การประชุมสุดยอดของกลุ่มBRICS มีกำหนดจะจัดขึ้นที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก อาฟริกาใต้ ในวันที่ ๒๒-๒๔ สิงหาคมที่จะถึงนี้ ทั้งที่ปารีสไม่ได้เป็นสมาชิกแต่ปธน..มาครงแห่งฝรั่งเศสได้สร้างเซอร์ไพรซ์ให้โลก ด้วยการขอให้ประธานกลุ่มซึ่งปีนี้เป็นอาฟริกาใต้ เชิญเขาเข้าร่วมประชุมด้วย
ท่าทีของสมาชิกกลุ่มบริกส์แตกต่างกันไป อาฟริกาดูจะเกรงใจแต่ก็ไม่รับปากขอไปปรึกษาคณะกรรมการจัดงานก่อน แต่Naledi Pandor รัฐมนตรีกระทรวงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของแอฟริกาใต้เรียกแนวคิดนี้ว่าแตกต่างจากการปฏิบัติทั่วไป เธอกล่าวว่าประธานาธิบดีซีริล รามาโฟซา ซึ่งเป็นประธานกลุ่ม BRICS คนปัจจุบัน จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะเข้าร่วมหรือไม่
ทางด้านจีนสื่อจีนตีข่าวยินดีต้อนรับ เพราะตอนนี้จีนกับฝรั่งเศสกำลังชื่นมื่นในด้านเศรษฐกิจ แต่แน่นอนย่อมไม่ใช่รัสเซียซึ่งถือเป็นคู่ขัดแย้งกับกลุ่มอำนาจเดี่ยวแองโกลแซกซอน ซึ่งมีฝรั่งเศสเป็นแกนนำอยู่ในนั้น แสดงจุดยืนเคียงข้างยูเครนอย่างเต็มที่แอนตี้รัสเซียตามวาระวอชิงตันอย่างไม่เปลี่ยนแปลง
วันที่ ๒๓ มิ.ย.๒๕๖๖ สำนักข่าวทาซซ์รายงานว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เก รยาบคอฟ กล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า”รัสเซียได้แจ้งพันธมิตรในแอฟริกาใต้ว่าจะพิจารณาการเข้าร่วมการประชุม BRICS ที่โจฮันเนสเบิร์กของประธานาธิบดีฝรั่งเศสในเดือนสิงหาคมว่าไม่เหมาะสม”
รยาบคอฟกล่าวว่า “เราได้ส่งสัญญาณว่าด้วยความเคารพต่อสิทธิพิเศษของ แอฟริกาใต้ในฐานะเจ้าภาพในการเชิญแขกแต่ละคน จำเป็นต้องดำเนินการต่อเนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่า BRICS เป็นพันธมิตรของประเทศที่ปฏิเสธการใช้อำนาจฝ่ายเดียวอย่างเด็ดขาด และใช้การคว่ำบาตรเพื่อแก้ไขปัญหานโยบายต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ การปรากฏตัวของเจ้าหน้าที่ตะวันตกย่อมไม่เหมาะสมอย่างชัดเจนที่นั่น”
ปัจจุบันแอฟริกาใต้ดำรงตำแหน่งประธาน BRICS แบบหมุนเวียน การประชุมสุดยอดของกลุ่มมีกำหนดจัดขึ้นที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก เมืองที่ใหญ่ที่สุดและศูนย์กลางธุรกิจของแอฟริกาใต้ ก่อนหน้านี้ แคทเธอรีน โคลอนนา รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส กล่าวภายหลังการเจรจาที่เมืองโจฮันเนสเบิร์กกับนาเลดี ปันดอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของแอฟริกาใต้ว่า มาครงจะพิจารณาเข้าร่วมการประชุมสุดยอด BRICS หากได้รับเชิญอย่างเป็นทางการ

ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกเครมลินกล่าวในทางกลับกันว่าเครมลินไม่เข้าใจว่าผู้นำฝรั่งเศสจะมีส่วนร่วมในฐานะใด “พูดตามตรง เราไม่รู้ว่าความสามารถใดหรือทำไม มาครงจะมาเข้าร่วมการประชุมสุดยอดบริกส์ เราไม่มีข้อมูลดังกล่าวอยู่ในมือ”
ด้านดมิทรี เมดเวเดฟ อดีตประธานาธิบดีรัสเซีย มีรายงานในโลกโซเชียลว่าตำหนิมาครงอย่างแรงว่า นอกจากไม่ใช่สมาชิกBRICS แล้วยังเป็นประเทศที่ไม่เป็นมิตรกับรัสเซีย แสดงออกนอกหน้าเป็นแกนนำสนับสนุนยูเครน ร่วมคว่ำบาตรทุกรายการกับรัสเซีย
ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์ฝั่งอาฟริกามองอีกแง่มุมหนึ่งว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมาดูลาดเลา ถ้าจริงใจก็สะท้อนความไม่เป็นปึกแผ่นของกลุ่มG7 ซึ่งกำลังอยู่ขาลงทางเศรษฐกิจ ด้วยวาระซ่อนเร้นของวอชิงตันที่ต้องการควบคุมยุโรปแบบเบ็ดเสร็จ
คอฟฟี คูอาคู นักวิจัยอาวุโสแห่งศูนย์แอฟริกาแห่งมหาวิทยาลัยโจฮันเนสเบิร์ก จีนศึกษาได้บอกสปุตนิกว่า “เขาอยู่ในภาวะขาหัก และสิ่งที่แสดงให้เห็นคือ G7 และพันธมิตรที่นำโดยตะวันตกมีรอยร้าว และแต่ละประเทศรวมถึงฝรั่งเศส เยอรมนีและชาติอื่นๆ ต่างก็รอคอยที่จะหลบหนี ไม่ว่าในกรณีใด ความคิดที่ว่าฝรั่งเศสกำลังเคาะประตูเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอด BRICS นั้นสำคัญมาก”
เมื่อโลกเปลี่ยนไป BRICS มีความสำคัญมากขึ้นทั่วโลก Kouakou ตั้งข้อสังเกต กลุ่มนี้มีสัดส่วนมากกว่า ๔๐% ของ GDP โลกและมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ผู้นำระดับภูมิภาคอย่างน้อยหนึ่งโหลที่เป็นตัวแทนของโลกอาหรับและ Global South ได้ประกาศการเสนอราคาเพื่อเข้าร่วมกลุ่ม ๕ ชาติ ซึ่ง Kouakou กล่าวว่าเป็นหนึ่งเดียวด้วยวิสัยทัศน์ของโลกหลายขั้ว ซึ่งตรงข้ามกับ “คำสั่งตามกฎ” ที่กำหนดโดยสหรัฐฯ
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มาครงต้องการเห็นด้วยตัวเองว่ากลุ่ม BRICS กำลังไปทางไหน แต่เสริมว่าคงเป็นเรื่องยากสำหรับปารีสที่จะหลุดพ้นจากการครอบงำของวอชิงตัน มาครงจุดประกายความโกรธในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนเมษายน เมื่อเขากล่าวระหว่างการเดินทางไปปักกิ่งว่า ยุโรปไม่ควรเป็นแค่“บริวาร”ของสหรัฐฯ ในการขัดแย้งระหว่างวอชิงตันกับจีน และแนะนำว่าชาวยุโรปจำนวนมากเห็นความจำเป็นในการปกครองตนเองทางยุทธศาสตร์
คูอาคูกล่าวว่า”พวกเขาต้องการเห็นว่าโลกกำลังจะไปทางไหน ใครคือผู้เล่น และพวกเขากำลังทำการบ้าน พวกเขาต้องการมาทางร่างกายเพื่อดูคนเหล่านี้และรู้จักพวกเขา แต่การปรากฏตัวของพวกเขาจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปทั่วกระดานว่าฝรั่งเศส สนใจในทิศทางที่โลกกำลังดำเนินไป และกำลังพยายามวางตำแหน่งตัวเองเพื่อใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างแท้จริง”
แค่เริ่มมาครงก็ทำให้BRICS เสียงแตก ถ้าเข้าประชุมไม่รู้ว่าจะออกมาเป็นแบบไหน ต้องจับตาดูว่าผลจะออกมาอย่างไร เพราะปีนี้อาฟริกาใต้เป็นประธานมีสิทธิ์เชิญแขกได้ตามเห็นสมควร ฟังสองเสียงก็คล้ายจะคล้อยตาม ปัญหาสำคัญตรงหน้าคือ อาฟริกายังไม่ได้ลาออกจากศาลโลก หมายจับปูตินยังคาอยู่ ถ้าเชิญฝรั่งเศสซึ่งมีจุดยืนตามวอชิงตัน ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของปธน.ปูตินยิ่งสุ่มเสี่ยง ที่ประชุมเป็นอาฟริกาซึ่งมีความสลับซับซ้อนทางการเมือง อะไรก็เกิดขึ้นได้!