เดือดต่อเนื่อง! คิวสว.ประพันธ์ ฟัน พิธาบุคคลคุณสมบัติต้องห้าม เตือน ใครโหวตเห็นชอบถูกดำเนินคดีอาญาพ่วงจริยธรรมร้ายแรง

0

จากกรณีที่วันนี้ (13 กรกฎาคม 2566) มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 จะเริ่มเวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งวันนี้จะมีการโหวตนายกรัฐมนตรี

โดยเมื่อเวลา 10.12 น. ชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส. อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย อ่านแถลงการณ์พรรค (17 พ.ค. 66) ว่าจะไม่สนับสนุนแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคที่จะแก้ไข ม.112 และเรียกร้องให้ 7 พรรคที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลแสดงจุดยืนต่อเรื่องดังกล่าว โดยหากพรรคก้าวไกลได้เป็นรัฐบาล พรรคภูมิใจไทยพร้อมจะเป็นฝ่ายค้าน และยืนยันจะไม่จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยแข่ง 

ต่อมาทางด้าน นายประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา ได้อภิปรายเป็นคนแรก โดยกล่าวว่า แม้ส.ว.กับส.ส.มีที่มาต่างกันแต่กฎหมายให้ถือว่าเป็นผู้แทนจากปวงชนเหมือนกัน รักษาผลประโยชน์ประเทศ-ประชาชนเหมือนกัน ส.ส.มาจากประชาชน ส.ว.ก็มาจากประชามติของประชาชนเหมือนกัน

การออกความเห็นนี้เป็นความเห็นโดยสุจริต ตามที่มีการเสนอ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ขอเรียนว่าการเสนอชื่อครั้งนี้เป็นการเสนอบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามโดยชัดแจ้ง

ส.ว.ประพันธ์กล่าวต่อว่า เฉพาะกรณีของพิธา การเสนอชื่อของรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบปรากฎชัดแจ้งอยู่แล้วว่าขัดกับข้อบังคับฯ เพราะพิธามีลักษณะต้องห้าม จึงมีปัญหาว่าเป็นการเสนอชื่อโดยถูกต้องหรือไม่ ปัญหาที่ว่าต้องรอคำวินิจฉัยศาลรธน.หรือไม่นั้น ตนเห็นว่า คุณสมบัติของส.ส.กับนายกฯ เป็นเรื่องที่วิญญูชนก็วินิจฉัยได้
พร้อมย้ำว่า การลงมติ-เห็นชอบให้เป็นนายกฯ จะเป็นปัญหาร้ายแรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ การทูลบุคคลต้องห้ามเพื่อแต่งตั้ง การกระทำดังกล่าวเป็นการระคายเคืองพระยุคลบาล กรณีนี้เป็นปัญหาสำคัญที่สภาต้องพิจารณาให้ละเอียดว่าการเสนอบุคคลดังกล่าวชอบหรือไม่ หากดึงดันที่จะลงมติให้บุคคลที่มีลักษณะต้องห้าม อาจถูกดำเนินคดีและผิดประมวลจริยธรรมส.ส. ส่วนส.ว. ก็ผิดประมวลจริยธรรมตนเช่นกัน ด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงตนจึงไม่เห็นด้วยและคัดค้านการเสนอชื่อ นายพิธา เป็นนายก
ซึ่งต่อมานายพิธา ได้ใช้สิทธิพาดพิง โดยกล่าวว่า ตนพยายามพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำ รักษาคำพูด สัญญาที่เคยให้ไว้กับประชาชนอย่างไรก็จะทำอย่างนั้น แม้ตนไม่เห็นด้วย นายชาดาพูด แต่ชาดามีเสรีภาพที่จะพูด นี่คือหน้าที่ของสภา นี่สาเหตุที่ใช้รัฐสภาในแก้ไขกฎหมายนิติบัญญัติ
นอกจากนี้ นายพิธา ยังได้ชี้แจงถึงเรื่อง icc และกล่าวว่าการแก้ไข 112 ไม่อยู่ใน MOU ถูกต้องแล้ว เพราะ MOU คือความเข้าใจร่วมกันของพรรค หน้าที่แก้กฎหมายอยู่ที่สภา เมื่อยื่นแก้กฎหมายไม่มีใครผูกขาดชุดความคิดใครได้
ต่อมา นายชัยธวัช ตุลาธน สมาชิกรัฐสภา พรรคก้าวไกล อภิปรายว่าทำไมควรลงมติให้นายพิธา ไม่แจงเรื่องคุณสมบัติและนโยบายแล้ว เพราะประชาชนและสมาชิกรัฐสภาทุกท่านก็ได้ลงมติหนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากันผ่านการเลือกตั้งไปแล้ว ก้าวไกลรวบรวมเสียงข้างมากจาก 8 พรรคได้แล้ว พิธาควรเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่30 ตามครรลองปกติของระบอบประชาธิปไตย
บรรยากาศบ้านเมืองทำให้เกิดคำถามดังในใจของประชาชนที่จับตาดูอยู่ว่า หากนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ไม่เป็นไปตามผลการเลือกตั้งแล้ว เราจะมีการเลือกตั้งไปทำไม ตกลงอำนาจอธิปไตยของประเทศนี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่หรือเป็นของใครกันแน่