จากที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงการเข้ามาขององค์กรเอ็นจีโอ รวมทั้งบางองค์กรของสหรัฐที่ชวนตั้งข้อสงสัยถึงการดำเนินการในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีความวิตกกังวลถึงยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกด้วยนั้น
ทั้งนี้มีการเผยแพร่ข้อมูลจากเพจ Thailand Vision ที่โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2566 โดยอ้างอิงมาจากเว็บไซต์สำนักข่าวชายขอบ ที่ได้เผยแพร่ข้อมูลไว้ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2566 https://transbordernews.in.th/home/?p=33924
สำหรับโพสต์ที่เพจ Thailand Vision นำมาเปิดเผยไว้ มีบางส่วนที่สำคัญระบุว่า “ระหว่างวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2466 ดร.แองเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ดร.สตีฟ โอลีฟ ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ภาคพื้นเอเชีย (USAID/RDMA)
ร่วมกับ น.ส.ภัทราวดี สุทธิธนกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายวิรุฬ สิทธิวงศ์ นายอำเภอเชียงของ นายวิสตัน โชว มูลนิธิเอาเชีย นายวีรวิทย์ เธียรชัยนันท์ องค์การกองทุนสัตว์โลกสากล
ร่วมเปิดงานโครงการ “#ชุมชนเข้มแข็งแห่งลุ่มน้ำโขง” (Mekong Community Emppowerment for Northern Thailand) โดยทำพิธีเปิดโครงการ ณ โรงแรมทีคการ์เด้น และร่วมกิจกรรมชุมชนและพันธมิตรท้องถิ่นและชุมชน ณ บริเวณลานกิจกรรมชุมชนบ้านปากอิงใต้ ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ.เชียงราย โดยมีพันธมิตรและตัวแทนชุมชนท้องถิ่นเข้าร่วมกว่า 100 คน
ดร.สตีเว่น จี. โอลีฟ กล่าวเปิดงานว่า ในนามของ USAID และรัฐบาลสหรัฐฯ มีวิสัยทัศน์เพื่อสร้างภูมิภาคอินโดแปซิฟิกที่เสรี และเปิดกว้าง สนับสนุนความเจริญรุ่งเรือทางเศรษฐกิจ สันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค โดยการทำงานร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นและองค์กรสนับสนุนชุมชน
โดยได้ร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ของรัฐบาลสหรัฐ และพันธมิตรจากประเทศออสเตรเลีย ประกอบด้วย โครงการแม่โขงเซฟการ์ด (USAID and Australid Mekong Safeguards Program) โครงการแม่โขง ฟอร์ เดอะฟิวเจอร์ (USAID Mekong for the Future) และโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SERVIR-Southeast Asia) โครงการแม่โขงคอนเน็คชัน (Mekong Connection) และโครงการหุ้นส่วนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน (Sustainable Infrastructure Partnership)
ผู้อำนวยการองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ภาคพื้นเอเชีย (USAID/RDMA) กล่าวว่า เพื่อให้เกิดเป็นผลในรูปธรรมในระดับท้องถิ่น ได้ดำเนินโครงการผ่าน “ชุมชนเข้มแข็งแห่งลุ่มแม่น้ำโขง” เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรภาคประชาสังคม หน่วยงานภาครัฐท้องถิ่น และประชาชน
อย่างไรก็ตามในช่วงท้ายเว็บไซต์สำนักข่าวชายขอบได้ระบุไว้ด้วยว่า อนึ่ง พื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงกำลังเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ ที่สหรัฐฯและออสเตรเลีย พยายามสกัดกั้นอิทธิพลของจีนซึ่งได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ มากมาย ทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ การสร้างเขื่อนและเส้นทางคมนาคม โดยสหรัฐฯได้ทุ่มงบประมาณก้อนใหญ่ผ่านกลุ่มองค์กรต่างๆ รวมทั้งสื่อมวลชน ขณะที่จีนสนับสนุนทุนผ่านสถาบันการศึกษา
(อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่ https://transbordernews.in.th/home/?p=33924)
นอกจากนี้ภายหลังจากที่ข้อความดังกล่าวเผยแพร่ออกมาทางเพจ Thailand Vision ก็ปรากฏว่ามีคนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ตั้งข้อสังเกต และชวนกันตั้งคำถามจากข้อสงสัย เช่น
“นี่คือการแทรกซึมผ่านนโยบายต่างประเทศของอเมริกาและพันธมิตรตะวันตก”
“เพิ่งรู้ว่าแม่น้ำโขง ไหลผ่านออสเตรเลียด้วย”
“อย่าเผลอไปเป็นเครื่องมือให้เขาใช้เล่นงานจีนเอาซะละ เรามีอีกวงนึงแล้วสำหรับเรื่องแม่น้ำโขง”
“ย่อหน้าสุดท้ายของข่าว คือ คำตอบ”
“ไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศ ที่เป็นเป้าหมายยุทธศาสตร์ อินโดแปซิฟิก …ได้แก่ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ โดยไทยเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีปัญหากับจีน ถ้าได้ไทยเป็นฐานทัพ สหรัฐและพวก สามารถ บินไปถล่มจีนได้วันละหลายรอบ เพราะอยู่ใกล้จีน +ตั้งขีปณาวุธ +สอดแนมจีน”
ขอบคุณภาพ:สำนักข่าวชายขอบ