เพิ่มปริมาณเงิน -บาทอ่อน-เศรฐกิจฟู มองระบบเศรษฐกิจอย่างวิศวกร
ดร.วีรพจน์ ลือประสิทธิ์สกุล นวัตกรสังคม
ค่าของเงินบาทขึ้นอยู่กับอะไร
ค่าของเงินบาทขึ้นอยู่กับ อัตราส่วน ปริมาณเงินหมุนเวียนต่อทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ถ้าอัตราส่วนนี้สูง-เงินบาทก็อ่อนค่า ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ-เงินบาทก็แข็งค่า
ปริมาณบาทหมุนเวียน ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ดูแล เพื่อรักษามูลค่าในการแลกเปลี่ยนกับสิ่งของ (เงินเฟ้อเป้าหมายไม่เกิน3.0% ต่อปี) โดยใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมปริมาณหนุนเวียนของเงินบาท
ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ เป็นการสะสมของการได้ดุลการค้า ในระยะยาวและอาจเพิ่มลดได้จากเงินตราต่างประเทศไหลเข้า-ออก ในช่วงเวลาสั้นๆ
กราฟรูปบน แสดงการเปลี่ยนแปลงของ อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/USD) -กราฟสีฟ้าและค่าในแกนตั้งด้านซ้าย กับอัตราส่วนของปริมาณบาทหมุนเวียนต่อเงินสำรองต่างประเทศ (บาท/USD) -กราฟสีแดงและค่าในแกนตั้งด้านขวา โดยมีแกนนอนแสดงเวลาเป็นรายเดือนนับถอยหลังจากเดือนกันยายน 2562 (ซ้ายสุด) ไปในอดีตถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 (ขาวสุด)
กราฟล่างแสดงสหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน (บาท/USD)-แกนตั้ง กับอัตราส่วนบาทหมุนเวียนต่อเงินสำรอง (บาท/USD)-แกนนอน ซึ่งแสดงให้เห็นด้วย กราฟเส้นสีแดง (ตัวแทนค่าเฉลี่ย) ว่าอัตราแลกเปลี่ยน แปรผันตาม อัตราส่วนบาทต่อ USD
เช่น อัตราแลกเปลี่ยนจะเป็น 34 บาท/USD ถ้าอัตราส่วนบาทหมุนเวียนต่อเงินสำรองต่างประเทศอยู่ที่ 102 บาท/USD ส่วนการขึ้นลงจากค่าเฉลี่ยนี้ (volatility) เกิดจากเงินตราต่างประเทศไหลเข้า-ออกในช่วงสั้นๆที่ต้องดูแลกันไปคนละแบบ
อนึ่ง ผู้เขียนนำข้อมูลจากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศ มาใช้ในการเขียนกราฟทั้งสอง
ข้อเสนอแนะต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ปัจจุบัน (ณ เดือนกันยายน 2562) เรามีเงินบาทหมุนเวียนอยู่ 20,423,529 ล้านบาท มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ 220,531 ล้าน-USD คิดเป็น อัตราส่วน 92.61 บาท/USD และอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30.58 บาท/USD
สมมติว่า ถ้าต้องการให้ อัตราแลกเปลี่ยนเป็น 34 บาท/ USD จะต้องทำให้ อัตราส่วนบาทหมุนเวียน/เงินตราต่างประเทศ เป็น 102 บาท/ USD ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ควรต้องเพิ่มปริมาณบาทหมุนเวียนได้อีก = (102-92.61) x 2,043,529 = 2,070,633 ล้านบาท
ซึ่งหมายความว่า เงินบาทจะอ่อนค่าจากปัจจุบันที่ 30.58 บาท/ USD ลงมาถึง 3.42 บาท/USD ย่อมทำให้ผู้ส่งออกขายสินค้ได้มากขึ้นหรือได้คำไจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นถึง 3.42บาท/USD นำมาสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศได้มากมาย
ยิ่งกว่านั้น ปริมาณบาทหมุนเวียนที่ตราออกมาเพิ่ม 2,070,633 ล้านบาทนั้น รัฐบาลสามารถนำมาพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง โดยไม่ต้องกู้เงินจากใครเลย แต่ที่สำคัญ รัฐบาลจะต้องนำเม็ดเงินก้อนใหม่นี้มาใช้ในการเพิ่มผลผลิตระดับรากหญ้าและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อให้เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้นในปริมาณที่สมดุลกับปริมาณเงินที่เพิ่ม และป้องกันมิให้เกิดเงินเฟ้อ
ห้ามนำเงินส่วนนี้ไปแจกอย่างเด็ดขาด (แต่ก็รู้ว่ารัฐบาลไม่เชื่อผู้เขียนหรอก) เพราะหากผลผลิตที่จะนำมาแลกเปลี่ยนกันยังมีปริมาณเท่าเดิม (แต่เล่นเติมเงินกันอย่างมักง่ายแบบชิมซื้อปใช้) สุดท้ายก็จะทำให้ภาวะเงินเฟ้อ-สินค้ามีราคาแพงขึ้นตามมา เงินที่ตราออกมาใหม่ก็ซื้อสินค้าได้เท่าเดิม ปัญหาวนกลับมาย่ำอยู่กับที่ ซึ่งนอกจาจะไม่ได้ใช้โอกาสนี้ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่พลังการผลิตโดยรวมของชาติแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาหลายประการตามมาและลงเอยด้วยความอ่อนแอของระบบเศรษฐกิจของคนไทยในระยะยาว