ขยี้นักล่าอาณานิคม!? จับตาอาฟริกันสปริง มาลี-บรูกินาฯ-ไนเจอร์ ผนึกกำลังขับไล่ฝรั่งเศส สูบทรัพยากรไม่จบสิ้น

0

สถานการณ์หลังการรัฐประหารที่ไนเจอร์ยังไม่นิ่ง พลเมืองฝรั่งเศสพากันทยอยเดินทางออกจากประเทศซึ่งเคยอยู่ภายใต้อาณานิคมของรัฐบาลปารีส แต่ทหารฝรั่งเศสยังคงประจำการต่อไป ในขณะที่ประชาชนไนเจอร์เรียกร้องให้ปิดฐานทัพ ทางการประกาศงดส่งออกทองคำและยูเรเนียมไปยังฝรั่งเศส นอกจากนี้หลังฝรั่งเศส-สหรัฐ-อังกฤษประกาศคว่ำบาตรและอาจส่งทหารเข้าไป  ประเทศใกล้เคียงทั้งมาลี บรูกินาฟาโซต่างออกมาหนุนรัฐบาลใหม่ไนเจอร์พร้อมจับมือต่อต้านตะวันตกด้วย เหตุการณ์ในไนเจอร์ นับเป็นการเปิดเผยให้เห็นอิทธิพลของสหรัฐและกลุ่มประเทศยุโรปที่แอบแฝงกัดกินผลประโยชน์ของชาติในแอฟริกามาอย่างยาวนานและก็ถึงวันที่พวกเขาไม่ทนอีกต่อไป

มาฟังมุมมองนักวิเคราะห์โดยสื่ออิสเวสเทียแห่งอาฟริกากันว่า พวกเขาเขามองเหตุการณ์รัฐประหารของไนเจอร์อย่างไร

 

วันที่ ๒ ก.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวiznews แห่งอาฟริการายงานว่าไนเจอร์กำลังเผชิญกับการคว่ำบาตรจากตะวันตกเพราะก่อการรัฐประหาร ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ถึงโมเดลไนเจอร์จะส่งผล วิกฤตความเป็นรัฐในแอฟริกาตะวันตกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด บาซุม (Mohamed Bazum) ยังคงถูกคุมตัวโดยทหารรักษาความสงบ หลังเกิดเหตุ ประเทศตะวันตกและสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจของประเทศในแอฟริกาตะวันตก ที่เรียกว่า กลุ่มอีโควอส(ECOWAS)ของแอฟริกาไม่ยอมรับผู้นำคนใหม่ที่ยึดอำนาจ มีการประกาศมาตรการคว่ำบาตรต่อไนเจอร์แล้ว แต่ภายในประเทศไม่มีการต่อต้านจากประชาชน ไนเจอร์กลายเป็นประเทศที่ ๔ ที่ทหารเข้ามามีอำนาจ สื่อIzvestia ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญซึ่งคาดถึงสิ่งว่าจะเกิดขึ้นต่อไปในประเทศที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

 

แอนเดรีย มาสลอฟ(Andrey Maslov) ผู้เชี่ยวชาญของวัลไดคลับ (Valdai Club)ซึ่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ HSE สำหรับแอฟริกาศึกษาด้วย วิเคราะห์ว่า

“มีสามประเทศในภูมิภาคนี้ที่รัฐบาลทหารอยู่ในอำนาจ คืออ กินี มาลี บูร์กินาฟาโซ ตอนนี้ไนเจอร์ซึ่งมีพรมแดนอยู่ติดกับพวกเขาดังนั้นพื้นที่ ๓ ล้านตารางกม.จะร่วมมือกัน รวมแล้วมีประชากร ๘๒ ล้านคน เห็นได้ชัดว่าใคร ๆ ก็พูดถึงวิกฤตอันยืดเยื้อของความเป็นมลรัฐและประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งในแอฟริกาตะวันตกแบบฝรั่งเศส  ความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองยังคงมีอยู่สูง เนื่องจากการรัฐประหารของทหารใด ๆ ก็ตามจะทำให้ระบบการเมืองโดยรวมสั่นคลอนและเต็มไปด้วยการรัฐประหารครั้งใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีกองกำลังความมั่นคงในประเทศที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของฝรั่งเศส พวกเขาอาจพยายามที่จะครอบครองอย่างเบ็ดเสร็จ ประชาชนเบื่อหน่ายกับการว่างงานและปัญหาสังคม ความเจ้าเล่ห์ของนักการเมือง ส่วนหนึ่งบทท้องถนนในเมืองสนับสนุนการรัฐประหาร และแน่นอนว่าคุณไม่ควรคาดหวังการต่อต้านจากประชาชน โดยทั่วไปแล้ว ในส่วนนี้ของแอฟริกา อำนาจหน้าที่ของกองทัพมักจะสูงกว่าอำนาจของพลเรือน สำหรับฝรั่งเศสไนเจอร์เป็นแหล่งยุทธศาสตร์ของยูเรเนียมและเป็นหนึ่งในฐานที่มั่นสุดท้ายที่มีอิทธิพลในอาฟริกา  จากมุมมองของความสมดุลด้านพลังงานของยุโรปและการเผชิญหน้ากับรัสเซีย นี่เป็นประเทศที่สำคัญโดยเฉพาะในระยะยาว กองกำลังฝรั่งเศสประจำการอยู่ที่นั่น อาจมีความพยายามที่จะแทรกแซงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา”

นิกิตา ปานิน(Nikita Panin)ผู้ประสานงานโครงการ RIAC นักวิจัยของสถาบันเพื่อการศึกษาแอฟริกาของ Russian Academy of Sciences กล่าวว่า

“องค์กร ECOWASที่มีบทบาทในอาฟริกามาก กรณีไนเจอร์อาจเป็นความท้าทายที่ร้ายแรงที่สุด เพราะตอนนี้ประธานาธิบดีที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ของไนจีเรีย Bola Tinubu เป็นประธานองค์กรและเป็นที่ทราบกันว่าไนจีเรียวางตำแหน่งตัวเองในฐานะผู้นำไม่เพียงแต่ในแอฟริกาตะวันตกเท่านั้น แต่ยังทั่วทั้งทวีปด้วย ดังนั้นสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดี ECOWAS ของไนจีเรีย การแก้ไขวิกฤตจึงเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีเช่นกัน ECOWAS ได้แนะนำมาตรการเบื้องต้นแล้ว มีการปิดพรมแดนกับไนเจอร์ มีการห้ามการทำธุรกรรมทางการเงินทั้งหมดกับทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มทหารที่เข้ามามีอำนาจ” ดูเหมือนว่าไนจีเรียจะไม่ปลื้มการรัฐประหาร ที่สำคัญมีความใกล้ชิดกับรัสเซียไม่น้อยและได้ไปร่วมการประชุมสุดยอดรัสเซีย-อาฟริกาที่ผ่านมาหมาดๆ

ปานินกล่าวว่า “เป็นการยากที่จะบอกว่าการแทรกแซงทางทหารในไนเจอร์ จะนำไปสู่รูปแบบใด แต่กำลังมีการคว่ำบาตร ไม่เพียงแต่โดย ECOWAS เท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศตะวันตกด้วย เป็นที่แน่ชัดว่าฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาจะกำหนดข้อจำกัดในทันที เช่น ในกรณีของมาลี หากไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเข้าไปพัวพัน ไม่น่าจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการสำหรับประเทศตะวันตก ในเวลาเดียวกันสภาปกป้องปิตุภูมิซึ่งเข้ามามีอำนาจจะต้องพิสูจน์ “ความเหมาะสมทางวิชาชีพ” ของตนด้วยเพื่อให้ประเทศไม่สูญเสียการควบคุมและไม่ก้าวไปสู่ความโกลาหลวุ่นวาย ซึ่งไนเจอร์เป็นประเทศที่กระบวนการทางการเมืองภายในค่อนข้างเปราะบางอยู่แล้ว”

เซโวลอด วิริดอฟ(Vsevolod Sviridov)ผู้เชี่ยวชาญของ HSE Center for African Studiesวิเคราะห์ว่า “กลุ่มรัฐที่โดดเดี่ยวทางการเมืองและพรมแดนติดกันกำลังก่อตัวขึ้นในภูมิภาคซาฮารา-ซาเฮล ได้แก่ กินี – มาลี – บูร์กินาฟาโซ – ไนเจอร์ เรื่องนี้สหภาพแอฟริกาและ ECOWAS กำลังประสบปัญหา กลไกในการต่อต้านการรัฐประหารด้วยอาวุธไม่ได้ผลและระบอบทหารอยู่ในอำนาจเป็นเวลานาน เนื่องจากภูมิภาคนี้ไม่มีความมั่นคงและพรมแดนมีรูพรุน กลุ่มประเทศ ECOWAS จะรักษาช่องทางการสื่อสารที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการกับหน่วยงานใหม่ของไนเจอร์ และจะพยายามชี้นำกระบวนการในทิศทางที่เป็นประชาธิปไตย และรับประกันการเปลี่ยนผ่านของอำนาจการบริหารไปสู่พลเรือนทางด้านรัสเซียสนใจที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับไนเจอร์อยู่”

ด้านดมิทรี เปสคอฟ(Dmitry Peskov)โฆษกเครมลินกล่าวว่า “เรากำลังติดตามสถานการณ์ในไนเจอร์ อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของข้อเท็จจริงที่ว่าตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรามีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในกิจการของแอฟริการ่วมกับชาวแอฟริกัน และแน่นอน สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นที่นั่นทำให้เกิดความกังวลอย่างมาก เราต้องการให้มีการฟื้นฟูหลักนิติธรรมในประเทศโดยเร็ว เรามีความยับยั้งชั่งใจจากทุกด้านเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายของมนุษย์ และแน่นอนว่าเรา ต้องการให้ไนเจอร์กลับไปสู่แนวทางตามรัฐธรรมนูญโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และดำเนินการต่อเพื่อบรรลุภารกิจอันยิ่งใหญ่ในการพัฒนาประเทศนี้”