หลังจากที่ปธน.ลูกาเชนโกแห่งเบลารุส บอกกับปูตินว่า วากเนอร์คันมืออยากไปเยี่ยมวอร์ซอ สื่อตะวันตกเอาไปขยี้อยู่หลายวัน วันนี้โปแลนด์ออกมาเต้นรับคำขู่ของวากเนอร์ ‘อย่างจริงจัง’
มิคาล คามินสกี้ (Michal Kaminski) วุฒิสมาชิกแห่งโปแลนด์กล่าวกับสื่อโทรทัศน์ยูเครนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า “นักสู้ของวากเนอร์ทุกคนที่ข้ามมาจากเบลารุสจะได้พบกับทั้งกองทัพโปแลนด์และอเมริกัน ทหารอเมริกันจะหยุด PMC ของรัสเซีย” มั่นหน้ามั่นใจมากเพราะยังไม่เจอของจริง
มีรายงานว่าสมาชิก Wagner หลายพันคนย้ายไปเบลารุสในช่วงเดือนที่ผ่านมา ด้วยความกังวลเกี่ยวกับ“การบุกของวากเนอร์” รัฐบาลในกรุงวอร์ซอได้ประกาศเพิ่มขนาดกองทัพเกือบสองเท่าจาก ๑๘๒,๐๐๐ เป็น ๓๐๐,๐๐๐ นาย
คามินสกี้กล่าวว่า“ไม่มีใครในโปแลนด์ยกเว้นว่าเพื่อที่จะพูดทดสอบนาโต้ ทดสอบความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพันธมิตรกับโปแลนด์ และยุโรปตะวันออก พวกเขาอาจพยายามเข้าไปในโปแลนด์ ในฐานะปฏิบัติการของผู้ก่อการร้ายมากกว่าการรุกรานเต็มรูปแบบ” เขามั่นใจว่า NATO สามารถจัดการกับภัยคุกคามได้อย่างง่ายดาย
วุฒิสมาชิกขู่ฟ่อว่า “ฉันอยากจะเตือนคุณว่าเรามีทหารและเจ้าหน้าที่อเมริกันในโปแลนด์อยู่แล้ว ให้ชาวแวกเนอร์เข้ามา พวกเขาไม่เพียงแต่จะพบกับชาวโปแลนด์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงแนวป้องกันของอเมริกาด้วยพวกเขาจะถูกส่งกลับไปรัสเซียในโลงศพ” อาการแบบนี้บ่งบอกว่า กลัวนั่นแหละลืมไปว่าเป็นฝ่ายไปแหย่รังแตนเอง ทั้งส่งทหารไปก่อกวนชายแดนเบลารุส ทั้งซ้อมรบชายแดนขู่ไม่เลิก พร้อมทั้งประกาศเป็นที่สะสมอาวุธให้ยูเครนไปลุยรัสเซีย มิหนำซ้ำจัดตั้งสหภาพฮุปยูเครนตะวันออกแบบหน้าเฉยด้วยความยินยอมพร้อมใจของเซเลนสกี้ผู้นำยูเครน แบบนี้ทั้งรัสเซียและเบลารุสก็เป็นสหภาพแห่งสหพันธรัฐจะอยู่เฉยกระนั้นหรือ สุภาษิตไทยกล่าวว่า ทีเอ็งข้าไม่ว่า ทีข้าเอ็งก็อย่าโวย
วันที่ ๑ ส.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์และสปุ๊ตนิกรายงานว่า ปธน.ปูตินแห่งรัสเซีย กล่าวเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาว่า มอสโกว์ได้โอนหัวรบนิวเคลียร์ส่วนแรกไปยังเบลารุสแล้ว และจะเสร็จสิ้นภารกิจการเคลื่อนย้ายอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้ ไม่บอกด้วยว่าจะมีทั้งหมดเท่าไหร่
นักการทูตรัสเซียกล่าวกับสปุตนิกว่า “การถอนอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีของรัสเซียออกจากเบลารุสตามสมมุติฐานจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสหรัฐฯ และนาโต้ละทิ้งนโยบายบ่อนทำลายความมั่นคงของรัสเซียและเบลารุส ซึ่งหมายถึงการถอนอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดของสหรัฐฯกลับไปยังดินแดนของสหรัฐฯโดยสมบูรณ์”
อเล็กซีย์ โปลิชชุก หัวหน้าแผนกที่สองของกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียสำหรับกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) (Aleksey Polishchuk, the head of the Russian foreign ministry’s second department for the Commonwealth of Independent States countries)กล่าวว่า “ฉันต้องการให้ทราบว่าการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีของรัสเซียในดินแดนเบลารุสเป็นการตอบสนองต่อนโยบายนิวเคลียร์ของ NATO และ Washington ที่สัดส่ายเป็นเวลาหลายปี รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ด้านความมั่นคงของยุโรป”
โปลิชชิก เน้นย้ำว่า “การติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีของรัสเซียในเบลารุสเป็นมาตรการบังคับกักกัน ซึ่งออกแบบมาเพื่อรับรองความปลอดภัยของเบลารุส ซึ่งมีพื้นที่ป้องกันร่วมกันกับรัสเซีย”
อเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ปธน.เบลารุสประกาศว่าอาวุธเหล่านี้ได้รับการปกป้องอย่างน่าเชื่อถือ เขาย้ำว่า “เบลารุสจะไม่ยิงอาวุธนิวเคลียร์ใส่ใคร อาวุธปรมาณูทางยุทธวิธีมีไว้สำหรับการป้องกันเท่านั้น หากตะวันตกกระทำการรุกรานต่อเบลารุส การตอบสนองจะเกิดขึ้นทันที เป้าหมายได้ถูกกำหนดไว้แล้ว” เขากล่าวขณะปราศรัยกับสื่อมวลชนเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา
ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหาร ดมิทรี คอร์เนฟ (Dmitry Kornev) และวลาดิสลาฟ ชูริกิน (Vladislav Shurygin) ชูริกินกล่าวว่า “ในทางตะวันตก เบลารุสถูกล้อมรอบด้วยประเทศต่างๆ ที่มองว่ารัสเซียเป็นศัตรูเป็นสมาชิกนาโต้ นั่นคือโปแลนด์ กลุ่มประเทศแถบบอลติก และยูเครน ดังนั้น แน่นอนว่า มันมีเหตุผลอย่างยิ่งสำหรับเบลารุสที่จะต้องกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศ”
นอกจากนี้ เขาชี้ให้เห็นว่าควรระลึกไว้เสมอว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา กองกำลังที่เป็นปรปักษ์พยายามปลุกระดมให้เกิดการปฏิวัติสีในเบลารุส ด้วยความช่วยเหลือจากเมกาและตะวันตก
ชูรีกินกล่าวย้ำว่า “ตอนนี้เบลารุสอยู่ภายใต้เกราะป้องกันนิวเคลียร์ของรัสเซีย โดยเฉพาะ หมายความว่า ภัยคุกคามทางทหารใดๆต่อเบลารุสโดยอัตโนมัติหมายถึงการมีส่วนร่วมของรัสเซียในความขัดแย้งนี้ และด้วยเหตุนี้ นี่จะกลายเป็นความขัดแย้งด้วยพลังงานนิวเคลียร์อย่างชัดเจน”
เป็นเวลาหลายปีที่อาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีของสหรัฐฯยังคงอยู่ที่ฐานทัพ ๖แห่งใน ๕ ประเทศสมาชิก NATOในยุโรปได้แก่เบลเยียม เยอรมนี อิตาลีเนเธอร์แลนด์ และตุรกี ถึงกระนั้น อาจมีคนถามว่าการประจำการหัวรบนิวเคลียร์ของรัสเซียจะเปลี่ยนสภาพที่เป็นอยู่ในภูมิภาคหรือไม่ Kornev มองว่า”เปลี่ยนความสมดุลทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาค ในระดับหนึ่ง” ลูกาเชนโกก็เช่นกันเขาย้ำว่า “ตราบเท่าที่มีนิวเคลียร์อยู่ที่นี่ เราจะไม่ต้องใช้มัน และไม่มีทหารศัตรูคนใดจะกล้ามาเหยียบแผ่นดินของเรา”!!??