฝ่ายถูกล่ามโซ่ด้วยกฎเกณฑ์ของตะวันตก กำลังขยับเข้มแบบแรงมาแรงกลับไม่โกง
ตอนนี้บูร์กินาฟาโซและอีกประเทศที่นำโดยรัฐบาลทหารซึ่งเป็นมิตรกับรัสเซียอย่างมาลี ได้ใช้ขั้นตอนที่ไม่ธรรมดาในการประกาศว่า การแทรกแซงทางทหารของต่างชาติในประเทศเพื่อนบ้านอย่างไนเจอร์ จะถือเป็นการประกาศสงครามกับพวกเขาเช่นกัน
วันที่ ๓ ส.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวเอพีและรัสเซียทูเดย์รายงานว่า พล.อ.อับดูราฮามาเน ทีเชียนี (General Abdourahamane Tiani)ประธานสภาแห่งชาติเพื่อการพิทักษ์มาตุภูมิ หรือคณะรัฐประหารของไนเจอร์ แถลงเมื่อวันพุธที่ผ่านมา เกี่ยวกับการที่นานาชาติ นำโดยประชาคมเศรษฐกิจแอฟริกาตะวันตก ( อีโควาส ) เตรียมใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อไนเจอร์ ซึ่งเกิดการรัฐประหาร เมื่อวันที่ ๒๖ ก.ค.ที่ผ่านมา ว่าไม่มีทางยอมรับการข่มขู่ดังกล่าว และไม่มีทางยอมแพ้ต่อการคุกคามเช่นนี้ไม่ว่าจะมาจากฝ่ายใดก็ตาม
พล.อ.ทีเชียนีกล่าวว่า มาตรการคว่ำบาตรเป็นการดำเนินการที่ “อยุติธรรม” เพื่อ “ดูหมิ่น” กองกำลังด้านความมั่นคงและกลาโหมของไนเจอร์ และเพื่อทำให้บ้านเมืองไม่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้
เกี่ยวกับการที่ฝรั่งเศสทยอยอพยพพลเมืองกลับประเทศ พล.อ.ทีเชียนีกล่าวว่า “ไม่มีความจำเป็นเพราะไนเจอร์ถือว่าชาวฝรั่งเศสคือภัยคุกคามลำดับต่ำที่สุด แต่เน้นย้ำว่ารัฐบาลประเทศอื่นต้องไม่แทรกแซงกิจการภายในของไนเจอร์”
ขณะที่อีโควาส(ECOWAS)ซึ่งมีไนจีเรียทำหน้าที่ประธานปีนี้ ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ ๓๐ ก.ค. ที่ผ่านมาว่า คณะรัฐประหารไนเจอร์ต้องคืนอำนาจให้แก่รัฐบาลพลเรือนของประธานาธิบดีโมฮาเหม็ด บาซูม ภายใน ๗ วัน มิเช่นนั้น อีโควาสจะใช้มาตรการที่จำเป็นตามกรอบของกฎหมายเพื่อฟื้นฟูอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจรวมถึง “การใช้มาตรการทางทหาร”ด้วย
นอกจากนี้ อีโควาสประกาศคว่ำบาตรสมาชิกทั้งหมดในคณะรัฐประหารของไนเจอร์แล้ว และระงับช่องทางการทำธุรกรรมทั้งหมดระหว่างไนเจอร์ กับสมาชิกอีโควาสที่เหลือ แต่ยังไม่มีการระงับสถานภาพสมาชิกของไนเจอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศยากจนที่สุดของโลก และอยู่ในอันดับรั้งท้าย ของการจัดอันดับดัชนีการพัฒนามนุษย์โดยสหประชาชาติ (UN)
ด้านแหล่งข่าวจากบริษัทไนจีเล็ก รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของไนจีเรีย กล่าวว่า ไนจีเล็กระงับการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ไนเจอร์ เพื่อเพิ่มแรงกดดันไปยังคณะรัฐประหารด้วย ปัจจุบัน ไนเจอร์พึ่งพิงกระแสไฟฟ้าจากไนจีเรียมากถึง ๗๐% ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในประเทศ
อีกด้านหนึ่งที่เป็นแกนนำของกลุ่มเศรษฐกิจอาฟริกาหรืออีโควาส อับดุลซาลามี อาบูบาการ์ อดีตผู้นำกองทัพของไนจีเรีย ขณะที่ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการระดับภูมิภาคของหัวหน้าเจ้าหน้าที่ป้องกัน (CCDS) ได้ประชุมกันที่กรุงอาบูจาเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมืองนีอาเมของไนเจอร์
ในการกล่าวเปิดการประชุม CCDS สามวันในวันพุธที่ผ่านมา อับเดล-ฟาเตา มูซาห์ กรรมาธิการกิจการการเมือง สันติภาพ และความมั่นคงของ ECOWAS กล่าวว่า “การใช้กำลังเพื่อล้มล้างการรัฐประหารจะถือเป็นทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น”
มูซาห์กล่าวกับผู้สื่อข่าวในอาบูจาว่า “เราต้องเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น มีความจำเป็นต้องแสดงให้เห็นว่าเราไม่สามารถแค่เห่าได้ แต่สามารถกัดได้”
ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีต่างประเทศอิตาลี อันโตนิโอ ทาจานี ได้เตือนถึงการแทรกแซงทางทหารของชาติตะวันตกในไนเจอร์ โดยกล่าวว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวจะถูกตีความว่าเป็น“การล่าอาณานิคมใหม่” แม้แต่ฝ่ายตะวันตกด้วยกันยังไม่เห็นด้วย แต่มาสเตอร์ไมน์คนเดิมๆอย่างเมกา-อังกฤษคงไม่ฟัง
ทางด้านรัสเซียสนับสนุนให้มีการเจรจา โดยโต้แย้งว่าการคุกคามของการมีส่วนร่วมทางทหารมีแต่จะทำให้สถานการณ์แย่ลงแทนที่จะแก้ไขสถานการณ์
ฝรั่งเศส อดีตเจ้าอาณานิคมของไนเจอร์ ระบุเมื่อวันเสาร์ว่า ได้ตัดความช่วยเหลือด้านการพัฒนาทั้งหมดแก่ประเทศในแอฟริกาตะวันตกแล้ว สหภาพยุโรปและเยอรมนีต่างใช้มาตรการที่คล้ายกันกับรัฐบาลทหาร ระงับการสนับสนุนด้านงบประมาณ ตลอดจนกิจกรรมความร่วมมือด้านความมั่นคงทั้งหมด
อียูประกาศเมื่อวันอังคารว่าจะอพยพพลเมืองของตนออกจากนีอาเม ขณะที่ฝรั่งเศสและอิตาลีรายงานเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า พวกเขาได้ส่งพลเมืองบางส่วนกลับไปยังปารีสและโรมแล้ว