ผู้นำเซอร์เบียเตือนถึง ‘การปฏิวัติสี’ ที่ประเทศกำลังเผชิญ หลังการประท้วงต่อต้านรัฐบาลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเซอร์เบียไม่ยอมอ่อนข้อให้กับวอชิงตันในข้อเรียกร้องที่ละเมิดอธิปไตยของประเทศ เขายืนยันว่าจะไม่ให้ใครมามีอิทธิพลเหนือนโยบายระดับชาติ ประธานาธิบดีวูซิซ ให้คำมั่นหลายครั้งว่าเซอร์เบียจะไม่เข้าร่วม NATO ตราบใดที่เขายังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี แม้ว่าจะมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นจากเมกาและพันธมิตรก็ตาม
วันที่ ๒๑ พ.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์รายงานว่า ประธานาธิบดีแห่งเซอร์เบีย อเล็กซานดาร์ วูซิช (Aleksander Vucic)เปิดเผยว่า การเชื่อมโยงข่าวกรองของเขาทำให้พบว่านักปฏิวัติที่ได้รับทุนจากต่างประเทศแฝงตัวอยู่ท่ามกลางผู้ประท้วงรัฐบาล
การปรากฏตัวของนักปฏิวัติที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติในการชุมนุมต่อต้านความรุนแรงในกรุงเบลเกรด เขาประกาศว่าฝ่ายตะวันตกกำลัง”ก่อปัญหา”ให้กับเซอร์เบียนับตั้งแต่เบลเกรดปฏิเสธวอชิงตันที่จะ “ส่งโคโซโวให้พวกเขา”
ผู้ประท้วงหลายพันคนและกลุ่มนักการเมืองฝ่ายค้านกลุ่มหนึ่ง เดินขบวนในกรุงเบลเกรดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เรียกร้องให้รัฐมนตรีมหาดไทยบราติสลาฟ กาซิช และอเล็กซานดาร์ วูลิน หัวหน้าหน่วยข่าวกรองลาออก การเดินขบวนต่อเนื่องจัดขึ้นในเมืองหลวงของเซอร์เบีย เนื่องจากประชาชน ๑๗ คน รวมถึงเด็ก ๘ คน ถูกสังหารในการยิงปะทะกัน ๒ ครั้งเมื่อต้นเดือนนี้
จากข้อมูลของ RT Balkan ผู้ประท้วงบางคนเรียกร้องให้ Vucic ลงจากตำแหน่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
“วันนี้ฉันได้รับข้อมูลจากหน่วยงานข่าวกรองของเราจากตะวันออกที่บอกเราว่า ‘นี่เป็นความพยายามในการปฏิวัติสี’” Vucic กล่าวในที่ชุมนุม “ฉันบอกพวกเขาว่าฉันไม่รู้ว่าพวกเขากำลังพยายามทำอะไร ฉันรู้แค่ว่านี่เป็นความพยายามที่น่ารังเกียจที่จะประจานการเสียชีวิตอันน่าสลดใจของเด็กบางคนใช้เป็นเครื่องมือ”
วูซิชไม่ได้ระบุว่าเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของประเทศใดที่หลอกเขาเกี่ยวกับแผนต่อต้านรัฐบาลของเขา
เขาประกาศลั่น“เซอร์เบียเอือมระอากับการปฏิวัติของคุณ” “เซอร์เบียเอือมระอากับการเข้ามาของผู้ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของต่างชาติและการทำลายล้างทุกสิ่งที่เป็นเซอร์เบีย”
“ผมจะไม่ข่มขู่พวกเขาแต่อย่างใด”เขากล่าวอ้างถึงผู้ประท้วงชาวเซอร์เบียที่เขามองว่าทำงานขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศ “แต่เราจะไม่อนุญาตให้พวกเขานำนโยบายที่ขัดต่อผลประโยชน์ของชาติอย่างผิดกฎหมายมาบังคับให้ทุกคนทำตาม”
คำว่า ‘การปฏิวัติสี’ อธิบายถึงขบวนการประท้วงที่ได้รับทุนสนับสนุนและจัดตั้งโดยรัฐบาลตะวันตก ซึ่งมักจะเป็นสหรัฐอเมริกา การปฏิวัติเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การโค่นล้มผู้นำที่ต่อต้านผลประโยชน์ของสหรัฐฯ โดยทั่วไปแล้วการปฏิวัติเหล่านี้จะได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยข่าวกรองอเมริกันและจัดตั้งโดยกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ แม้ว่าคำนี้จะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางหลังจากการปฏิวัติกุหลาบในปี ๒๕๔๖ ในจอร์เจีย
การใช้กลยุทธ์การปฏิวัติสีที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกเกิดขึ้นในยูโกสลาเวียในปี ๒๕๔๓ เมื่อขบวนการนักศึกษาที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ บังคับให้ สโลโบดัน มิโลเซวิค(Slobodan Milosevic) ลาออก
มิโลเซวิคต่อสู้กับความพยายามแยกตัวอย่างรุนแรงโดยกลุ่มผู้ก่อการร้ายชาวแอลเบเนียในโคโซโวเมื่อปีก่อน โดยยอมอ่อนข้อให้กับการยึดครองจังหวัดของนาโต้ และหลังจากที่กลุ่มที่นำโดยสหรัฐฯ ยึดครองเมืองต่างๆ ของเซอร์เบียด้วยการทิ้งระเบิดเป็นเวลาติดต่อกันถึงสามเดือน
เซอร์เบียยังคงปฏิเสธที่จะยอมรับข้อเรียกร้องของตะวันตกให้ยอมรับเอกราชของโคโซโว Vucic กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า เรื่องนี้ทำให้ประเทศของเขาตกเป็นเป้าของการแทรกแซงจากต่างชาติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา “พวกเขาคาดหวังให้เรามอบสาธารณรัฐโคโซโวให้กับพวกเขาบนจานและพูดว่า ‘เราคืนดีกันแล้ว คุณมีสิทธิ์ที่จะทิ้งระเบิดเรา’เมื่อไหร่ก็ได้” วูซิชประกาศว่าเขาจะ“ไม่มีวันยอมจำนน”และ“ไม่ยอมให้พวกเขาแบ่งแยกโคโซโวให้เป็นรัฐอิสระเพื่อภูมิรัฐศาสตร์ของวอชิงตัน”
เขาตอกย้ำว่า “ผมจะไม่ปล่อยให้พวกเขาแยกโคโซโวเป็นเอกราช พวกเขาจะไม่ดำเนินนโยบายต่างประเทศของเซอร์เบียและตัดสินใจแทนผมว่าเราจะกำหนดมาตรการคว่ำบาตรใครหรือไม่ คนเซอร์เบียจะเป็นผู้ตัดสินใจ พวกเขาไม่มีสิทธิตัดสินใจแทนเราว่าจะเข้าร่วม NATO หรือไม่ ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจและได้ตัดสินใจแล้วว่า เราเป็นประเทศที่เป็นกลางทางทหาร และจะปกป้องประเทศของเราด้วยตัวของเราเอง”
ไอวิซา ดาซิซ(Ivica Dacic) รองนายกรัฐมนตรีคนแรกของเซอร์เบียและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวก่อนหน้านี้ว่าเซอร์เบียจะไม่กำหนดบทลงโทษต่อรัสเซียเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง ความเป็นมนุษย์ และศีลธรรม
ตั้งแต่ฮังการีและเซอร์เบียเลือกตั้งได้ผู้นำที่เป็นตัวของตัวเองไม่โปรอเมริกา ก็ถูกจับตาจากวอชิงตันมาโดยตลอด เมื่อเมกาและพวกประกาศคว่ำบาตรโหดครั้งใหญ่รัสเซีย ทั้งสองประเทศไม่ตอบรับแม้จะถูกขู่งดการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจซ้ำซากหลายครั้ง ล่าสุดก่อนการประท้วงใหญ่ เกิดเหตุกราดยิง ๒ ครั้งในสัปดาห์เดียวอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มีทั้งปัญหาอาชญากรรมความรุนแรงด้วยปืนผสมความขัดแย้งการเมืองแบ่งพรรคแบ่งพวก โมเดลปฏิวัติสีจึงโหมไฟขัดแย้งซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจที่หมักหมมมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลชุดก่อน ในขณะที่ชายแดนปัญหาโคโซโวที่โปรอเมริกาได้รับการเชิดชูจากสหรัฐฯเห็นด้วยกับการแบ่งแยกดินแดนก็กลุ่มนี้และบีบให้เซอร์เบียยอมรับ ความสองมาตรฐานที่ชัดเจน ในกรณียูเครน วอชิงตันแสดงบทพิทักษ์เคียฟให้ทำลายล้างคนรัฐเซียในภูมิภาคที่ขอเข้าร่วมรัสเซีย และอ้างทำสงครามยึดพื้นที่คืน แต่สำหรับเซอร์เบียทำตรงข้ามเลย เหตุเพราะเซอเบียร์แข็งข้อวอชิงตันนั่นเอง!!