เบื้องลึกผบ.ใหญ่ยูเครนซัดกลับตะวันตกอ้างสารพัดไม่ส่ง F-16 พบเหตุรัสเซียแจ้ง3ชาติขาใหญ่ เจอนิวเคลียร์สวนแน่!?

0

จากเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์รายงานถึง ประธานาธิบดี ปูติน แห่งรัสเซียกล่าวในที่ประชุมงาน Future Technology Forum ในกรุงมอสโกว์นั้น

ทั้งนี้โดยมีรายงานถึงคำพูดของประธานาธิบดีรัสเซียบางช่วงระบุว่า “มอสโกว์ไม่มีความตั้งใจที่จะยอมจำนนต่อแรงกดดันจากภายนอก ชาติตะวันตกหวังที่จะบังคับให้รัสเซียยอมจำนนด้วยการจำกัดการเข้าถึงเทคโนโลยี แต่สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น”

ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เก ลาฟรอฟ ออกมาตอกย้ำด้วยว่า มอสโกว์ไม่สามารถเพิกเฉยต่อขีดความสามารถด้านนิวเคลียร์ของเครื่องบินขับไล่ F-16 ที่ออกแบบโดยสหรัฐฯ

Russian President Vladimir Putin (R) and Foreign Minister Sergei Lavrov attend a meeting with the Council of Europe secretary general (not seen) at the Kremlin in Moscow on December 6, 2016. (Photo by Sergei KARPUKHIN / POOL / AFP)

“เราได้แจ้งให้มหาอำนาจด้านนิวเคลียร์ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ว่ารัสเซียไม่สามารถเพิกเฉยต่อความสามารถของเครื่องบินเหล่านี้ในการบรรทุกอาวุธนิวเคลียร์ การปรากฏตัวของระบบดังกล่าวในกองทัพยูเครนจะถูกพิจารณาเป็นภัยคุกคามจากตะวันตกในโดเมนนิวเคลียร์”

ล่าสุดวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 สื่อต่างประเทศรายงานต่อมาว่า แม้ยูเครนได้รับเครื่องบินรบล้ำสมัยที่ผลิตโดยตะวันตก พวกมันจะมีประโชน์เพียงเล็กน้อย สืบเนื่องจากระบบป้องกันภัยทางอากาศทรงพลานุภาพของรัสเซีย ตามรายงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์โดยอ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ซึ่งไม่ประสงค์เอ่ยนาม

ท่ามกลางปฏิบัติการโจมตีตอบโต้ของยูเครน ที่ฝ่ายรัสเซียอ้างว่าล้มเหลวไม่สามารถรุกคืบใดๆ บรรดาเจ้าหน้าที่ในเคียฟพากันยกระดับส่งเสียงร้องขอเครื่องบินล้ำสมัยจากพันธมิตรตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องบิน F-16 ที่ออกแบบโดยสหรัฐฯ อ้างว่ามันจะมีบทบาทสำคัญในการตอบโต้แสนยานุภาพทางอากาศของรัสเซีย

ในขณะที่บรรดาผู้สนับสนุนตะวันตกของเคียฟ ป่าวประกาศเกี่ยวกับโครงการฝึกนักบินยูเครนสำหรับบินด้วยเครื่องบินล้ำสมัยเหล่านี้ แต่จนถึงตอนนี้พวกเขายังไม่ได้ให้ไฟเขียวส่งมอบแต่อย่างใด

อ้างอิงจากรายงานของหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ พวกเจ้าหน้าที่ยูเครนตำหนิบรรดาเจ้าหน้าที่ตะวันตก อ้างว่าถ้าพวกเขาอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกันกับเคียฟ พวกเขาคงจะไม่กดดันให้เดินหน้าปฏิบัติการโจมตีครั้งใหญ่โดยปราศจากการสนับสนุนทางอากาศ

“ดังนั้น มันจึงน่าหัวเราะที่ได้ยินคำว่าการโจมตีตอบโต้ล่าช้าหรือเร็วเกินไป จากปากคนที่ไม่รู้เลยว่ามันคืออะไร” นายพลวาเลรี ซาลูซนี ผู้บัญชาการกองทัพยูเครน ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์

Danish Royal Air Force fighter F-16, arrived as part of enforced air poling mission, is seen in front of the flags of Latvia, Poland, the USA and NATO, during a welcome ceremony in Siauliai military air base, Lithuania January 28, 2022. REUTERS/Ints Kalnins/File Photo

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ หลายคนที่ไม่ประสงค์เอ่ยนามให้สัมภาษณ์กับวอชิงตันโพสต์ว่า “เครื่องบินตะวันตกจะมีประโยชน์แค่เล็กน้อยสำหรับยูเครนในสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน สืบเนื่องจากการป้องกันภัยทางอากาศที่ครอบคลุมของรัสเซีย” ขณะที่หนึ่งในแหล่งข่าวชี้ว่ากลยุทธ์ที่ดีที่สุดสำหรับยูเครน จะเป็นการพึ่งพิงแนวทางการสู้รบแบบรบผสมเหล่า

เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ อีกคนให้สัมภาษณ์กับวอชิงตันโพสต์ว่า ในขณะที่อเมริกาฝึกฝนทหารยูเครนเกี่ยวกับแนวทางดำเนินกลยุทธ์จู่โจมและมอบอุปกรณ์กวาดทุ่นระเบิดแก่เคียฟ แต่พวกเขายังคงประสบปัญหาในการเอาชนะแนวป้องกันรถถังและการโจมตีด้วยโดรนของรัสเซีย “เราไม่ได้ประเมินต่ำไปหรือไม่ได้เล็งเห็นว่ามันเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากมากๆ” แหล่งข่าวระบุ

สำนักข่าวบลูมเบิร์กเคยรายงานเมื่อเดือนพฤษภาคม อ้างอิงความเห็นของนักบิน F-16 ระบุว่าแม้เครื่องบินรบจะช่วยเคียฟได้ แต่มันจะไม่เป็น ตัวเปลี่ยนเกม เพราะว่าเรดาร์และระบบขีปนาวุธของมันด้อยกว่าอุปกรณ์ล้ำสมัยของรัสเซีย