จากที่เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กมีประเด็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ทั้งนี้โดยเนื้อหาบางส่วนที่นายสมชาย ได้เผยแพร่ไว้ระบุว่า คนไทยชักศึกเข้าบ้าน หรือ สหรัฐแทรกแซงอธิปไตย จากเอกสารที่คนไทยกลุ่มหนึ่งอ้างกล่าวหาให้ร้ายประเทศไทย ส่งถึงรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกาและวุฒิสมาชิกกลุ่มหนึ่งของสหรัฐเคลื่อนไหวต่อเนื่องจะออกมติวุฒิสภา ที่ 114 ต่อประเทศไทย
3 พฤษภาคม 2566 คณะกรรมาธิการการต่างประเทศและคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ วุฒิสภา จึงได้เชิญเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค และคณะ เพื่อประสานสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเท็จจริง ที่ห้องรับรองพิเศษวุฒิสภา
ต่อมาวันที่ 07 พฤษภาคม 2566 ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่าน Blockdit ถึงกรณีดังกล่าวด้วย ซึ่งมีเนื้อหาบางช่วงที่สำคัญว่า
“การแทรกแซงประเทศอื่นๆของอเมริกา:สิ่งที่ควรจับตาเป็นพิเศษมีดังนี้ครับ ๑.การติดต่อของทูตอเมริกาหรือกลุ่มประเทศอียูกับเครือข่ายนักการเมืองกลุ่มฝ่ายค้าน
๒.สื่อมวลชนระดับสากลและท้องถิ่น สื่อมวลชนที่ทำหน้าที่โฆษณาชวนเชื่อเพื่อช่วยฝ่ายค้านในประเทศต่างๆ หลักๆ คือ VOA BBC CNN New York Times Washington Post Reuters AP AFP ฯลฯ สื่อใหญ่ๆ เหล่านี้จะชมฝ่ายค้าน
๓.NGOs โดยปรกติ NGOS หลักๆ ที่ทำสงครามพันทางและก้าวก่ายการเมือง มี ๓ องค์กรหลักคือ USAID NED และ Amnestyธรรมดาแล้ว USAID เกิดขึ้นจากที่รัฐบาลอเมริกาผ่านกฎหมาย the Foreign Assistance Act แม้จะอ้างว่าเป็นองค์กรอิสระแต่ได้รับงบประมาณจากรัฐและทำงานใกล้ชิดเหมือนเป็นแขนขาของกระทรวงการต่างประเทศของอเมริกา จึงถูกโจมตีมากกว่ารัฐบาลอเมริกาก้าวก่ายประเทศอื่นผ่านกองทุนนี้
โดยปรกติ อเมริกามักจะให้ทุนจากกองทุน USAID แก่ฝ่ายที่เคลื่อนไหวล้มรัฐบาลเมื่อรัฐบาลอเมริกาจำเป็นต้องเปิดหน้าชกและล้มให้ได้เท่านั้น เช่น กรณียูเครน เป็นต้น
เพราะเหตุที่อเมริกาใช้กองทุน USAID แบบเปิดหน้าชกและกองทุน USAID ก็ทำงานใกล้ชิดกับกระทรวงการต่างประเทศ อเมริกาจึงถูกโจมตีว่าแทรกแซงการเมืองในประเทศอื่น
อเมริกาจึงหันมาปรับนโยบายแก่ NED โดยรัฐบาลอเมริกาจะไม่ให้ทุนสนับสนุนโดยตรงแต่จะเน้นให้กลุ่มนายทุนยิวไซออนิสต์ เช่น จอร์จ โซรอส บริจาคเข้ามาแทนเพื่อไม่ต้องการให้ถูกครหาว่ารัฐบาลใช้เงินไปแทรกแซงการเมืองในประเทศนั้นๆ โดยตรง แต่ NED ก็ทำงานเพื่อรัฐบาลอเมริกาเหมือนกัน
กรณีเมืองไทย ควรจะจับตาดู NGOs อื่นๆ เช่น ไอลอว์ด้วยว่าเข้าไปมีบทบาทกับการเลือกตั้งมากน้อยแค่ไหน จำเอาไว้ครับ NGOs ที่ตะวันตกให้ทุนสนับสนุนจักต้องพยายายามหาทางออกมาแสดงความคิดเห็นหรือเข้าไปมีบทบาทในการชี้นำการเลือกตั้ง เหมือนที่ Amnesty พยายามจัดทำอยู่ขณะนี้
๔.ทหาร ในบางประเทศ อเมริกาอาจให้ทหารที่พวกตนตีสนิทในช่วงจัดซ้อมรบกันบ่อยๆ ทำรัฐประหาร เช่น ที่กำลังทำอยู่ในซูดานขณะนี้
๕.สถานศึกษา ไม่ควรจะให้ตัวแทนจากพรรคการเมืองฝ่ายค้านที่เอียงไปทางตะวันตกหรือทูตจากประเทศตะวันตกเข้าไปจัดกิจกรรมในสถานศึกษา เพราะคนเหล่านี้มักจะเอาอุดมการณ์แฝงผลประโยชน์ทางอ้อมของอเมริกาเข้าไปล้างสมองเด็กๆ ที่กำลังอยู่ในวัยเรียนอยู่เสมอ
ผมเสนอเบื้องต้นแค่ ๕ ข้อให้พิจารณา ถ้าสกัดเครือข่ายสงครามพันทางเข้ามาทำกิจกรรมภายในประเทศ ๕ ทางหลักได้ก็จะปลอดภัยในระดับหนึ่งครับ”
(อ่านข้อความฉบับเต็มได้ที่ https://www.blockdit.com/bodhi)
ขอบคุณภาพ : เฟซบุ๊ก สมชาย แสวงการ