ถึงคิวพี่ใหญ่นาโต้!! มูดีส์เตือนแรง US-UKส่อดิ่งเหวสู่ภาวะศก.ถดถอย เงินเฟ้อพุ่งกระฉูด แบงก์ล้มช็อกระบบ

0

สถานการณ์ล่าสุดด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯและสหราชอาณาจักรไม่ค่อยดีนัก หลังเยอรมนีคู่หูแกนนำกลุ่มมหาอำนาจเดี่ยวแองโกลแซกซอน เศรษฐกิจเดี้ยงไปก่อนหน้า สภาวะต้องเร่งเพิ่มเพดานหนี้เพื่อกู้เพิ่มทั้งๆหนี้สาธารณะท่วมท้น และเศรษฐกิจยูโรโซนอ่อนแอ นั่นหมายถึงกระทบกับศักยภาพในการทำศึกของนาโต้ด้วย ยูโรเซ็นทรัลแบงก์หรือ UCB คอนเฟิร์มความเประบางของปัญหาอย่างชัดเจนว่า การเติบโตในเขตยูโรโซนเกือบจะหยุดชะงักก็ว่าได้ในช่วงต้นปีนี้ อันเป็นผลมาจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นและปัญหาคอขวดในการจัดหา และก็เพราะมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียมหาศาล ล่าสุดมูดีส์ออกมาเตือนแรงอีกว่า เมกา-อังกฤษไม่รอดรีเซสชั่น

วันที่ ๗ มิ.ย.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์รายงานว่า  Moody’s Investor Service ได้ออกรายงานเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า “การเติบโตทั่วโลกจะชะลอตัวลงในปีนี้ ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่เหนียวเหนอะหนะและต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้น โดยการชะลอตัวส่วนใหญ่ได้แรงหนุนจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว G20 ซึ่งรวมถึงสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี”

หน่วยงานจัดอันดับระบุว่าการเติบโตของ GDP ที่แท้จริงของกลุ่ม G20 จะชะลอตัวลงเหลือ ๒.๑% ในปี ๒๕๖๖ และ๒.๒% ในปี ๒๕๖๗ จาก ๒.๗% ในปี ๒๕๖๕

“เราคาดว่าการเติบโตที่อ่อนแอมากโดยเฉพาะในกลุ่มเศรษฐกิจขั้นสูงที่สำคัญ รวมถึงภาวะถดถอยที่ไม่รุนแรงในสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี และกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะงักงันในฝรั่งเศสและอิตาลี” รายงานระบุ

มีรายงานว่าความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อหรือโรคระบาดทางการเงินอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐฯ ได้บรรลุข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับวงเงินหนี้ของประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ความล้มเหลวในการทำให้อุปสงค์รวมลดลงอย่างเพียงพอ หน่วยงานเตือนว่าอาจบีบให้ธนาคารกลางบางแห่งต้องเข้มงวดมากขึ้น 

มูดี้ส์ระบุว่า “เราคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณ ๑% ในปี ๒๕๖๖ และ ๒๕๖๗ สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งต่ำกว่า ๒.๑% ที่บันทึกไว้ในปี ๒๕๖๕ อย่างมาก และต่ำกว่าแนวโน้มการเติบโต การคาดการณ์เหล่านี้รวมถึงภาวะถดถอยที่ไม่รุนแรง  สองสามไตรมาสของการหดตัวตามลำดับ ซึ่งจะเพิ่มอัตราการว่างงานเป็นประมาณ ๕.๐%  ในช่วงครึ่งหลังของปี ๒๕๖๖” 

“ความคาดหวังในการเติบโตของเรา รวมความต้องการสินเชื่อโดยรวมที่ลดลงอย่างมาก จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงอยู่แล้ว ดังนั้นเราจึงไม่ได้เปลี่ยนแปลงการคาดการณ์ของเราอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากความเครียดล่าสุดจากวิกฤตธนาคารในภูมิภาคของสหรัฐ” 

ในกรณีของเยอรมนี ความอ่อนแอของภาคการผลิต การขาดแคลนแรงงาน อัตราดอกเบี้ยที่สูง และอัตราเงินเฟ้อที่สูงและเหนียวเหนอะหนะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจแย่ลง มูดี้ส์ระบุ

มูดี้ส์กล่าวว่า “หลังจากเติบโต ๓.๗% และ ๒.๑% ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของยูโรโซนลดลง ๓.๔% ในเดือนมีนาคม “ในขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์มีส่วนมากที่สุดในการลดลง แต่การลดลงนั้นเป็นไปตามวงกว้าง และสอดคล้องกับการลดลงของคำสั่งซื้อใหม่ การสำรวจ PMI ภาคการผลิตเดือนเมษายนเผยให้เห็นว่าคำสั่งซื้อยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง”

สำหรับเศรษฐกิจเยอรมัน สถาบันจัดอันดับยังคงคาดการณ์การเติบโตประจำปีที่ ๐% ในปี ๒๕๖๖ และ ๑.๒% ในปี ๒๕๖๗ 

ในสหราชอาณาจักร กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับปานกลางเนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูง Moody’s กล่าวเสริมว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะหดตัว ๐.๑% ในปีนี้

รายงานระบุว่าในปี ๒๕๖๖ ผลกระทบของราคาที่สูงขึ้นและสภาวะทางการเงินที่เข้มงวดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง 

มูดีระบุว่า “ตามที่ได้เน้นย้ำไว้ข้างต้น เราคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ BoE หรือBank of England’s จะสูงสุดที่ ๔.๗๕% และสำหรับนโยบายการเงินจะยังคงเข้มงวดต่อไปในปีต่อๆ ไป ซึ่งจะส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุน”

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) แถลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ไม่คาดหมายว่าสหราชอาณาจักรจะดิ่งเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีนี้ โดยในตัวเลขประมาณการรอบใหม่ ไอเอ็มเอฟ คาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหราชอาณจักร จะแซงหน้าบรรดาสหายชาติร่ำรวยบางประเทศในนั้นรวมถึงเยอรมนี

ด้านนายกรัฐมนตรี ริชชี ซูแนค(Rishi Sunak) ได้เตือนว่าเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยในปีหน้า เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงอย่างดื้อรั้นทำให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงเกินกว่า ๕%

แม้ว่าไอเอ็มเอฟจะมองโลกในแง่ดีกับอังกฤษ และนายกรัฐมนตรีก็คิดว่าปีนี้ยังไม่เจอรีเซสชั่น แต่ความจริงตรงหน้าสถานการณ์ของสหภาพยุโรปเข้าขั้นร่อแร่ไม่มีเงินในระบบ

หนังสือพิมพ์ แฮนเดลส์บลัตต์(Handelsblatt) รายงานเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้เพิ่มแรงกดดันให้กับงบประมาณระยะยาวของสหภาพยุโรป ซึ่งถูกบีบคั้นจากวิกฤตการณ์ต่างๆ รวมถึงความขัดแย้งในยูเครน การอพยพย้ายถิ่น และการขาดแคลนพลังงาน บทความกล่าวว่าเงินสำรองงบประมาณ“แทบหมดสิ้น” ในขณะที่ความท้าทายเพิ่มขึ้นและความสามารถในการดำเนินการของบรัสเซลส์ลดน้อยลง

รายงานดังกล่าวมีขึ้นก่อนการทบทวนงบประมาณปี 2024 ของสหภาพยุโรป รวมถึงที่เรียกว่า Multiannual Financial Framework (MFF) สำหรับปี 2021-2027

ตามรายงาน ความเต็มใจของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของงบประมาณเดียวนั้นต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนสุทธิที่สำคัญที่สุดให้กับสหภาพ ทั้งหมดนี้อาจบั่นทอนความสามารถของสหภาพยุโรปในการจัดหาเงินทุนหรือตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน และทำให้โครงการเรือธงตกอยู่ในความเสี่ยงว่าจะไปต่อไม่ได้

เยอรมนีซึ่งเคยถือว่ามีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในยุโรปยังไม่รอดเดินหน้าเข้าสุ่รีเซสชั่นเรียบร้อย อังกฤษหรือจะรอดพ้นแม้จะเอารายได้จากอุตสาหกรรมทางทหารมาโปะ แต่การผลิตและการบริโภคไม่ขยับ วิกฤติแบงก์ล้มของสหรัฐฯกำลังใกล้เข้ามาจ่อจมูกของยุโรป ซึ่งเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด Handelsblatt สรุปโดยระบุว่าด้วยโครงสร้างงบประมาณปัจจุบันกลุ่มเศรษฐกิจยุโรปไม่สามารถรับมือกับความท้าทายได้ นั่นหมายรวมถึงอังกฤษด้วย เมื่อยังเดินหน้าแบกสงครามยูเครนต่อไปก็ต้องทุ่มทุนอีกไม่ใช่น้อย นี่คือปัจจัยสำคัญที่จะฉุดรั้งทั้งเมกาและอังกฤษให้เศรษฐกิจดิ่งเหว เงินเฟ้อพุ่งไม่หยุดแม้ขึ้นดอกเบี้ยอีกกี่รอบก็เอาไม่อยู่!!