ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการโหวตตั้งหรือไม่ตั้งกรรมาธิการศึกษาผลกระทบจากม.44 ซึ่งผลก็เป็นที่รับทราบกัน แต่ช่วงระหว่างมีเหตุการณ์ที่น่าถูกนำมากล่าวถึงไว้ที่นี้ นั่นเพราะเรื่องราวที่ว่านี้บ่งบอกถึงอะไรบางอย่างกับบางฝ่ายที่มักอ้างถึงประชาธิปไตย พร่ำพูดถึงคนรุ่นใหม่ แต่พฤติกรรมและความคิดดูไปไม่ต่างจากเด็กไร้เดียงสา???ที่เอาแต่ใจหรือไม่ ลองมาติดตามกัน!!!
27 พ.ย.62 สภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติ 234 ต่อ 230 เสียง เห็นชอบญัตติจัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ผลกระทบจากคำสั่งประกาศของ คสช.และประกาศคำสั่งของหัวหน้า คสช.ตามมาตรา 44 แต่ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลขอโหวตใหม่ ทำให้ ส.ส.ฝ่ายค้าน ตัดสินใจวอล์กเอ้าต์ออกจากห้องประชุม
นายวิรัช รัตนเศรษฐ พรรคพลังประชารัฐ และในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือวิปรัฐบาล ยกมือเสนอให้ประธานสภาฯ วินิจฉัยนับคะแนนใหม่ ตามข้อบังคับที่ 80 ด้วยวิธีการขานชื่อ พร้อม ส.ส.ที่ยกมือรับรอง
มีการถกเถียงกันถึงเงื่อนไข หรือความเป็นกลางของประธาน โดยประธานสภาผู้แทนราษฎร ชวน หลีกภัย ที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ได้วินิจฉัยให้นับคะแนนใหม่ ด้วยการขานชื่อ
สำหรับการเสนอให้นับคะแนนใหม่ ตามข้อบังคับการประชุม อ้างอิงไว้ว่า หากสมาชิกเห็นต่างในคะแนนที่ไม่เกิน 25 เสียง ให้เสนอประธานสภาฯ เพื่อวินิจฉัยได้
4 ธ.ค.62 ในเวลาต่อมาที่รัฐสภา กลุ่มนักศึกษานำโดย นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน ยื่นหนังสือถึงนายชวน ผ่านนายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างว่าประธานสภาฯ ทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง และไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กรณีเมื่อวันที่ 27 พ.ย.ที่ผ่านมา
โดยนายพริษฐ์ อ้างว่าการดำเนินการของประธานสภาฯ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ชอบด้วยข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร 2562 เพราะสมาชิกขอให้นับคะแนนใหม่ได้ แต่ไม่ใช่การออกเสียงใหม่ วันนี้จึงขอมอบพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้แก่ประธานสภาฯ ได้ศึกษาคำว่าการนับคะแนนใหม่ กับการออกเสียงใหม่ ว่าแตกต่างกันอย่างไร
ขณะนายสมบูรณ์ กล่าวภายหลังรับมอบหนังสือว่า ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับการประชุมถูกต้องแล้ว
หลังนายสมบูรณ์ แถลงเสร็จ ฝ่ายนายพริษฐ์ ได้ขึ้นพูดบนโพเดียมแถลงข่าวอีกครั้ง ว่าเรื่องข้อบังคับการประชุมสภาฯตนมีความเข้าใจดี เพราะสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มีข้อบังคับการประชุมเช่นเดียวกัน ซึ่งก็มีการลงมติแพ้ ชนะ เหมือนที่เกิดขึ้นในสภา ซึ่งทุกฝ่ายต้องยอมรับเช่นกัน
จากนั้น นายแทนคุณ จิตต์อิสระ คณะทำงานประธานสภาฯ ที่ยืนสังเกตการณ์อยู่ได้ขึ้นมาบนโพเดียมแถลงข่าวตอบโต้ทันที ว่านายพริษฐ์ น่าจะไม่เข้าใจจึงได้นำข้อบังคับการประชุมสภาฯ ไปเปรียบเทียบกับข้อบังคับของสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
“นอกจากนี้ ไม่แน่ใจว่ามีผู้หลักผู้ใหญ่คนไหนชักใยอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ดังนั้น ผมจึงขอคืนพจนานุกรม ที่นำมาให้เพื่อให้กลับไปศึกษา รวมถึงจะมอบข้อบังคับการประชุมสภาฯให้ไปศึกษาด้วย” นายแทนคุณ กล่าว
อย่างไรก็ตามนายพริษฐ์ ได้ให้สัมภาษณ์อีกว่า เมื่อประธานสภาฯ ไม่รับหรือไม่อ่านพจนานุกรมดังกล่าวก็ไม่เป็นไร แต่ถึงอย่างไรท่านก็ต้องเดินผ่านประตูนี้ ตนจึงจะวางพจนานุกรมไว้ตรงนี้ จากนั้น นายพริษฐ์ ได้นำพจนานุกรมไปวางไว้ตรงโต๊ะประชาสัมพันธ์ด้านหน้าแทน
นั่นคือพฤติกรรมของนายพริษฐ์ หรือ เพนกวิน ผู้ที่มักออกมาเรียกร้องเพรียกหาประชาธิปไตยสิทธิเสรีภาพอยู่อย่างสม่ำเสมอ!?!
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวเพจปอกเปลือก ได้ตรวจสอบพบว่า ราชกิจจานุเบกษา ได้ลงประกาศใช้ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 ซึ่งการลงคะแนนในส่วนของการลงมติของสภาฯ โดยอยู่ในส่วนที่ 4 การลงมติ ที่ได้ระบุข้อบังคับไว้ว่า
ข้อ 80 การออกเสียงลงคะแนนให้กระทำเป็นการเปิดเผย แต่เมื่อสมาชิกเสนอญัตติ โดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคนขอให้กระทำเป็นการลับ จึงให้ลงคะแนนลับ
ในกรณีที่สมาชิกเสนอญัตติให้ลงคะแนนลับตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีสมาชิกคัดค้านและมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกในที่ประชุม ให้ถือเป็นเอกสิทธิ์ที่จะลงคะแนนโดยเปิดเผย
การออกเสียงลงคะแนนจะกระทำแทนกันมิได้
ข้อ 83 การออกเสียงลงคะแนนเปิดเผยมีวิธีปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ใช้เครื่องออกเสียงลงคะแนนตามที่ประธานกำหนด
(2) เรียกชื่อสมาชิกตามหมายเลขประจำตัวสมาชิก ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นรายคนตามวิธีที่ประธานกำหนด
(3) วิธีอื่นใดซึ่งที่ประชุมเห็นสมควรเฉพาะกรณี
การออกเสียงลงคะแนนตาม (1) หากเครื่องออกเสียงลงคะแนนขัดข้องให้เปลี่ยนเป็นวิธีการตามที่ประธานกำหนด การออกเสียงลงคะแนนให้ใช้วิธีตาม (1) จะใช้วิธีตาม (2) หรือ (3) ได้ต่อเมื่อสมาชิกเสนอญัตติและที่ประชุมอนุมัติ หรือเมื่อมีการนับคะแนนเสียงใหม่ตามข้อ 85
ข้อ 85 เมื่อมีการออกเสียงลงคะแนนตามข้อ 83 (1) แล้ว ถ้าสมาชิกร้องขอให้มีการนับใหม่โดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่ายี่สิบคน ก็ให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่
และให้เปลี่ยนวิธีการลงคะแนนเป็นวิธีตามข้อ 83 (2) เว้นแต่คะแนนเสียงต่างกันเกินกว่ายี่สิบห้าคะแนนจะขอให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่ไม่ได้
เมื่อได้มีการออกเสียงลงคะแนนตามข้อ 83 (2) แล้ว จะขอให้มีการนับคะแนนเสียงใหม่อีกไม่ได้
นอกจากนี้ยังพบถึงการเคลื่อนไหวของเพนกวิน เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ที่น่าสนใจในเรื่องการเมืองและรัฐสภา ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับฝ่ายค้านบางประการ???
16 พ.ย.62 ที่ศูนย์ฝึกอบรมวีเทรน ดอนเมือง พรรคฝ่ายค้านจัดกิจกรรม 7 พรรคฝ่ายค้านเพื่อประชาชน ร่วมกับนักศึกษาจาก 30 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ จัดเวทีแลกเปลี่ยนในหัวข้อ “รัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดของประชาชนเรายังไม่ร่าง และรัฐบาลที่ดีที่สุดจึงยังไม่เกิด”
ซึ่งในตอนท้ายมีความเห็นของนักศึกษาซักถามต่อความเห็นโครงสร้างกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในโควตาของพรรคฝ่ายค้าน โดยเปิดให้มีการแสดงวิสัยทัศน์ก่อนลงคะแนนลับ
ปรากฏว่า นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับเลือกด้วยคะแนนสูงสุด ในการถูกเสนอชื่อให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย
19 พ.ย.62 เพนกวิน ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Parit Chiwarak ช่วงหนึ่งระบุว่า ตอนนี้ปี 2562 ผมได้รับโอกาสให้ไปสู้ต่อในสภา ทาง ครช. ได้เชิญตัวแทนนักศึกษา 30 มหาวิทยาลัยประชุมเพื่อพูดคุยเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และที่ประชุมได้เสนอชื่อผมเข้าเป็นตัวแทนนักศึกษาในคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาวิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฯ ตามสัดส่วนพรรคร่วมฝ่ายค้านจะจัดสรรให้
กระนั้นการเคลื่อนไหวของเพนกวิน เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ไม่เพียงเรื่องราวล่าสุดที่สภาฯจากการจะยื่นพจนานุกรมมให้นายชวนเท่านั้น หากย้อนไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อนจากกรณีมีเรื่องน่าเศร้าของคนไทยของการจากไปของ “ป๋าเปรม” พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ ที่ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อเช้าของวันที่ 26 พ.ค.2562
คนส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าจะเป็น บุคคลที่มีชื่อเสียง ทั้งนักการเมือง ข้าราชการ องค์กร หน่วยงานต่างๆ รวมไปถึงที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยนายชัย ชิดชอบ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมชั่วคราว ได้ขอให้สมาชิกยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 นาทีเพื่อแสดงความไว้อาลัยต่อการอสัญกรรมของพล.อ.เปรม
ร่วมไปถึงนานาชาติ ต่างพากันแสดงความเสียใจต่อการสูญเสียในครั้งนี้ แต่พบว่า นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ”เพนกวิน” กลับมีพฤติกรรมสวนทาง โดยได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Parit Chiwarak ระบุว่า..
การอสัญกรรมของ พล.อ.เปรม เชื่อว่าจะส่งผลให้การเมืองของชนชั้นนำ (elite) ระส่ำขึ้นไม่มากก็น้อย ที่ผ่านมา พล.อ.เปรมมีบทบาทในฐานะ “มือประสานสิบทิศ” ในสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ พล.อ.เปรมเป็นผู้มากบารมีที่คอยประสานประโยชน์ระหว่างมุ้ง (faction) ต่าง ๆ จึงเป็นนายกรัฐมนตรีได้เกือบ 10 ปี
ต่อมาเมื่อได้เป็นประธานองคมนตรีก็เชื่อว่ายังคงมีบทบาทด้านการประสานงานระหว่างมุ้งอยู่หลังม่าน เมื่อ พล.อ.เปรมสิ้นไปแล้ว คงยากที่จะหาใครคอยประสานผลประโยชน์ระหว่างมุ้งได้ลงตัว ดังนั้น การเมืองระหว่างมุ้งของชนชั้นนำน่าจะเดือดขึ้นไม่มากก็น้อย รอดูกันต่อไปครับ
ว่าแต่ บ้านหลวงว่างแล้ว จะมีใครได้ไปอยู่ฟรีต่อไหมครับ ?
นั่นคือข้อความที่เพนกวิน โพสต์ซึ่งยังพบว่าไม่ได้มีเพียงข้อความข้างต้นเท่านั้น แต่ยังมีภาพและข้อความที่รุนแรงกว่านี้จนไม่สามารถนำมาเผยแพร่ไว้ ณ ที่นี้ได้!!! นี่คือพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ คนที่หลงเพ้อแต่คำพูดถึงประชาธิปไตยอยู่เต็มเปี่ยม แต่ภายในจิตใจ สำนึกของความเป็นคนดูเหมือนจะขาดพร่องหรือไม่??? เชื่อว่าเรื่องสังคมพิจารณาได้ไม่ยาก!!!