เมกาจนตรอก!! ตุรกีสุดทนแหกเมกาหน้าไม่อาย สั่งให้ซื้อS-400 รัสเซียให้ยูเครนขอมาล้วงตับ ลุ้นเลือกตั้งแอร์โดอันรุ่งหรือร่วง

0

เป็นเรื่องทีเดียวเมื่อตุรกีออกมาฟาดใส่สหรัฐฯ มาขอให้อนุญาตเข้าถึงระบบขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน S-400 ที่ได้มาจากรัสเซีย อ้างเพื่อการศึกษาหมายความว่าจะเอาไปล้วงตับทำวินาศกรรมย้อนกลับนั่นเอง สะท้อนความกลัวต่อศักยภาพของระบบต่อต้านอากาศยานรุ่นนี้ของรัสเซีย และวันนี้ทางตุรกีออกมาแฉแบบนี้ และยืนยันว่าจะไม่สั่งซื้อให้ยูเครนและจะไม่เปิดโอกาสให้เมกามาผ่าพิสูจน์ บ่งบอกจุดยืนวันนี้ของตุรกีว่า เลือกข้างไหน ตราบใดที่ตุรกียังมีผู้นำชื่อแอร์โดอัน

วันที่ ๘ พ.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์และอาหรับนิวส์รายงานว่า เมฟลุต คาวูโซกลู (Mevlut Cavusoglu)รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกีให้สัมภาษณ์ดุเดือดว่า “อังการาปฏิเสธข้อเสนอที่วอชิงตันขอให้ตุรกีสั่งซื้อระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซีย S-400s มอบให้แก่ยูเครน และขอให้วอชิงตันเข้าถึงระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-400 ที่ผลิตในรัสเซียด้วย

เขากล่าวเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อังการาปฏิเสธคำขอดังกล่าวเนื่องจากการกระทำดังกล่าวจะบ่อนทำลายอำนาจอธิปไตยและความเป็นอิสระของตน เขากล่าวเสริมในการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ฮาเบอร์เติร์ก (Habertürk)  เขาเล่าว่าสหรัฐฯ ได้ “ ยื่นข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตยของเราโดยตรง ให้มอบการควบคุม S-400ให้กับวอชิงตัน และส่งมอบให้ที่อื่น ” ซึ่งหมายถึงเอาของที่มีอยู่ให้ยูเครนหรือสั่งซื้อใหม่จากรัสเซียให้ยูเครน

รัฐมนตรีชี้แจงว่าวอชิงตันเสนอแนะให้จัดหาระบบป้องกันภัยทางอากาศแก่ยูเครน แต่อังการาตอบว่าไม่

ตุรกีได้รับ S-400 ชุดแรกจากรัสเซียในปี ๒๐๑๙   คาวูโซกลูแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโอกาสที่อังการาจะกลับเข้าสู่โครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35 ของวอชิงตัน โดยกล่าวว่าประเทศของเขาไม่สนใจอีกต่อไปแล้ว เพราะขณะนี้กำลังดำเนินการสร้างเครื่องบินทหารของตนเอง

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สื่อตะวันตกหลายสำนักรายงานว่า สหรัฐฯ ได้เสนอให้Türkiye ” กลับไปสู่โครงการ F-35 ” เพื่อแลกกับการ ” ยกเลิกระบบ S-400 และส่งไปให้เคียฟแทน”

ประธานาธิบดี เรเซ็ป ตอยยิบ แอร์โดอัน(Recep Tayyip Erdogan) แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการอ้างสิทธิ์อย่างชัดเจนว่าการใช้ S-400 ของTürkiyeเป็น ” ข้อตกลงที่ทำสำเร็จสำหรับเราแล้ว ”“พวกเขาเป็นทรัพย์สินของเราที่ทำหน้าที่ป้องกัน ดังนั้นมันจึงจบลงไม่มีอะไรต้องพูดถึงอีก ” 

ในขณะเดียวกันฟาห์เรตติน อัลตุน (Fahrettin Altun) โฆษกของ Erdogan ชี้ให้เห็นว่า ” สิ่งที่ตะวันตกต้องทำคือส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-35 และแบตเตอรี่ Patriot ให้กับ Türkiye โดยไม่มีเงื่อนไข”

ย้อนกลับไปในปี๒๐๒๐ วอชิงตันบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออุตสาหกรรมกลาโหมของตุรกี และระงับโครงการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ F-35 เนื่องจากอังการาตัดสินใจซื้อยุทโธปกรณ์ทางทหารของรัสเซีย และไม่คว่ำบาตรรัสเซียตามคำสั่งวอชิงตัน

สหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะส่งมอบเครื่องบินที่สั่งซื้อไปแล้วให้กับตุรกีซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิก NATO โดยอ้างว่าการซื้อระบบของรัสเซีย จะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของเทคโนโลยีทางทหารของสหรัฐฯ”

นักวิเคราะห์ของตุรกีกล่าวว่า ข้อเสนอแนะใดๆ ดังกล่าวจะไม่ใช่การเริ่มต้นสำหรับตุรกี โดยอ้างถึงประเด็นต่างๆ ตั้งแต่อุปสรรคทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งและใช้งาน S-400 ในยูเครน ไปจนถึงความกังวลทางการเมือง เช่น อังการาอาจเผชิญความเสียหายจากมอสโก

วอชิงตันขอให้อังการาซ้ำแล้วซ้ำเล่าให้กำจัดแบตเตอรี่ขีปนาวุธพื้นสู่อากาศที่สร้างโดยรัสเซีย นับตั้งแต่การส่งมอบชุดแรกมาถึงในเดือนกรกฎาคม สหรัฐฯ ได้บังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรต่ออุตสาหกรรมกลาโหมของตุรกี และถอดตุรกีซึ่งเป็นสมาชิกนาโต้ออกจากโปรแกรมขาย F-35 

อารอน สไตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของสถาบันวิจัยนโยบายต่างประเทศในฟิลาเดลเฟียกล่าวว่า “ตุรกีกำลังเดินบนคมมีดโกนในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและประเทศ และการถ่ายโอน S-400 ของรัสเซียไปให้ยูเครนจะนำไปสู่ความเดือดดาลของรัสเซียอย่างรุนแรงอย่างแน่นอน” “และสำหรับ Erdogan S-400 ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจอธิปไตยของตุรกี ดังนั้นการแลกเปลี่ยนมันจึงไม่น่าจะเป็นไปได้”

สถานการณ์การเมืองในตุรกีเองก็อยู่ในภาวะระอุเดือด เพราะการแข่งขันเลือกตั้งประธานาธิบดีใกล้เข้ามา คู่แข่งชิงเก้าอี้ล่อสะพัดเมกาหนุนหลัง ยิ่งทำให้แอร์โดอันกริ้วหนักกับเมกา

Erdogan ได้จัดการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดในการหาเสียงของเขาในอิสตันบูลเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นประวัติการณ์ถึง ๑.๗ ล้านคนก่อนการเลือกตั้งในวันที่ ๑๔ พฤษภาคม โดยเน้นย้ำถึงความสำเร็จมากมายที่เกิดขึ้นระหว่างการปกครองของพรรค Justice and Development Party (AK Party)

“อิสตันบูลคือตุรกี” เขาเน้นย้ำ พร้อมขอบคุณชาวอิสตันบูลที่ให้การสนับสนุนเขาอย่างต่อเนื่อง “เราจะสร้างศตวรรษแห่ง Türkiye ร่วมกับคุณ” “ถ้าอิสตันบูลพูดว่า ‘ใช่’ สิ่งนี้ก็จะจบลง” ประธานาธิบดีกล่าว พร้อมเรียกร้องให้ประชาชนลงคะแนนเสียงให้เขาในการเลือกตั้ง

วันชี้ชะตาผู้นำตุรกีจะเป็นใคร ดุลอำนาจของเมกา-นาโต้ย่อมกระทบโดยตรง วันเลือกตั้งของแอร์โดอันตรงกับวันเลือกตั้งของไทยด้วย!!