จากที่มีรายงานกกต.กรณีสอบคุณสมบัติ พิธา ถือหุ้น ITV สืบสวนได้ว่ามีลักษณะต้องห้าม จึงรับไว้เป็นกรณี ความปรากฏ รู้อยู่แล้วว่าตนเองไม่มีสิทธิแต่ยังสมัคร ส.ส. เตรียมตั้งคณะกรรมการสืบสวนไต่สวนเอาผิดตาม มาตรา 151
ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2566 นายกิตติ สิงหาปัด พิธีกรผู้ประกาศคนดัง ได้โพสต์ว่า เปิดคลิปวีดีโอ บันทึกการประชุมผู้ถือหุ้นไอทีวี ที่มีการร้องเรียนให้ตรวจสอบว่าไม่ตรงกับบันทึกการประชุมในเอกสาร ติดตามกับ คุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย #ข่าว3มิติ
ขณะที่ นายจตุรงค์ สุขเอียด อดีตผู้สื่อข่าวไอทีวีก็ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน โดยระบุว่า “ข่าว3มิติ คุณฐปณีย์ จะเปิดหลักฐานการประชุมผู้ถือหุ้นไอทีวีล่าสุด ก่อนจะมีการร้องการถือหุ้นสื่อของนายพิธา กรณีที่มีการนำเสนอคำถามของผู้ถือหุ้นรายหนึ่งที่เป็นตัวแทนคนหนึ่งที่ว่า ไอทีวียังเป็นสื่อหรือไม่
และมีการนำมาเผยแพร่ว่า ประธานที่ประชุมตอบว่ายังดำเนินกิจการอยู่ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นความเท็จ หรือไม่ เพราะในวันประชุมดังกล่าวมีการประชุมผ่านระบบอิเลคทรอนิกด้วย แม้จะมีการลบไฟล์ออกภายหลังแต่หนึ่งในผู้ถือหุ้นไอทีวี ที่มีสิทธิ์เข้าฟังได้บันทึกเอาไว้
ล่าสุดวันนี้ 14 มิถุนายน 2566 น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา หรือโบว์ พิธีกรรายการวิเคราะห์ข่าว และอดีตนักกิจกรรมทางการเมือง ได้ออกมาโพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าวผ่านทวิตเตอร์ว่า
“สิ่งที่ระบุในรายงานผู้ถือหุ้นไอทีวี เป็นความจริงเกี่ยวกับธุรกิจ คือบริษัทยังดำเนินการตามวัตถุประสงค์บริษัท ส่งงบการเงินและเสียภาษีอยู่
ซึ่งวัตถุประสงค์บริษัทมี 45 ข้อ ไอทีวีอาจไม่ได้ดำเนินการตามข้อ 40 ที่ว่าด้วยการประกอบการวิทยุโทรทัศน์ แต่ยังดำเนินการตามข้อ 41 ที่ว่าด้วยการผลิตสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ ตามที่ระบุในงบการเงินตั้งแต่ปี 65
เรื่องทั้งหมดเป็นกิจการของบริษัทที่เกิดขึ้นตามปกตินานก่อนจะมีเรื่องการร้องเรียนคุณสมบัติคุณพิธาปมถือหุ้นสื่อ ก่อนคุณพิธาจะได้รับการเสนอชื่อเป็นแคนดิเดทนายกฯของพรรคก้าวไกล ก่อนจะมีการเลือกตั้งและรู้ผลกัน
การพยายามสร้างทฤษฎีสมคบคิดต่างๆนานา คือความพยายามเบี่ยงเบนความสนใจจากข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาในคดีที่เกี่ยวกับคุณสมบัติ ส.ส. และแคนดิเดทนายกฯตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีแค่ …
– ไอทีวี เป็นสื่อฯหรือไม่?
– คุณพิธาถือหุ้นไอทีวีขณะสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่?
เท่านี้เอง”
ต่อมาเมื่อข้อความของโบว์ ณัฎฐา เผยเผยแพร่ออกไปผ่านทวิตเตอร์ Bow Nuttaa Mahattana ก็ปรากฏว่ามีคนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก เช่น
“มันคือบันทึกการประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งต้องจดตามการประชุมแบบ verbatim ไม่ใช่เอาไปตีความ ถ้าจดออกมาตรงข้ามกับที่พูด แล้วยังเซ็นรับรอง มันเข้าข่ายจัดทำเอกสารปลอม เป็น corpo. fraud ส่วนพิธาถือหุ้นสื่อหรือไม่ และถือในอัตราที่ครอบงำสื่อได้หรือเปล่า อันนี้ก็อีกประเด็นที่ กกต. ต้องตัดสิน”
ทั้งนี้ทำให้ โบว์ ณัฎฐา ต้องเข้ามาตอบคอมเมนต์ดังกล่าวด้วยตัวเองว่า “รายงานการประชุมนั้นไม่ใช่เอกสารปลอม บริษัททำเอง ไม่ใช่มีฉบับจริงแล้วคนอื่นมาทำปลอม รายงานการประชุมไม่ใช่ชวเลข เขียนให้ครอบคลุมข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อความเข้าใจได้ แต่หากผู้เกี่ยวข้องไม่ต้องการรับรองรายงาน ก็ทักท้วงให้แก้ไขได้
ในกรณีนี้ ข้อมูลที่ปรากฏในรายงานไม่ได้ผิดไปจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัท จึงไม่มีความเสียหายต่อผู้ถือหุ้น และคงไม่มีใครต้องติดคุกตามที่ปั่นกัน”