หลังอิเว้นประชุมนาโต้จบลง และควันหลงความแตกแยกภายในปรากฎชัดมากขึ้นหลังบ้านสหรัฐฯแถวๆละตินอเมริกาและแคริบเบียน ก็มีการเคลื่อนไหวอย่างน่าตื่นเต้นโดยพันธมิตรโลกหลายขั้วทั้งรัสเซียและอิหร่าน
วันที่ ๑๓ ก.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวสปุ๊ตนิกและเอบีซี รายงานว่า รัสเซียส่งเรือเปเรคอฟ(Perekop) เป็นเรือฝึกชั้นซมอลนี (Smolny) ของ Russian Baltic Fleet มาครั้งนี้สื่อรายงานว่า เป็นเรือฝึกรัสเซียที่มาพร้อมนักเรียนนายร้อยเดินทางมาถึงอ่าวฮาวานา ประเทศคิวบา ชาวคิวบาทักทายเรือรัสเซียด้วยการยิงปืนใหญ่สลุต ๒๑ รอบ
“Perekop” เริ่มการเดินเรือระยะยาวในเมือง Kronstadt ตั้งแต่วันที่ ๒๐ มิถุนายน ที่ผ่านมา ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลแคริบเบียนภายในสองสัปดาห์
เพื่อมอบประสบการณ์ภาคสนามให้กับนักเรียนนายร้อย เรือลำนี้จะไปเยือนหลายประเทศในแถบแคริบเบียน ละตินอเมริกา และแอฟริกา เรือจะกลับสู่ฐานในเดือนกันยายน
แม้จะเปิดเผยจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ “เปเรคอป” ก็มีป้อมปืนติดอาวุธและมีความสามารถในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มศักยภาพ
รองหัวหน้ากองทัพเรือปฏิวัติ (MGR) กัปตันกองเรือ โฮเซ ลุยส์ เซาโต (José Luis Souto) และเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำคิวบาวิคเตอร์ โคโรเนลลี (Victor Koronelli) เข้าร่วมที่แผนกต้อนรับ
เมื่อเข้าสู่อ่าวฮาวานา เรือ Perekop ได้ยิงระดมยิงหลายนัด ซึ่งได้รับการตอบสนองโดยปืนใหญ่ของกองกำลังปฏิวัติจากป้อมปราการซานคาร์ลอสเดลากาบาญา
ระหว่างที่อยู่ในคิวบา ลูกเรือชาวรัสเซียจะไปเยี่ยมเยียนหัวหน้ากองเรือปฏิวัติคิวบา และผู้ว่าการกรุงฮาวานา และเยี่ยมชมสถานที่ที่น่าสนใจทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมด้วย
ในขณะเดียวกัน เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลคิวบาเรียกร้องให้เรือดำน้ำนิวเคลียร์ของสหรัฐฯซึ่งเอามาจอดอยู่ที่อ่าวกวนตานาโมว่าเป็น’การยั่วยุที่เพิ่มขึ้น’ ร้องให้หยุดพฤติกรรมทันที
กระทรวงต่างประเทศโฆษกกองทัพเรือคิวบา ระบุว่า “เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ USS Pasadena จอดที่ฐานทัพเรือในอ่าวกวนตานาโมเมื่อต้นเดือนนี้
สหรัฐฯ บอกกับเอบีซีนิวส์ว่าเป็น “การหยุดส่งกำลังบำรุงตามกำหนดเวลา” ขณะที่เรือดำน้ำผ่านแดนไปยังโคลอมเบียเพื่อเข้าร่วมการซ้อมรบทางทะเลข้ามชาติ
“กระทรวงการต่างประเทศขอปฏิเสธอย่างหนักแน่นถึงการมาถึงของเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ในอ่าวกวนตานาโมในวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๐๒๓ ซึ่งอยู่ที่ฐานทัพสหรัฐฯที่นั่นจนถึงวันที่ ๘ กรกฎาคมที่ผ่านมา ถือเป็นการยั่วยุซึ่งมีประเด็นทางการเมือง หรือไม่ทราบแรงจูงใจเชิงกลยุทธ์”
ถ้อยแถลงระบุว่า“การมีอยู่ของเรือดำน้ำนิวเคลียร์ ณ ขณะนั้น ทำให้จำเป็นต้องสงสัยว่าอะไรคือเหตุผลทางทหารที่อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการนี้ในภูมิภาคที่สงบสุขแห่งนี้”
โฆษกกองทัพเรือสหรัฐฯ ระบุว่า “รัฐบาลสหรัฐฯ แจ้งรัฐบาลคิวบาว่าเรือดำน้ำจะจอดที่อ่าวกวนตานาโมในเช้าวันที่ ๕ กรกฎาคม นี่ไม่ใช่เรื่องปกติ” ทางฝั่งสหรัฐฯไม่ได้ชี้แจงนอกเหนือไปจากนี้และถอนออกไปหลังวันที่ ๘ ก.ค.ที่ผ่านมา
สำหรับการปรากฏตัวของเรือของรัสเซียบนชายฝั่งของคิวบาเป็นสัญญาณของความสัมพันธ์ทางการทูตที่เพิ่มขึ้นระหว่างคิวบาและรัสเซีย ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคระบาด ประสบปัญหาขาดแคลนสินค้าพื้นฐานอย่างอาหารและก๊าซอย่างหนักมาหลายเดือนแล้ว ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากรัสเซียและจีนอย่างต่อเนื่อง
ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีอิหร่าน ได้เดินสายเยือนกลุ่มประเทศละตินอเมริกาและได้พบกับคู่หูชาวคิวบาในทริปส์สุดท้ายของทัวร์
ประธานาธิบดีอิหร่านอิบราฮีม ไรซี (Ebrahim Raisi) ได้พบกับผู้นำคิวบา มิเกล ดิแอซ-คาเนล (Miguel Díaz-Canel) ในกรุงฮาวานา หลับไปเยือนพันธมิตรอีกสองแห่งของอิหร่านในภูมิภาคนี้คือ เวเนซุเอลาและนิการากัว
ระหว่างการประชุมการค้ากับนักธุรกิจท้องถิ่นในฮาวานา Raisi กล่าวว่าคิวบาและอิหร่านจะพยายามทำงานร่วมกันในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ การทำเหมือง การผลิตไฟฟ้า และด้านอื่นๆ
ปธน.อิหร่านกล่าวว่า “ฉันหวังว่าการประชุมครั้งนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการรวมตัวในการแลกเปลี่ยนความคิดและความคิดเห็น” เป็นที่น่าสังเกตุว่า ไรซีไม่เหมือนกับที่เขาเคยแวะที่นิการากัวและเวเนซุเอลา โดยงดเว้นจากการแสดงความคิดเห็นที่รุนแรงต่อวอชิงตันในที่สาธารณะ หรือการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่บังคับใช้กับประเทศของเขาและพันธมิตรทั้งสามในภูมิภาค
โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว จอห์น เคอร์บี (John Kirby) ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผู้นำอิหร่านหรือวาระการประชุมของเขา แต่เคอร์บียอมรับว่าฝ่ายบริหารสหรัฐฯกังวลเกี่ยวกับ “พฤติกรรมอิหร่าน และกล่าวว่าจะ “ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปเพื่อบรรเทาพฤติกรรมนั้นๆ” และกรณีของรัสเซีย ก็ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด เพราะเพิ่งจบวาระการประชุมนาโต้ไปหมาดๆ
สหรัฐฯ กล่าวหาอิหร่านว่าจัดหาวัสดุให้รัสเซียเพื่อสร้างโรงงานผลิตโดรนทางตะวันออกของกรุงมอสโกว์ ขณะที่เครมลินยืนยันว่าพึ่งตนเองได้และมีอาวุธเพียงพอสำหรับการทำศึก มตินาโต้ก็บอกชัดว่าจะยังคงดันหลังยูเครนให้สู้รบกับรัสเซียต่อไป ท่ามกลางการเคลื่อนไหวในดินแดนละตินอเมริกา-แคริบเบียนของพันธมิตรโลกหลายขั้ว ย่อมสร้างความไม่สบายใจต่อเมกา-นาโต้อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะขณะที่กำลังมุ่งหน้ากดดันและกระตุ้นความขัดแย้งในเอเชีย-แปซิฟิคอย่างเอาการเอางาน คงต้องหันมามองหลังบ้านว่า รัสเซียแลอิหร่านกำลังเคลื่อนไหวอย่างหนักที่หลังบ้านไม่ได้รุกแค่ทางเศรษฐกิจและการเมืองเท่านั้น เมกาจะทำอย่างไรต่อไปต้องจับตา!!