แฉลึกกลุ่มทุนใหญ่อเมริกา สั่งเครือข่ายโค่นสถาบันกษัตริย์ปท.ต่างๆ กับภาพปธน.สหรัฐเข้าเฝ้าฯพระเจ้าชาร์ลส์

0

จากที่สำนักข่าวต่างประเทศรายงานถึง โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมิรกา เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นครั้งแรกนับแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ ณ ปราสาทวินด์เซอร์ เขตเบิร์กเชียร์ นอกกรุงลอนดอน อังกฤษ

ทั้งนี้ในการเข้าเฝ้าฯดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 10 กรกฎาคม 2566  ในระหว่างการแวะเยือนอังกฤษเป็นเวลาสั้นๆ ก่อนถึงการประชุมสุดยอดขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต ที่กรุงวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนีย วันที่ 11-12 กรกฎาคม

“เพื่อหารือถึงการเสริมความแข็งแกร่งให้กับแนวรบด้านตะวันออกของนาโต ปรับปรุงความสามารถการป้องปรามและป้องกันให้ทันสมัย การแสดงจุดยืนสนับสนุนยูเครนต่อสู้กับรัสเซีย ไปจนถึงอนาคตของยูเครนกับนาโต้”

สำหรับประเด็นสำคัญในการเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 นั้น สื่อต่างประเทศยังรายงานอีกว่า พระองค์ทรงมุ่งมั่นสนพระทัยปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนมาโดยตลอดคือการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีตัวแทนจากองค์กรที่เกี่ยวข้องหารือถึงแนวทางระดมทุนเพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนารับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ไบเดนเคยเข้าเฝ้ากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรเมื่อครั้งดำรงพระยศเจ้าชายแห่งเวลส์ ที่การประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ ในปี 2564 ซึ่งพระองค์ตรัสกระตุ้นให้ทุกฝ่ายดำเนินการอย่างเร่งด่วน รวมทั้งการประชุม G7 ในคอร์นวอลล์ อังกฤษ ในปีเดียวกัน

ขณะที่ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ยังมีความเคลื่อนไหวถึงกรณีดังกล่าวในประเทศไทยด้วย ซึ่ง ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่าน Blockdit ว่า “โจ ไบเดนเข้าเฝ้าพระเจ้าชาร์ลส์ ดูท่าทาง แก่หง่อมมากจนทำท่าจะไม่ไหวแล้ว”

ต่อมาวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ดร.ปฐมพงษ์ ยังโพสต์ข้อความต่อเนื่องถึงการเข้าเฝ้าฯของประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ผู้นำอเมริกาทำตัวไร้มารยาท  ต่อหน้ากษัตริย์อังกฤษ:

อเมริกาคือผู้นำประเทศที่ใช้ระบบทุนนิยมเสรีเป็นแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจ ระบบนี้นายทุนเป็นใหญ่ นายทุนเป็นผู้บงการสังคมและควบคุมนโยบายรัฐ

กลุ่มทุนใหญ่ในอเมริกาไม่ชอบสถาบันกษัตริย์ หาทางให้เครือข่ายโค่นสถาบันกษัตริย์ในประเทศต่างๆ เสีย กลุ่มทุนใหญ่อย่างพวกตนเมื่อควบคุมรัฐบาลอเมริกาได้แล้วก็จะได้ครองตำแหน่งเป็นผู้ครอบงำรัฐบาลได้ทั่วโลกไปด้วย

สังเกตดูจะเห็นว่าประธานาธิบดีอเมริกาจึงไม่ค่อยยี่หระกษัตริย์เท่าไหร่เมื่อพบเจอ โดยมารยาทสังคมหรือระเบียบพิธีการ (protocol) แล้วนะครับ เมื่อเจ้าภาพออกมาต้อนรับอย่างนี้ ประธานาธิบดีอเมริกาน่าจะต้องเดินเคียงคู่ไปกับพระมหากษัตริย์ คือเดินไปข้างหน้าพร้อมกันเพื่อให้เกียรติแก่กษัตริย์ที่เป็นเจ้าของประเทศด้วย

แต่ประธานาธิบดีอเมริกาทำตัวเหมือนไม่มีมารยาทสังคมกลับเดินนำหน้ากษัตริย์เจ้าของประเทศ จะเป็นการจงใจสร้างภาพว่าประธานาธิบดีใหญ่กว่ากษัตริย์หรือไม่เคยมีใครอบรมสั่งสอนให้ก็ไม่รู้”