ถ่วงดุลอำนาจ!! ธุรกิจรัสเซีย-ไทยทำธุรกรรมสกุลเงินปท.เป็นทางการ ลุ้นจีนแก้ปัญหาเรือดำน้ำไทย แถมรุ่นอื่นอีก ๒ ลำ

0

ในกระแสความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจขั้วเดี่ยวแองโกล-แซกซอนที่นำโดยสหรัฐกับกลุ่มโลกหลายขั้ว ได้ขยายความตึงเครียดมาสู่เอเชียแปซิฟิกแล้วอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ประเทศไทยมีท่าทีต่อมหาอำนาจทุกฝ่ายอย่างรอบคอบและอดทนมาโดยตลอด ความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศชาติและประชาชน ท่ามกลางกระแสการแข่งขันขัดแย้งไม่ใช่เรื่องที่จะมองข้าม วันนี้นอกจากไทยจะเนื้อหอมทางเศรษฐกิจแล้ว การแย่งชิงพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางทหารของไทยก็มีการเคลื่อนไหวอย่างเอาการเอางานจากทุกฝ่าย ทั้งบนดินและใต้ดิน ยิ่งใกล้เลือกตั้งยิ่งเข้มข้น 

วันที่ ๒๙ เม.ย.๒๕๖๖ สำนักข่าวสปุ๊ตนิก รายงานว่าอเล็กซี่ เช็คคุนคอฟ (Alexei Chekunkov) รัฐมนตรีที่รับผิดชอบการพัฒนาภูมิภาคตะวันออกไกลของรัสเซีย กล่าวว่า “ธุรกิจรัสเซียและไทยกำลังขอให้รัฐบาลของพวกเขาปรับปรุงการทำธุรกรรมในสกุลเงินของประเทศ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

เชคุนคอฟ กล่าวว่า“เห็นได้ชัดว่าเป็นที่ต้องการอย่างมาก ตัวแทนธุรกิจกล่าวถึงปัญหาการทำธุรกรรมระหว่างกัน เป็นปัญหาสำหรับผู้ส่งออกไทยที่ค้าขายกับรัสเซียและผู้ที่ลงทุนในรัสเซีย”

เจ้าหน้าที่รัสเซียกล่าวว่า รัฐบาลกำลังส่งเสริมทางเลือกในประเทศไทยแทนบริการสื่อสารทางการเงินระหว่างธนาคาร SWIFT และเครือข่ายการชำระเงินของตนเองที่เรียกว่าMir

เชคุนคอฟและดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีของไทย เป็นประธานร่วมของคณะกรรมการความร่วมมือไทย-รัสเซีย ครั้งที่ ๘ ซึ่งมีการประชุมที่กรุงเทพฯ เมื่อวันพฤหัสบดี หลังจากห่างหายไปนาน ๕ ปี

 เชคุนคอฟกล่าวเสริมว่า “ฉันคิดว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในพันธมิตรต่างชาติของเราที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากสิ่งนี้ เพราะในอดีตเคยต้อนรับนักท่องเที่ยวมากกว่าล้านคนทุกปี ตั้งแต่ก่อนปี ๒๕๖๕ และเราคาดว่าจะกลับไปเป็นจำนวนนั้นภายในหนึ่งปี”เจ้าหน้าที่รัสเซียยังกล่าวอีกว่ามอสโกว์และกรุงเทพฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาการขนส่งระหว่างท่าเรือของประเทศต่างๆด้วย

” ไทยขอเชิญเราเข้าร่วมในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลัก ” เชคุนคอฟระบุว่าฝ่ายรัสเซียนำเสนอโอกาสใหม่ในการขนส่งทางทะเลระหว่างไทยกับรัสเซีย ด้วยการใช้ท่าเรือตะวันออกไกลของรัสเซียให้เกิดประโยชน์สูงสุด และศักยภาพของเส้นทางทะเลเหนือที่เป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อถือได้ ซึ่งไม่เพียงแต่ให้บริการขนส่งระหว่างไทยกับรัสเซียเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการส่งสินค้าไทยไปยังยุโรปตะวันตกด้วย

รัสเซียและไทยวางแผนที่จะเพิ่มการค้าเป็น ๑ หมื่นล้านดอลลาร์ กระทรวงการพัฒนาตะวันออกไกลของรัสเซียคาดการณ์ว่า รัสเซียอาจส่งออกสินค้าและบริการมูลค่ากว่า ๒ หมื่นล้านดอลลาร์ไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การลงทุนของไทยในรัสเซียปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ที่ ๒ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่ผ่านมานอกจากการท่องเที่ยวแล้ว ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่างรัสเซียและไทยก็ไม่ได้รับผลกระทบจากความตึงเครียดของโลกแต่อย่างใด ประเด็นนี้ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ วิภู รุโฆปการ เปิดเผยว่า “ไม่กระทบต่อความร่วมมือระหว่างนักดาราศาสตร์กับนักดาราศาสตร์จากไทยไปรัสเซีย”

วิภูย้ำว่า “ไทยยินดีส่งเสริมความร่วมมือด้านดาราศาสตร์กับรัสเซีย ขณะที่การขยายไปสู่อวกาศจะเป็นการพิจารณาแบบพหุภาคี ที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เรามีชาวรัสเซียร่วมงานอยู่ เราเปิดกว้างมากสำหรับการเป็นเจ้าภาพ จัดระเบียบความร่วมมือกับรัสเซีย และหวังว่าจะได้รับการติดต่อใหม่ๆ เช่นกัน ทั้งการแลกเปลี่ยนบุคคลากรข้อมูลข่าวสารและ ความเชื่อมโยงอื่นๆ”

เขากล่าวเสริมว่า “ดาราศาสตร์เป็นพื้นที่ที่รัสเซียมอบให้กับชุมชนอย่างมากมาย ฉันเป็นนักดาราศาสตร์ ฉันศึกษาดาราจักรที่อยู่ห่างไกล เราขอขอบคุณข้อมูลที่ได้รับจากรัสเซีย”

รองผู้อำนวยการกล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีความกังวลอย่างมากว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะเหมือนหลุมลึกในโลก เนื่องจากไม่มีความสามารถในการรับรู้สถานการณ์อวกาศ (SSA) หรือการจัดการจราจรในอวกาศ (STM) เขากล่าวว่า  “เนื่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเหมือนหลุมขนาดใหญ่ในโลกที่มี SSA หรือ STM เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ทำให้เรากังวลมาก” “SSA เป็นพื้นที่ที่เรากังวลมาก ที่สถาบันของเรา เราได้พัฒนาเซ็นเซอร์ออปติคัลและวิทยุภายในบริษัทของเรา การทำเช่นนี้ทำให้เราลดต้นทุนลงตามลำดับเมื่อเทียบกับการนำเข้าจากตะวันตก ผลที่ได้คือเพิ่มความสามารถในการปรับขนาดของความสามารถ SSA ในภูมิภาค”

ความเคลื่อนไหวของไทยกับรัสเซียเริ่มมีมากขึ้น นอกเหนือไปจากกิจการทางการทูตทั่วๆไป ท่ามกลางการซ้อมรบขนานใหญ่ของสหรัฐและพันธมิตรในเอเชีย-แปซิฟิกและทะเลจีนใต้ ไทยมุ่งหวังสร้างสมดุลอำนาจในความสัมพันธ์กับมหาอำนาจที่เวลานี้ตึงเครียดอย่างชัดเจน ระหว่างสหรัฐฯกับรัสเซียและจีน

ทางด้านจีนซึ่งเป็นเป้าหมายที่สหรัฐฯประกาศชวนต่อต้านอย่างโจ่งแจ้ง ยังมีการติดขัดเรื่องเรือดำน้ำที่มีการซื้อขายกันแล้วไม่สามารถส่งมอบได้ เพราะเยอรมนีเบี้ยวไม่ยอมส่งเครื่องยนตร์ที่ต้องประกอบในเรือดำน้ำที่ทำสัญญาไว้กับไทย ความเคลื่อนไหวในประเด็นนี้ ล่าสุดปรากฎรายงานจากโซเชียลมีเดีย เพจของคุณวาสนา นาน่วมและยูทูป เกี่ยวกับตัวแทนกองทัพไทยเดินทางไปเจรจากับจีน

สำหรับเครื่องยนต์ใหม่ของจีนที่เสนอติดตั้งในเรือดำน้ำของไทยแทนเครื่องเยอรมนีนั้น เดิมทางเรือดำน้ำจีนติดตั้ง MTU เหมือนกัน ตัวใหม่ก็เป็นเครื่องยนต์ที่พัฒนาจาก MTUแต่ทันสมัยคงทนกว่า และ จีนก็มีแผนในการติดตั้งในเรือดำน้ำของจีนเองอยู่แล้ว ไทยจะเป็นประเทศแรกที่ใช้เครื่องยนต์นี้เหมือนจีน

เพื่อเป็นการสนับสนุนศูนย์กลางการขนส่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิก ตามโครงการหนึ่งแถบและเส้นทางหรือBRI  เชื่อมสู่มหาสมุทรอินเดียโดยใช้แลนด์บริดด์ที่ไทย ไป เอเชียใต้ ตอ.กลาง  และ ภูมิภาคอื่นของโลก ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางน้ำมันแทนสิงค์โปร โดยกลุ่มBRICS สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกับนานาชาติและไทยก็ได้ใช้ เป็นการชดเชยเวลาที่กองทัพเรือไทยเสียไป มีข่าวว่า นอกจากแก้ปัญหาเรือดำน้ำตัวที่ซื้อแล้ว ลำที่แถมจะเป็นเรือดำน้ำชั้นหยวน ๑ ลำ ชั้นอื่นอีก ๑ ลำ ก็ต้องลุ้นกันว่าในที่สุดแล้วจะเป็นอย่างไร!!