เปิดกะโหลก “หนุ่ม KALA” แกว่งปากปม ส.ว. ถูกชาวเน็ตรุมฟาดสนั่น ไม่ได้อ่านรธน.-กางผลคะแนนเสียงทำประชามติฟาด
จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (16 พฤษภาคม 2566) นายณพสิน แสงสุวรรณ หรือ หนุ่ม กะลา คนบันเทิงอีกรายที่ขอออกมาแสดงความคิดเห็นกรณีผลการเลือกตั้ง 2566 ซึ่งทาง พรรคก้าวไกล มีจำนวน ส.ส. ซึ่งมาจากการเลือกตั้งเป็นจำนวนมากที่สุด พร้อมฟอร์มทีมกับพรรคเพื่อไทย และอีกหลายพรรค เพื่อจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก แต่ก็ยังมีความกังวลว่า ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะได้เป็นนายกฯ หรือไม่ เพราะการโหวตเลือกนายกฯ นั้น ยังต้องมีเสียงจาก ส.ว. อีก 250 เสียง มาร่วมโหวตด้วย
โดย หนุ่ม กะลา โพสต์ตั้งคำถามเกี่ยวกับ ส.ว. ผ่านทางเฟซบุ๊ก ระบุว่า “ส.ว. เราไม่ได้เป็นคนเลือกมา แต่ทำไมถึงมาทำหน้าที่ตัดสินชะตาชีวิตเรา”
ซึ่งต่อมาก็ได้มีชาวเน็ตเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก โดยทางด้านของ อารยาอิสรีย์ เอกอุชุกร หรือ เดย์ ฟรีแมน ได้โพสต์ข้อความโดยบอกว่า คิดเหมือนกันเลยค่ะพี่หนุ่ม ผู้พิพากษา เราก็ไม่ได้เลือกมาแต่เค้าก็มาตัดสินคดีเราเหมือนกัน หรือว่ามันเป็นหน้าที่ของเค้าคะ
ในขณะที่ทางด้านของนายธราวุฒิ ฤทธิอักษร ผู้ประกาศข่าวช่อง TOP NEWS ได้โพสต์บอกว่า ครูก็ไม่ได้เลือกมา อยู่ดีดีก็มาสอนเรา หมอก็ไม่ได้เลือกว่าคนไหน อยู่ดีดีก็มารักษาเรา ปล. เอ๊ะ !! หรือว่ามันเป็นหน้าที่ของเค้าครับ #ส้มไม่ดิ้นนะลูก #หอมกลิ่นความเจริญ มั้ยย ละ เมิงงง
ซึ่งต่อมาก็ได้มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็น บอกว่า พี่ไม่เคยอ่าน รธน.สินะ //ไปลงประชามติไหม// คือถ้ารู้เรื่อง รธน.สักนิด แล้วตอบว่า ตอนนั้นไม่เห็นด้วย เลยกาไม่รับ จะไม่เคืองเลยนะ //แต่มาตื่นตัวกันตอนนี้ แล้วด่าแบบไม่รู้เรื่อง และเป็นคนดัง คุณมีส่วนในทิศทางสังคมด้วย
อย่างไรก็ตาม ในการออกเสียงประชามติเพื่อรับรองรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ได้มีการถามคำถามพ่วงให้ประชาชนทั่วประเทศตัดสินใจ ว่าจะให้ ส.ว. มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยหรือไม่ ผลการโหวตปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่ 15.13 ล้านเสียง (58.07%) เห็นด้วยที่จะให้ ส.ว. มาร่วมเลือกนายกฯ ด้วย ในขณะที่เสียงส่วนน้อยที่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าวนี้มีทั้งสิ้น 10.9 ล้านเสียง (41.93%)
การออกเสียงประชามติเพื่อรับรองรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 โดยมีประชาชนคนไทยทั่วประเทศมาใช้สิทธิ์ทั้งสิ้น 29,740,677 คน คิดเป็น 59.4% ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 50.07 ล้านเสียง โดยในการออกเสียงประชามติครั้งนี้ มีคำถามที่ประชาชนผู้มีสิทธิต้องตอบทั้งสิ้น 2 ข้อ ได้แก่
1. การรับรองร่างรัฐธรรมนูญ ว่าจะ “ให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช … ทั้งฉบับ”
2. การให้ความเห็นชอบคำถามพ่วง ว่าจะให้ ส.ว. มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยหรือไม่
ผลการลงคะแนนเสียงในประเด็นคำถามพ่วงนี้ปรากฏว่า ผู้มาใช้สิทธิส่วนใหญ่ 15,132,050 คน (58.07%) เห็นด้วยกับการให้ ส.ว. มาร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย ในขณะที่เสียงส่วนน้อย 10,926,648 คน (41.93%) ไม่เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าวนี้ แต่เมื่อเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบกับประเด็นดังกล่าว รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 จึงได้บัญญัติบทเฉพาะกาลไว้ในมาตรา 272 ให้การเลือกนายกรัฐมนตรีต้องกระทำโดยมติของสภาร่วม (ส.ส. + ส.ว.) หรือก็คือให้ ส.ว. มาร่วมเลือกนายกฯ ด้วยนั่นเอง