จากที่การชุมนุมลุกลามมาถึงชาติยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวิตเซอร์แลนด์ ที่ได้สร้างความแปลกใจกับหลายคนไม่น้อย ว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศที่สุขสงบแห่งนี้ และทิศทางการเคลื่อนไหวนับจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ
ทั้งนี้ Blockdit World Update ได้ออกมาโพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าวไว้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีข้อมูลที่น่าพิจารณาชวนติดตามกันอย่างใกล้ชิดว่า
“กระแสการก่อจลาจลในฝรั่งเศส กระจายไปอีก 2 ประเทศในยุโรป คือ สวิตเซอร์แลนด์ เกิดเหตุจลาจลใจกลางเมืองโลซานน์ เยาวชนกว่า 100 คนรวมตัวกันที่ใจกลางเมือง ทุบทำลายหน้าต่างร้านค้า ประตู และป้าย
ตำรวจราว 50 นาย ส่งไปปราบปราม ผู้ก่อการจลาจลต่อสู้ด้วยการขว้างปาก้อนหินและปาระเบิดขวด ตำรวจสวิสจับกุมผู้ก่อจลาจลได้ 7 ราย เป็นเด็ก 6 ราย มีผู้ปั่นทางสื่อสังคมออนไลน์ให้ม็อบออกมาตามท้องถนน
การก่อความวุ่นวายยังลุกลามไปที่เบลเยียม ในเมืองหลวงกรุงบรัสเซลส์ มีม็อบออกมาเดินบนถนนเลียนแบบฝรั่งเศส ท่ามกลางตำรวจจับตากลัวว่าจะลุกลาม
ผลจากการเกิดจลาจลสงครามกลางเมืองในฝรั่งเศส ไปทั่วประเทศนั้น บรรดาม็อบใช้อาวุธปืนหลายชนิดที่ลักลอบนำเข้ามาจากยูเครน ทำให้สื่อตะวันตกอ้างว่ารัสเซียผิด เพราะอยู่เบื้องหลังม็อบก่อจลาจล ปล้นสะดม เผาทำลายทรัพย์สิน สูญเสียชีวิต และความวุ่นวายทางสังคมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในสวิตเซอร์แลนด์ การจลาจลได้ขยายลุกลามไปยังเมืองซูริก เมืองที่ใหญ่ที่สุด เกิดการปล้นสดมป์ ทุบทำลายร้านค้า ปะทะตำรวจ และมีม็อบขนาดใหญ่ในเบลเยียม กำลังเลียนแบบฝรั่งเศส รัฐบาลสวิสฯ หลอนมาก สั่งกองทัพเคลื่อนทหาร และรถถัง เพื่อยับยั้งการจลาจลที่แผ่ขยายไปทั่วเมืองชายแดนของฝรั่งเศส
วิเคราะห์ว่าเยอรมนี และโปแลนด์ มีประวัติศาสตร์บาดหมางยากที่จะร่วมมือกันอย่างจริงใจ แม้ต่างฝ่ายจะยืมมืออีกฝ่ายทำสงครามกับรัสเซียเหมือนกัน แต่ขณะเดียวกันก็จ้องแทงข้างหลังกันและกันตลอดเวลา
อาวุธเทพฝรั่งเศส เปราะบางไม่สมราคาคุยไม่เหมาะใช้สนามรบจริง แต่ใช้ได้แค่การปราบปรามม็อบสงครามกลางเมือง สถานการณ์ความไม่สงบทางสังคมในยุโรป ดูผิดปกติขึ้นเรื่อยๆ
ถึงขนาดสวิตเซอร์แลนด์ ชาติที่เคยสงบ ต้องสั่งเคลื่อนทัพทหาร และรถถังอ้างว่าไปปราบการก่อจลาจลตามเมืองแนวชายแดน นี่คือสัญญาณผิดปกติแน่นอน”
Cr.https://www.blockdit.com/world.update
Cr.https://www.facebook.com/profile.php?id=100077775671454
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่าสวิตเซอร์แลนด์ยังคงรักษาจุดยืนมั่นคงทางทหาร เมื่อสภาล่างมีมติ ไม่อนุญาตการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ผลิตโดยสวิตเซอร์แลนด์ ให้แก่ยูเครน
การโหวตครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่ อลาน เบอร์เซ็ต(Alain Berset) ประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์ พบปะกับ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ณ ที่ประชุมซัมมิตประชาคมการเมืองยุโรปในมอลโดวา ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้พูดคุยหารือกันในประเด็นการส่งออกยุทโธปกรณ์สงคราม
จุดยืนที่สวิตเซอร์แลนด์ยึดถือมาช้านาน คือเป็นหนึ่งในชาติที่มีอาวุธพร้อม แต่มีความเป็นกลางด้านการทหาร แม้ประเทศมั่งคั่งแห่งนี้ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เดินตามการนำของกลุ่มในการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเล่นงานรัสเซีย แต่จนถึงตอนนี้พวกเขาก็ไม่ได้แสดงตนสนับสนุนด้านการทหารต่อยูเครนตามข้อเรียกร้องของวอชิงตัน