สถานการณ์ร้อนล่าสุดในช่วงสุดสัปดาห์ ขณะที่มีการประชุมรมว.กลาโหมงานแชงกีล่าที่สิงคโปร์ เกิดเหตุการณ์ระอุเรือพิฆาตของจีนหวิดปะทะ เรือรบมะกันและแคนาดาอ้างลาดตระเวนช่องแคบไต้หวัน
เรือพิฆาตของจีนแล่นปาดหน้าเรือพิฆาตสหรัฐ USS Chung-Hoon และเรือของแคนาดาที่ทำการซ้อมรบ ลาดตระเวนในช่องแคบไต้หวัน และเตือนว่าจะมีการชนกันหากไม่เปลี่ยนเส้นทาง เรือรบจีนเฉี่ยวห่างแค่ ๑๕๐ หลาหรือ ๑๓๗ เมตรเรียกว่าเห็นหน้ากันเลย
สหรัฐโวยวายเรือรบจีน “คุกคาม” ระหว่างเผชิญหน้า กองทัพสหรัฐกล่าวว่า เรือรบของกองทัพจีนเป็นฝ่าย “คุกคาม” จากการแล่นตัดหน้าระหว่างเผชิญหน้ากันในช่องแคบไต้หวัน เรื่องนี้จีนก็ออกมาตอบโต้ทันที
รัฐมนตรีต่างประเทศของจีนได้ปกป้องกองทัพเรือจีน โดยกล่าวตำหนิการลาดตระเวนที่เรียกว่า ‘เสรีภาพในการเดินเรือ’ เป็นการกระทำที่ก้าวร้าวต่อปักกิ่ง ด้านรมว.กลาโหมจีนขณะประชุมอยู่ที่สิงคโปร์ ออกมาประณามการกระทำของเรือรบสหรัฐฯและแคนาดาว่า ปักกิ่งไม่สนใจสิ่งที่เขาเรียกว่า “ทางที่ไร้เดียงสา” แต่จะต้อง“ป้องกันความพยายามที่พยายามใช้เสรีภาพ ของการลาดตระเวนเส้นทางที่ไร้เดียงสาเพื่อใช้แสดงความเป็นเจ้าโลกในการเดินเรือ” รมว.กลาโหมจีนยืนยันว่าสหรัฐฯ และพันธมิตรมีส่วนรับผิดชอบต่อความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาค และแนะนำให้วอชิงตัน“ดูแลน่านฟ้าและน่านน้ำของตนเองให้ดี” ในประเทศจีน เราพูดเสมอว่า ‘สนใจเรื่องของตัวเอง’ แน่นอนสหรัฐฯออกมาแย้งว่าที่แล่นเรือนั่นถือเป็นเขตน่านน้ำสากล และจะทำต่อไป ฉะกันจะจะในที่ประชุมแชงกรีล่าเลยก็ว่าได้
วันที่ ๕ มิ.ย.๒๕๖๖ สำนักข่าวโกลบัลไทมส์และรัสเซียทูเดย์ รายงานว่าพลเอกหลี่ ซางฟู่ รัฐมนตรีกลาโหมของจีนกล่าวในงานซัมมิตกลาโหมแชงกรีล่า ที่สิงคโปร์ว่า “จีนและสหรัฐฯ มีระบบที่แตกต่างกัน และแตกต่างกันในหลายๆ ด้าน สิ่งนี้ไม่ควรขัดขวางทั้งสองฝ่ายจากการแสวงหาจุดร่วมและผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีและกระชับความร่วมมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น”
หลี่กล่าวระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสุดยอดด้านความมั่นคงแชงกรี-ลา ที่สิงคโปร์เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เขาย้ำว่า “ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความขัดแย้งหรือการเผชิญหน้าที่รุนแรงระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะเป็นหายนะที่ยากจะทนสำหรับโลก”
รัฐมนตรีกลาโหมจีนยังเตือนด้วยว่า“ความคิดแบบสงครามเย็นกำลังฟื้นคืนชีพในขณะนี้ เพิ่มความเสี่ยงด้านความปลอดภัยอย่างมาก” เขาไม่ได้กล่าวถึงวอชิงตันและพันธมิตรโดยตรง แต่กล่าวว่า“บางประเทศ”ได้ทวีความรุนแรงต่อการแข่งขันด้านอาวุธและแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นๆ ซึ่งทุกฝ่ายต่างรู้ว่าจีนเอ่ยถึงสหรัฐฯและพันธมิตรนั่นเอง
ผู้ที่พยายามสร้าง กลุ่มทางทหารที่ “คล้ายนาโต้”ในอินโดแปซิฟิกกำลังมองหา“เพื่อจับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเป็นตัวประกัน และก่อความขัดแย้งและการเผชิญหน้า” เขาหมายถึงสนธิสัญญา AUKUS ที่ตกลงกันระหว่างสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลียในปี ๒๕๖๔
หลี่ยังย้ำจุดยืนของปักกิ่งว่า“ไต้หวันคือไต้หวันของจีน และจะแก้ปัญหาไต้หวันอย่างไรนั้นเป็นเรื่องที่จีนต้องตัดสินใจ”
ประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ ให้คำมั่นหลายครั้งว่าวอชิงตันจะปกป้องไต้หวันทางทหาร หากปักกิ่งตัดสินใจใช้กำลังเข้าควบคุมเกาะแห่งนี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา สื่อได้รับบันทึกจากนายพลไมค์ มินิฮาน หัวหน้ากองบัญชาการเคลื่อนย้ายทางอากาศของสหรัฐฯ ซึ่งคาดการณ์ว่าวอชิงตันและปักกิ่งอาจทำสงครามกับไต้หวันภายในปี ๒๕๖๘
ผู้เชี่ยวชาญจีนกล่าว “แม้จะรู้ว่า Shangri-La Dialogue เป็นเวทีที่ครอบงำโดยประเทศตะวันตกเพื่อโจมตีจีน แต่จีนก็ยังมา การเข้าร่วมของ Li ที่ Shangri-La Dialogue บ่งบอกความเป็นตัวของตัวเอง แสดงให้เห็นว่า PLA ยินดีที่จะพูดคุยกับประเทศในภูมิภาค และร่วมกันติดตามเสถียรภาพของเอเชีย”
จ้าว เซียวฉู(Zhao Xiaozhuo) นักวิจัยด้านความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างประเทศของ PLA Academy of Military Science กล่าวว่า ในขณะที่ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงในเอเชียแปซิฟิกของสหรัฐฯ เน้นที่ “สงคราม” “การแบ่งแยก” และ “กลุ่มเล็กๆ” แต่นโยบายต่างประเทศของจีนเน้นที่ “สันติภาพ” “การพัฒนา ” และ “ครอบครัวใหญ่”
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยืนอยู่ตรงไหนในเกมมหาอำนาจระหว่างจีนและสหรัฐฯ? เป็นคำถามที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า และเป็นจุดโฟกัสหลักในระหว่างการสนทนาที่กำลังดำเนินอยู่ในซัมมิตครั้งนี้
จากมุมมองของผู้แทนจากอินโดนีเซีย เขากล่าวย้ำว่า ผู้คนต้องการให้จีนและสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น “เพราะถ้าคุณแข่งขันกัน เราจะเดือดร้อน” และเสริมว่า “เราอยากให้จีนเจริญรุ่งเรืองต่อไป เพราะจีนที่รุ่งเรืองก็จะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคด้วย”
แอนนา มาลินด็อกอุย(Anna Malindog-Uy) นักวิจัยอาวุโสของ Global Governance Institution และรองประธานฝ่ายกิจการภายนอกของ Asian Century Philippines Strategic Studies Institute กล่าวว่า “ฉันคิดว่า Global Security Initiative ของจีนได้สัมผัสกับหัวใจของประเทศในเอเชียแปซิฟิกอย่างแม่นยำ เนื่องจากเป็นวิถีเอเชียในการแก้ไขความขัดแย้งทางผลประโยชน์และความแตกต่างระหว่างประเทศ โดยเปลี่ยนจากวิธีโทรโข่งเผชิญหน้าโดยตรงแบบตะวันตกในการแก้ไขหรือระงับข้อพิพาท ไปสู่วิธีระงับข้อพิพาทแบบตะวันออกหรือเอเชีย ซึ่งทำให้ ให้ความสำคัญกับการรักษาความสามัคคีโดยเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด ความไม่ลงรอยกันจะถูกรักษาไว้ในระดับต่ำและน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และการแลกเปลี่ยนระหว่างฝ่ายต่าง ๆ เป็นไปอย่างจริงใจ และน่ายินดีซึ่งเต็มไปด้วยลัทธิปฏิบัตินิยมและความอดทน ความคิดสร้างสรรค์ และความปรารถนาดี”