ชักศึกเข้าบ้าน!! ฟิลิปปินส์ดิ้น ลั่นห้ามเมกาซุกอาวุธ ใช้เป็นฐานลุยไต้หวันรบจีน หลังกระแสต้านเปิดฐานทัพมะกันพุ่ง

0

ในการประชุมวุฒิสภา มะนิลาปฏิเสธที่จะอนุญาตให้มีการจัดเก็บอาวุธของสหรัฐฯ เพื่อป้องกันไต้หวันที่ฐานทัพฟิลิปปินส์ นั่นเป็นเพียงท่าทีของนักการเมืองเพื่อเอาตัวรอดจากการถูกสอบสวนเรื่องการเปิดฐานทัพสหรัฐฯถึง ๙ แห่งในช่วงเวลาอันสั้น ขณะที่ตัวแทนฝ่ายทหารยืนยันว่าเป็นการป้องกันทางเหนือของฟิลิปปินส์ ด้านนอกสภาฯ กระแสความไม่พอใจของประชาชนฟิลิปปินส์เริ่มก่อตัวให้เห็น ทั้งการประท้วงการเยือนของรมว.กลาโหมสหรัฐฯและการชุมนุาต่อต้านการซ้อมรบครั้งใหญ่ ท้าทายจีนอย่างโจ่งแจ้ง ดูเหมือนว่าฟิลิปปินส์จะเล่นบทสองหน้าไม่ได้ เพราะปักหมุดเป็นบ้านกระสุนตกเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯไปเรียบร้อยแล้ว

วันที่ ๒๐ เม.ย.๒๕๖๖ สำนักข่าวสปุ๊ตนิกรายงานว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์ยืนยันว่าจะไม่อนุญาตให้สหรัฐฯ ใช้ฐานทัพของตนในประเทศเป็นฐานปฏิบัติการในการต่อต้านจีน ในกรณีที่เกิดสงครามเหนือไต้หวัน

เอนริเก มานาโล รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของฟิลิปปินส์(Philippine Foreign Affairs Secretary Enrique Manalo) ได้รายงานระหว่างการพิจารณาประเด็นการเปิดฐานทัพสหรัฐฯ ในวุฒิสภาฟิลิปปินส์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เกี่ยวกับข้อตกลงความร่วมมือด้านกลาโหมขั้นสูง (EDCA) ระหว่างสองประเทศ

มานาโลกล่าวว่า “เราไม่เห็นด้วยกับกิจกรรมใดๆ หรือแม้กระทั่งวัสดุที่ไม่สอดคล้องกับกิจกรรมที่ตกลงกันเหล่านี้”  “มุมมองของเราคือสนธิสัญญา EDCA ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่ประเทศที่สามใดๆ นอกเหนือไปจากที่มุ่งหมายเพื่อใช้สำหรับฟิลิปปินส์ และแน่นอนว่าเกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาของเรากับสหรัฐฯ”

Philippines Foreign Affairs Secretary Enrique Manalo 

เขาเสริมว่าการตัดสินใจของพวกเขาว่าจะให้สหรัฐฯ จัดเก็บอาวุธไว้ในพื้นที่บางแห่งในฟิลิปปินส์หรือไม่ “จะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์หลัก” ของข้อตกลง “และฉันคิดว่าในขั้นตอนนี้ นโยบายต่างประเทศหลักของเราคือการเป็นเพื่อนกับทุกคน ดังนั้น ฉันคิดว่าสิ่งใดที่ไม่สอดคล้องกับสิ่งนั้นก็จะไม่สอดคล้องกับจุดยืนของเราเช่นกัน” 

ข้อตกลงปี ๒๐๑๔ เป็นส่วนเสริมของข้อตกลง Visiting Forces ปี ๑๙๙๘ ซึ่งกำหนดให้กองกำลังสหรัฐฯ ประจำการชั่วคราวในฐานทัพทหารหลายแห่งที่ฟิลิปปินส์ กำหนดควบคุมโดยหมุนเวียนกำลังพลเป็นประจำ ข้อตกลงทั้งสองระบุไว้ในสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันระหว่างวอชิงตันและมะนิลาในปี ๑๙๕๒ ซึ่งฉบับหลังเพิ่งได้รับการเป็นอิสระจากสนธิสัญญาเดิมเมื่อ ๕ ปีก่อนหน้านั้น หลังจาก ๕๐ ปีของการเป็นอาณานิคม

ส.ว.อิมี มาร์กอส ประธานคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศของวุฒิสภาและน้องสาวของประธานาธิบดี รวมถึงเจ้าหน้าที่ด้านกลาโหมและกิจการต่างประเทศในการพิจารณาเรื่องนี้ กล่าวว่าการเลือกสถานที่ใหม่สี่แห่งสำหรับการติดตั้งฐานทัพทางทหารของสหรัฐฯ ดูเหมือนจะ “สุ่มเสี่ยง”และไม่มีจุดมุ่งหมายสนับสนุนความทันสมัยของ กองทัพฟิลิปปินส์”

หลังจากเจ้าหน้าที่กลาโหมอาวุโสกล่าวว่าสถานที่ดังกล่าวได้รับเลือกเพื่อปิด“ช่องโหว่” ของการป้องกันทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งใกล้กับไต้หวัน วุฒิสมาชิกตอบว่า “ทางตอนเหนือหรือ? ผมมาจากทางเหนือครับ ผมไม่รู้สึก เสี่ยงมาก ชาวประมงของเราในคากายัน (Cagayan) และทะเลอิลโลคอส (Ilocos) ไม่เคยถูกใครรังควาน”

เจ้าหน้าที่กลาโหมอาวุโสอีกคนหนึ่งกล่าวว่า การติดตั้งในพื้นที่ทางตะวันตกของประเทศได้รับเลือกเพราะ “เรากำลังคาดการณ์ถึงกองกำลังในหมู่เกาะ”

ความคิดเห็นของมานาโลสอดคล้องกับคำพูดที่คล้ายกันของประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอสจูเนียร์ของฟิลิปปินส์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งพยายามระงับความกังวลของปักกิ่งที่ว่า ข้อตกลงเปิดฐานทัพสหรัฐแห่งใหม่ ๔ แห่งเพิ่มจากของเดิมอีก ๕ แห่งรวมเป็น ๙ แห่งล่าสุดจะนำไปสู่ ​​”ความตึงเครียดมากขึ้น สันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคลดลง” 

การบริหารของโรดริโก ดูเตอร์เต ผู้นำคนก่อนของมะนิลาได้วางแผนถ่วงดุลอำนาจระหว่างวอชิงตันและปักกิ่ง โดยพยายามใช้ทั้งสองฝ่ายเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนืออีกฝ่าย แต่มาถึงยุคมาร์กอสจูเนียร์ ทุกอย่างเปลี่ยนไป

สหรัฐฯ พยายามเสริมความเป็นพันธมิตรกับฟิลิปปินส์ตั้งแต่เริ่มใช้กลยุทธ์ “การแข่งขันมหาอำนาจ” กับรัสเซียและจีนในปี ๒๕๖๐ มุ่งเป้าที่ทะเลจีนใต้และช่องแคบโป๋ไห่ ประเทศหมู่เกาะนี้เป็นส่วนสำคัญของ “ห่วงโซ่เกาะแรก” ซึ่งทั้งสหรัฐฯ และจีนกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการสู้รบที่อาจจะเกิดความขัดแย้งขึ้น

ไต้หวัน มณฑลของจีนที่ผู้นำปัจจุบันประกาศต้องการแยกตัวเป็นอิสระ ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเปิดเผยแต่ไม่เป็นทางการจากวอชิงตัน ก็เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะนั้นและประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ ได้ทำลายนโยบาย “ความกำกวมทางยุทธศาสตร์” ของสหรัฐฯ ที่ยึดถือมาอย่างยาวนานอย่างต่อเนื่องและประกาศ เข้าปกป้องไต้หวันในกรณีที่จีนรวมเกาะกับแผ่นดินใหญ่อีกครั้ง

ปักกิ่งกล่าวว่าพวกเขาแสวงหาการรวมตัวกับไต้หวันอย่างสันติ ภายใต้โครงสร้าง “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ซึ่งจะรักษาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและระบบการเมืองแบบเสรีนิยมของไต้หวัน ระบบที่คล้ายกันถูกนำมาใช้เมื่อฮ่องกงและมาเก๊ารวมเป็นหนึ่งกับจีนอีกครั้งในทศวรรษที่ ๑๙๙๐ หลังจากการปกครองอาณานิคมของอังกฤษมาหลายศตวรรษ

การตัดสินใจอนุญาตให้สหรัฐฯ เข้าถึงฐานทัพของฟิลิปปินส์ได้มากขึ้นภายใต้ข้อตกลง EDCA เกิดการโต้เถียงและถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนและนักเคลื่อนไหว มีการเคลื่อนไหวประท้วงการเยือนฟิลิปปินส์ของรมว.กลาโหมสหรัฐก่อนการประกาศเปิดฐานทัพใหม่

กลุ่มคาราปาตัน (Karapatan) ได้กล่าวว่าไม่มีอะไรดีเกิดขึ้นจากการเยือนของรมว.กลาโหมสหรัฐ และยังอธิบายว่าออสตินเป็น “ชายผู้ซึ่งได้อาชีพการงานและโชคลาภจากการเสียชีวิตและการทำลายล้างในสงครามรุกรานที่ขับเคลื่อนโดยสหรัฐฯ”

คริสตินา่ ปาลาเบย์(Cristina Palabay) เลขาธิการ Karapatan กล่าววิพากษ์บทบาทของวีไอพีสหรัฐฯว่า “เขาเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการทหารชั้นนำที่นำสงครามนองเลือดของสหรัฐฯ ในการรุกรานอิรักและอัฟกานิสถาน ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปเกือบล้านคน ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน เขายังเป็นใบหน้าด้านเงินของสหรัฐฯ ที่กระหายเลือด เลี้ยงความทุกข์ทรมานของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของสงครามที่ชั่วร้ายเหล่านี้”

“สหรัฐฯตั้งเป้ายั่วยุจีนโดยใช้ประเด็นเรื่องไต้หวัน การอนุญาตให้สหรัฐใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของเรา จะดึงเราเข้าสู่ความขัดแย้งซึ่งไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของชาติของเรา”

การตัดสินใจเปิดฐานทัพและร่วมการซ้อมรบครั้งใหญ่ได้รับการประณามอย่างกว้างขวางจากผู้สนับสนุนสันติภาพ ซึ่งมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่ยาวนานหลายเดือนของสหรัฐฯ ในการขยายการแสดงตนทางทหารทั่วอินโดแปซิฟิกด้วยความตั้งใจที่จะปิดล้อมจีน และได้ฉุกลากฟิลิปปินส์เข้าสู่สงครามขัดแย้งอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ไม่ว่าจะดิ้นรนปฏิเสธแบบไหน เวลานี้ฟิลิปปินส์ได้กลายเป็นบ้านกระสุนตกเพื่อผลประโยชน์ของวอชิงตันแล้ว!!??