จากกรณีมีการนำเรื่องฆ่าตัวตายมาปั่นกับกระแสโควิด-19 โดยนักวิชาการ 7 รายอ้าง”การวิจัย”โดยเอาตัวเลขฆ่าตัวตาย 38 คน ระหว่างวันที่1-21 เมษายน 63 มาโยงว่าเป็นเพราะความผิดพลาดในนโยบายของรัฐนั้น ซึ่งมีการวิจารณ์ถึงสกสว.ด้วยนั้น
ล่าสุดวันนี้(28เม.ย.63) เฟซบุ๊ก สกสว. ได้โพสต์อ้างคำชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กรณีการแถลงผลการรวบรวมข้อมูลผู้เสียชีวิตและคนที่ฆ่าตัวตายฯ ของคณะนักวิจัย โครงการ “คนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง”
กรณีการแถลงผลการรวบรวมข้อมูลผู้เสียชีวิตและคนที่ฆ่าตัวตายฯของคณะนักวิจัยโครงการ “คนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง” ซึ่งได้รับความความสนใจจากสื่อมวลชนและสังคมเป็นวงกว้างนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ขอชี้แจงข้อเท็จจริงดังนี้
1.นักวิจัยคณะดังกล่าว เป็นคณะนักวิจัยในโครงการ “คนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง : การสังเคราะห์ภาพรวม” (Dynamics of Urban Poor in the Changing Urban Society) ซึ่งรับทุนสนับสนุนการวิจัยไว้เมื่อปี พ.ศ.2562 และยังดำเนินการวิจัยอยู่ จึงยังไม่มีรายงานฉบับสมบูรณ์ของการวิจัยดังกล่าว แต่คณะนักวิจัยได้มีข้อค้นพบระหว่างการวิจัยที่คณะนักวิจัยเห็นว่ามีความสำคัญ จึงจัดการแถลงข่าวดังที่ปรากฏ แต่มิใช่ขั้นตอนที่ สกสว. กำหนดให้ดำเนินการ
- หลักปฏิบัติซึ่งใช้กับทุกโครงการวิจัย และเป็นข้อความที่กำหนดอยู่ในสัญญารับทุนวิจัยด้วย คือ ความเห็นที่เผยแพร่นั้นเป็นของผู้วิจัย สกสว.ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป ทั้งนี้เพราะสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว. เดิม ซึ่งเปลี่ยนมาเป็น สกสว. โดยผลของกฎหมาย) ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในทุกสาขาวิชาการอย่างกว้างขวาง ให้ความสำคัญกับเสรีภาพในทางวิชาการของนักวิจัย และการเผยแพร่เพื่อให้ข้อมูล หรือ เพิ่มการตระหนักรู้ของสังคมย่อมเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้
การเผยแพร่นั้น นักวิจัยย่อมต้องรับคำวิพากษ์วิจารณ์ ตลอดถึงการตรวจสอบจากวงวิชาการและสังคมด้วย สกสว. ขอยืนยันว่า ในฐานะผู้ส่งเสริมระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ คำนึงถึงประโยชน์ของสังคมและประชาชน มีความมุ่งมั่นและมีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศ ด้วยองค์ความรู้ และผลงานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ทั้งนี้เมื่อข้อชี้แจงของสกสว.ได้เผยแพร่ออกมาก็ปรากฏว่ามีคนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นจำนวนหนึ่ง ซึ่ง1ในนั้นมีดร.เวทิน ชาติกุล ผู้อำนวยการสถาบันทิศทางไทย ได้เข้าร่วมคอมเมนต์ด้วยว่า
Wathin Chatkoon ขอให้เปิดเผยงบประมาณ ชื่อผู้ทรงที่รับรองการวิจัย และชื่อผู้ทรงที่ตรวจทาน(reader). เพื่อธรรมาภิบาลขององค์กรและวงวิชาการ #เปิดงบวิจัย
สงสัยต้องล้างบางหรือรื้อหน่วยงาน หรือให้ใครไปตรวจสอบหน่วยงานนี้บ้างแล้วนะครับ ผมมีลางสังหรณ์ว่ากลิ่นตุๆ
Wathin Chatkoon ข้อเท็จจริงก็คือ อ.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ นั่งเป็นบอร์ดอยู่ใน สกสว.
อ.ธเนศ และ 7 นักวิจัย “ทุกคน” (ย้ำว่าทุกคน)เคยลงชื่อในแถลงการณ์ของ 69 นักวิชาการที่เคยออกมาแถลงช่วยพรรคอนาคตใหม่ (https://www.matichon.co.th/politics/news_1438921)
69 นักวิชาการ มหาลัยทั่วปท. ร่อนแถลงการณ์คุกคามพรรคการเมือง คือ บ่อนทำลายปชต.MATICHON.CO.TH
คือถึงแม้บุคคลเหล่านี้จะมีวาระซ่อนเร้นทางการเมืองอย่างไร ผมก็ว่าไม่ใช่ประเด็นหลักหรอกครับ
ประเด็นสำคัญคือ งานชิ้นนี้ที่นำเสนอออกมา ต้องเรียกได้ว่า “เป็นความล้มละลายของผลงานทางวิชาการ” มากกว่า คือ มันผิดหลักการ ระเบียบการวิจัย
Wathin Chatkoon เห็นด้วยครับ แต่ความพังพินาศส่วนใหญ่มันจะมาจากอคติ หรือ อเจนด้า ส่วนตัวครับ ในวงการนักวิทยาศาสตร์ก็มีเหมือนกันหมด
Wathin Chatkoon Tew Pacha อีกประเด็นคือทุกคนไม่ใช่นักวิจัยหน้าใหม่ มีตำแหน่ง ศ. รศ. ผศ.ทุกคน คำถามคือ แล้วที่ผ่านๆมาทำกันแบบนี้หรือเปล่า แต่ไม่เป็นประเด็น และต้องตั้งคำถามไปถึงระบบการให้ตำแหน่งเหล่านี้ด้วยว่าทำกันตรงไปตรงมาหรือไม่ พูดง่ายๆคือ วิจัยชิ้นเดียว อาจทำให้เห็นความเละเทะของวิชาการเมืองไทยทั้งระบบหรือไม่?
งานนี้ต้องยาวนานและต่อเนื่องนะครับอาจารย์ เราปล่อยให้นักวิชาการกลุ่มหนึ่งใช้ความไม่เป็นเหตุเป็นผลบิดเบือนสร้างความสับสนให้สังคมมาหลายปีเกินไปแล้ว
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมาโครงการวิจัยคนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลง ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) แถลงข่าว ผลการรวบรวมข้อมูลผู้เสียชีวิตและคนที่ “ฆ่าตัวตาย” จากไวรัส COVID-19
โดยมีนักวิจัย ประกอบด้วย 1.ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2.รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3.รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4.ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5.รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยทักษิณ 6.ผศ.ดร.ธนิต โตอดิเทพย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 7.ผศ.ดร.ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ที่มาเฟซบุ๊ก : สกสว. https://www.tsri.or.th/…/