จากที่มีรายงานถึงชาติต่างๆทยอยเข้าสมัครกับกลุ่มบริกส์ ทำให้หลายประเทศถูกจับตามองจากสหรัฐอเมริกา รวมทั้งประเทศไทยที่ต้องการเข้าร่วมกลุ่มดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ยังมีความเคลื่อนไหวหนึ่งที่น่าสนใจเมื่อ Blockdit World Update ได้โพสต์ข้อความเผยแพร่ไว้ วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 โดยระบุเนื้อหาว่า
“เซมิคอนดักเตอร์ คือสารกึ่งตัวนำ ทำจากแร่ซิลิคอนซึ่งมีคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้ต่างจากฉนวน เป็นรากฐานจุดตั้งต้นสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งปวง
บางทีเรียกว่าชิปคอมพิวเตอร์ สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน เครื่องใช้ไฟฟ้า ฮาร์ดแวร์เล่นเกม อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องบินรบ อาวุธยุทโธปกรณ์สงคราม ฯลฯ
ที่ผ่านมามลฑณ+ไต้หวัน ประเทศจีน เป็นผู้นำโลกครองส่วนแบ่งการตลาดในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ส่วนใหญ่มาจากบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Co.(TSM) ที่มีโรงงานผลิตในไต้หวัน และจีน เพราะจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบแร่ซิลิคอนจากจีน
บริษัท TSM ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ได้ประมาณ 50% ของโลก ที่เหลือผลิตจากบริษัทต่างๆ ของจีน 15% ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ โดยสหรัฐ ผลิตได้น้อยราว 10% ของโลกเท่านั้น เพราะขาดแคลนวัตถุดิบ และเทคโนโลยี
ปี 2565 ที่ผ่านมานาง Gina Raimondo รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯยอมรับว่าปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ในสหรัฐ เป็นปัญหาความมั่นคงของชาติ เพราะแท้จริงแล้วสหรัฐ อ่อนแอการผลิตด้านนี้อย่างมาก ต้องพึ่งพาการนำเข้าเซมิคอนดักเตอร์จากต่างประเทศแทบทั่งหมด สอดคล้องกับนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ ก็ยอมรับว่า “แหล่งเดียวในโลกที่เป็นแหล่งผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ทันสมัยที่สุดคือไต้หวัน”
สหรัฐ จึงมองว่าถ้ามลฑณไต้หวันรวมชาติกับจีนแล้ว จะเป็นความเสี่ยงด้านความยืดหยุ่นและความเสี่ยงด้านความมั่นคงของสหรัฐด้วย ที่จะต้องกลายเป็นพึ่งพาจีนเป็นอย่างสูงเกินไป เพราะสหรัฐ จำเป็นต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากจีนอื่นๆ ด้วย เช่น แร่ลิเธียม และกระบวนการแปรรูปแร่ธาตุบางอย่างที่ใช้เป็นแบตเตอรี่ไฟฟ้า ทำให้สหรัฐ พยายามทำสงครามที่ใต้หวัน และทะเลจีนใต้ เพื่อขัดขวางการรวมชาติของจีนกับไต้หวัน
แต่ในวิกฤติ ย่อมมีโอกาสเสมอ ได้จุดประกายอุตสาหกรรมผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ซัพพลายเออร์รายใหม่ขึ้นโดยนักลงทุนบริษัทจีน มาตั้งโรงงานผลิตในไทย และกัมพูชา โดยการสนับสนุนส่งเสริมจากรัฐบาล 2 ชาตินี้อย่างแข็งแกร่ง
เมษายน 2566 ที่ผ่านมา มีรายงานว่า สหรัฐ ได้ลดการนำเข้าเซมิคอนดักเตอร์จากไต้หวัน แล้วหันมานำเข้าจาก ไทย เวียดนาม อินเดีย และกัมพูชา ทดแทนเพื่อกระจายความเสี่ยง
โดย อินเดีย ส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 34 เท่า มูลค่า 152 ล้านดอลลาร์ , กัมพูชา เพิ่มขึ้น 698% มูลค่า 166 ล้านดอลลาร์ , เวียดนาม เพิ่มขึ้น 75% และไทยเพิ่มขึ้น 62% ตามลำดับ
นอกจากนี้สหรัฐ ยังนำเข้าชิปคอมพิวเตอร์จาก มาเลเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ อีกบางส่วน ส่งผลให้สหรัฐ จำเป็นต้องนำเข้าเซมิคอนดักเตอร์จากทวีป เอเชียคิดเป็นสัดส่วนกว่า 80% ของการนำเข้าทั้งหมด ที่เหลืออีก 20% สหรัฐ นำเข้าจาก เม็กซิโก แคนาดา เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์
วิเคราะห์ว่าไทย และกัมพูชา มีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลจีน ดังนั้นการนำเข้าวัตถุดิบ เทคโนโลยี เครื่องจักร จากจีนมาผลิตเซมิคอนดักเตอร์จึงฉลุย
ที่ผ่านมาไทยมีนโยบายเป็นกลางระหว่างประเทศ (ไผ่ลู่ลม) รักทุกคน จึงนำเข้าวัตถุดิบ เทคโนโลยี จากจีนมาผลิตในไทย แล้วส่งออกขายให้สหรัฐ และชาติต่างๆ กินส่วนต่างกำไรมหาศาลได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง
ชาติใดที่ละทิ้งนโยบายเป็นกลาง หันไปโปรสหรัฐ แล้วกีดกันต่อต้านจีน จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแห่งอนาคตผลิตชิปคอมพิวเตอร์อย่างรุนแรงแน่นอน”