จีนซัดเจ็บ!! ดอลลาร์ใกล้ตายแล้ว ยุโรปเน่าก่อน อังกฤษเดี้ยงยังไม่เจียม ลุยยูเครนแส่ไปเขย่าจีนตามก้นวอชิงตัน

0

สงครามเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มอำนาจขั้วเดี่ยวที่มีสหรัฐฯเป็นหัวโจก กับกลุ่มอำนาจหลายขั้วที่มีรัสเซีย-จีนเป็นแกนสำคัย กำลังขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด ไม่ใช่แค่สงครามการค้าแบบธรรมดา แต่เป็นการบดขยี้อำนาจครอบงำของดอลลาร์สหรัฐฯที่ใช้เป็นเครื่องมือกดข่มประเทศมายาวนาน

ล่าสุดจีนไม่พูดเยอะ ส่งภาพลงสื่อโกลบัลไทมส์บอกสัญญาณดอลลาร์กำลังตายท่ามกลาง วิกฤตการธนาคารของสหรัฐฯ รุนแรงลึกซึ้งขึ้น สั่นคลอนเครดิตและความไว้วางใจจากทั่วโลก แม้ช่วงเวลานี้ สหรัฐฯจะได้รับผลกระทบดูเหมือนรุนแรงน้อยกว่าในยุโรปก็ตาม

วันที่ ๑๒ พ.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวสปุ๊ตนิกและโกลบัลไทม์สรายงานว่าข้อมูลเงินเฟ้อล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุในเดือนเมษายน ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ๔.๙% ลดลงเล็กน้อยจาก ๕% ในเดือนมีนาคม อัตราเงินเฟ้อประจำปีในเขตยูโรอยู่ที่ ๗% ในขณะที่สหราชอาณาจักรยังคงสูงกว่า ๑๐% แนวโน้มที่น่าลำบากยังคงอยู่แม้จะมีการแทรกแซงของธนาคารกลางก็ตาม อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป? 

ผู้สังเกตการณ์เศรษฐกิจอเมริกันได้ให้ความสนใจกับข้อเท็จจริงที่ว่า CPI หลัก ซึ่งไม่รวมราคาพลังงานและอาหาร เพิ่มขึ้นในอัตราที่เร็วกว่ารายเดือน ๐.๔% ในเดือนเมษายน เมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้น ๐.๑% ในเดือนมีนาคม พวกเขายอมรับว่าแม้อัตราเงินเฟ้อจะผ่อนคลายลงบ้าง หลังจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ อย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคง “สูงอย่างดื้อรั้น”

นิโคไล โซลาบูโต ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดการเงิน(Nikolai Solabuto, financial market expert)กล่าวว่า “ราคาสินค้าและบริการในสหรัฐฯ กำลังก้าวกระโดดครั้งใหญ่” “หากคุณไม่ใส่ใจกับข้อมูลอย่างเป็นทางการของสหรัฐฯ เกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ แต่ลองดูที่ป้ายราคาบนชั้นวางสินค้า คุณจะเห็นว่าราคาสินค้าและบริการบางอย่างได้เพิ่มขึ้นค่อนข้างรุนแรงถึง ๓๐-๔๐% ใน สหรัฐอเมริกา และสิ่งนี้ไม่เป็นที่พอใจของประชาชนในประเทศ เพราะพวกเขาเห็นป้ายราคาเหล่านั้นในร้านค้าทุกวัน”

เมื่อต้นเดือนนี้ธนาคารกลางสหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น ๕.๒๕%เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ก่อนหน้านี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงของเฟดซึ่งเริ่มต้นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้รับการตำหนิเป็นพิเศษว่าเป็นการล่มสลายของธนาคารระดับภูมิภาคหลัก ๓แห่งในสหรัฐฯ ได้แก่ ธนาคารในซิลิคอนแวลลีย์ ธนาคารซิกเนเจอร์ และธนาคารเฟิร์สรีพับลิค

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินกล่าวว่า มันยังไม่ใช่จุดจบ พร้อมเตือนว่าวิกฤตการธนาคารที่กำลังเกิดขึ้นอาจกลืนกินธนาคารอื่นๆ ของอเมริการาว ๒๐๐ แห่ง ความกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่ในอากาศและผู้สังเกตการณ์บางคนคาดว่าพาวเวลล์อาจโดนเบรกในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางเดือนมิถุนายน ปัญหาคือเงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้าหมาย ๒% ที่ต้องการอยู่

ในขณะเดียวกัน สถานการณ์ในยุโรปดูเหมือนจะเลวร้ายยิ่งกว่าในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากผู้ซื้อในสหราชอาณาจักรลดการใช้จ่ายลง และประชากรในสหภาพยุโรปแสดงท่าทีมองโลกในแง่ร้ายเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อ ธนาคารกลางยุโรปกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่าการสำรวจรายเดือนแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวยุโรปเชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อและแรงกดดันด้านราคาจะคงอยู่ต่อไปอีกหลายปี

เมื่อพูดถึงยุโรป มันทำให้ปัญหาของตัวเองรุนแรงขึ้นด้วยการใช้มาตรการต่อต้านรัสเซียและเพิ่มการสนับสนุนระบอบการปกครองของเคียฟ ผู้เชี่ยวชาญกล่าว มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างปัญหาทางเศรษฐกิจของตะวันตกกับการสนับสนุนยูเครน

โฟกัสที่อังกฤษ  ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับสิ่งจำเป็นพื้นฐานทำให้มาตรฐานการครองชีพในประเทศตกต่ำลง

British Retail Consortium (BRC) สมาคมผู้ค้าปลีกแห่งอังกฤษ ซึ่งเป็นตัวแทนของซูเปอร์มาร์เก็ตใน UK รายงานเมื่อวันที่ ๙ พ.ค.ที่ผ่านมา แสดงว่า ราคาอาหารสด ในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้น ๑๗.๘% ต่อปี ราคาสินค้ากระป๋อง และสินค้าในตู้เก็บของอื่นๆ เพิ้มขึ้น ๑๒.๙%

UK  ต้องแจกจ่ายอาหารฉุกเฉิน  เกือบ ๓ ล้านชุด  ที่ธนาคารอาหารของสหราชอาณาจักรในปีที่ผ่านมาจากข้อมูลขององค์กรการกุศล Trussell Trust

“วิกฤตค่าครองชีพ” บีบให้ผู้คนต้องทำงานเกินอายุ ๗๐ ​​ปี ผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น ในสหราชอาณาจักร ถูกบังคับให้เลื่อนการเกษียณอายุ และทำงานต่อไป ผู้สูงอายุต้องทำงาน เพิ่มขึ้น ๖๑% ในปี ๒๕๖๕เมื่อเทียบกับทศวรรษที่ผ่านมา

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินกล่าวย้ำว่า “ในที่สุดสหรัฐฯและพันธมิตรต่างพบว่าตัวเองอยู่ในวงจรอุบาทว์ที่เกิดจากกลยุทธ์ทางการเงินและภูมิรัฐศาสตร์ของพวกเขาเอง และผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือชาวอเมริกันและชาวยุโรปทั่วไปนั่นเอง

Chart showing the US debt ceiling since 2006. – AFP / AFP

สำหรับอังกฤษนอกจากออกหน้ากล้าตาย ประกาศจะส่งขีปนาวุธชั้นสูงให้ยูเครนก่อนสหรัฐแล้ว ยังมีรายการส่งวีไอพีมาเยือนไต้หวันเย้ยจีนอีกด้วย

โกลบัลไทม์สออกบทความโจมตีลิซ ทรัสเกี่ยวกับแผนการเดินทางไปไต้หวันในสัปดาห์หน้า โดยเรียกอดีตนายกรัฐมนตรีคนนี้ว่าเป็น “บุคคลสำคัญทางการเมืองที่พยายามล้างมลทินตัวเองและแสนจะจืดชืด” ต้องการส่งเสริมภาพลักษณ์ของเธอในหมู่กลุ่มหัวรุนแรงของพรรคอนุรักษ์นิยมอังกฤษ

ปัจจุบัน รัฐบาลอังกฤษดูเหมือนจะมีแนวทางที่ขัดแย้งกัน รัฐมนตรีต่างประเทศเจมส์ เคลฟเวอร์ลี เรียกร้องให้มีความสัมพันธ์ที่ “แข็งแกร่งและสร้างสรรค์” กับจีน เพิ่มขึ้น แต่ก็วิจารณ์นโยบายภายในประเทศของจีนด้วย มีสัญญาณว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันกำลังพยายามผ่อนคลายความตึงเครียดในความสัมพันธ์กับจีน แต่อดีตนายกรัฐมนตรีกำลังวางแผนที่จะเยือนไต้หวัน ความจริงแล้วท่าทีตีสองหน้าก็เป็นึความถนัดของแองโกลแซกซอนมาโดยตลอด ทางเศรษฐกิจอยากได้ผลประโยชน์จากจีน แต่ทางการทหารอย่างไรก็ยังคงเป็นพรมเช็ดเท้าของอเมริกาอยู่นั่นเอง!!??