กระทรวงการต่างประเทศไทยหารือหลายหน่วยงานบ่ายนี้เตรียมอพยพคนไทยในซูดาน เผยสถานทูตไทยในอียิปต์ส่งของช่วยเหลือเบื้องต้น พร้อมเปิดสายด่วนสอบถามสถานการณ์-รับแจ้งเหตุ
วันที่ ๒๐ เม.ย.๒๕๖๖ นางกาญจนา ภัทรโชค อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการช่วยเหลือคนไทยในประเทศซูดานที่กำลังเกิดการสู้รบยืดเยื้อระหว่างกองทัพซูดานกับกองกำลังติดอาวุธเคลื่อนที่เร็ว (อาร์เอสเอฟ) ภายในกรุงคาร์ทูมและเมืองสำคัญอื่นๆ ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก ว่า กระทรวงการต่างประเทศห่วงใยความเป็นอยู่ของคนไทยในซูดานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้อย่างยิ่ง โดยได้อนุมัติงบประมาณแก่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ซึ่งมีเขตอาณาดูแลซูดาน เพื่อจัดหาสิ่งของบรรเทาทุกข์ในการช่วยเหลือคนไทยในเบื้องต้นแล้ว รวมถึงสถานเอกอัครราชทูตไทยฯ ได้ประสานกับหัวหน้าชุมชนไทยและนายกสมาคมนักเรียนไทยในซูดานอย่างใกล้ชิดมาตลอด ทั้งนี้ ปัจจุบันมีคนไทยพำนักอยู่ในซูดานประมาณ ๓๐๐ คน โดยในจำนวนนี้มีนักเรียนไทยมุสลิมประมาณ ๒๐๐ คนซึ่งส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย International University of Africa ในกรุงคาร์ทูม ส่วนที่เหลือเป็นคนไทยที่ทำงานหรือสมรสกับชาวซูดาน
นอกจากนี้ กระทรวงฯได้เปิดช่องทางการสื่อสารสำหรับญาติของนักเรียนและคนไทยในซูดานที่ประสงค์จะสอบถามสถานการณ์ ได้ทางหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน 096-352-0513, 096-165-7120, 096-352-9015 รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร ได้เปิดช่องทางการติดต่อเพื่อขอรับความช่วยเหลือที่หมายเลข +201 0194-01243 หรืออีเมล์ [email protected] ล่าสุด ในช่วงบ่ายวันนี้ (20 เม.ย.) กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการประชุมเพื่อเตรียมการอพยพคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในซูดาน ที่กรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกกระทรวงฯ เข้าร่วม อาทิ กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร กองทัพบก และกองทัพอากาศ เพื่อพิจารณารูปแบบการให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมร่วมกันต่อไป
เพจเฟซบุ๊กของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร โพสต์ข้อความประชาสัมพันธ์ว่า สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอให้คนไทยในซูดานลงทะเบียนเพื่อเตรียมอพยพและให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
ขณะที่สถานการณ์ในซูดานส่อเค้าบานปลาย ความพยายามหยุดยิงรอบใหม่ในซูดานยังไร้ผล กองทัพยกระดับถล่มคาร์ทูม การเรียกร้องของนานาชาติ ให้ทหารสองฝ่ายในซูดานหยุดยิง เพื่อมนุษยธรรม ยังไม่ประสบผลสำเร็จ โดยกองทัพยังเดินหน้าโจมตีกรุงคาร์ทูมเมืองหลวงของซูดานอย่างต่อเนื่อง
An attempt at a ceasefire in fierce fighting between Sudanese troops and paramilitary forces in Khartoum failed, according to two eyewitnesses in separate areas https://t.co/k0aEhAnrGT pic.twitter.com/Fccahi6AU3
— Reuters (@Reuters) April 19, 2023
การสู้รบระหว่างกองทัพซูดานกับกองกำลังเคลื่อนที่เร็ว (RSF) ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหาร ที่ยืดเยื้อตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๓๐๐ ราย และได้รับบาดเจ็บอีกหลายพันคนนั้น
การเรียกร้องหยุดยิงครั้งล่าสุด ซึ่งนานาประเทศร่วมกันผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นเวลา ๒๔ ชั่วโมง เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ไม่ประสบความสำเร็จ “ตามความคาดหมาย” เนื่องจากกองทัพซูดานและอาร์เอสเอฟ ยังคงสู้รบกันอย่างดุเดือด ส่งผลกระทบต่อการอพยประชาชน ทั้งที่เป็นชาวซูดาน และความพยายามของหลายประเทศในการอพยพพลเมืองของตัวเองด้วย
Residents of Khartoum are attempting to flee as deadly clashes continue to rock the city for a fifth day, leaving them with no water and electricity ⤵️ pic.twitter.com/1y863gInaB
— Al Jazeera English (@AJEnglish) April 19, 2023
ด้านกองทัพซูดานโดย พล.อ.อับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของซูดาน และประธานสภาอธิปไตย ซึ่งเป็นผู้ปกครองประเทศ นับตั้งแต่ผ่านพ้นการรัฐประหาร เมื่อ ๔ ปีที่แล้ว ยกระดับการโจมตีกรุงคาร์ทูมและพื้นที่รอบนอกอย่างหนัก เพื่อตัดเส้นทางลำเลียงกำลังพลและเสบียงของอาร์เอสเอฟ นำโดยโมฮัมเหม็ด ฮัมดาน ดากาโล(Mohamed Hamdan Dagalo)ซึ่งถนัดเคลื่อนที่เร็วภาคพื้นดิน
ชนวนเหตุของการสู้รบระหว่างกองทัพซูดานกับอาร์เอสเอฟ ซึ่งเคยร่วมกันทำรัฐประหาร ล้มประธานาธิบดีโอมาร์ อัล-บาเชียร์ เมื่อปี๒๕๖๒เกิดขึ้นจากการที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ เกี่ยวกับหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญ ที่นานาชาติให้ความสนับสนุน เพื่อปูทางสู่การเลือกตั้งทั่วไปภายในเดือน ก.ค. ๒๕๖๖ นั่นคือ การที่อาร์เอสเอฟต้องผนวกเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพ
นั่นคือคำกล่าวอ้างจากฝ่ายเปิดศึกโดยกลุ่มอาร์เอสเอฟซึ่งเมกาหนุนหลัง และการแผยแพร่แนววิเคราะห์ของตะวันตก ความจริงเบื้องหลังศึกครั้งนี้มีชนวนมาจาก การที่รัฐบาลซูดานชุดปัจจุบันอนุมัติรัสเซียตั้งฐานทัพในทะเลแดง ซึ่งสร้างความไม่พอใจต่อสหรัฐฯอย่างมาก งานนี้CIAเลยทำงาน ต้องการให้เกิดการรัฐประหารโมเดลเดียวกับรัฐประหารไมดานในยูเครน แต่ดูเหมือนว่าจะคุมไม่อยู่ เพราะทั้งเจ้าหน้าที่ทูตสหรัฐฯและอียู หรือแม้แต้อียิปต์ซึ่งหวังว่าอาร์เอสเอฟจะฟังก็ยังถูกบุกทำร้ายและทหารอียิปต์ที่เคยส่งมาช่วยยังถูกจับ ส่อแนวโน้มนองเลือดแบบคุมไม่อยู่จนกว่าจะแพ้กันไปอย่างราบคาบ
ต้องจับตารัสเซียและจีน ซึ่งมีหลายฝ่ายเรียกร้องให้เข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยว่าจะมีท่าทีต่อเรื่องนี้อย่างไร หลายฝ่ายเชียร์ให้กลุ่มวาร์กเนอร์ กองกำลังทหารเอกชนของรัสเซียเข้ามามีบทบาท แต่ผู้นำกลุ่มสงวนท่าทีและยืนยันว่า ณ เวลานี้ไม่มีกลุ่มทหารวาร์กเนอร์ประจำการในซูดาน!!