เมกาจุก!? มาครงเจอประท้วงรับกลับบ้าน ลั่นยุโรปต้องลดพึ่งสหรัฐ อ้างไม่ส่งทหารไปยูเครน หลังสีเป่ากระหม่อมช่วยศก.

0

การเยือนจีนของฝรั่งเศสและประธานกรรมาธิการอียูช่างให้ผลต่างกันแบบฟ้ากับเหว ขณะที่นางเออร์ซูลาร์ ฟอน เดอ เลเยนเหมือนถูกโดดเดี่ยวไม่มีกองเกียรติยศต้อนรับ ไม่มีเลี้ยงดินเนอร์ส่วนตัว ต่างกับมาครงที่ผู้นำจีนถอดเน็คไทพาชมสวน เลี้ยงดินเนอร์หรู พร้อมพาชมเมืองอุตสาหกรรมสำคัญ ผู้ยิ่งใหญ่จากตะวันตกทั้งสองคนต่างมาจีนเพื่อเพิ่มคะแนนทางการเมืองของตนทั้งสิ้น แต่ผลออกมาตรงข้ามมีแต่ได้โครงการซื้อเครื่องบินติดกระเป๋า สำหรับจีนที่ร่ำรวยยิ่งในยุคนี้ถือเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ทางการเมืองไม่บรรลุเป้าหมายเพราะล้มเหลวที่จะกล่อมจีนเทรัสเซีย กลับถูกสอนมวยตอกหน้าหงายทั้งคู่ว่า สหรัฐฯตะวันตกไม่มีศีลธรรมพอที่จะมาวิจารณ์จิตสำนึกผู้อื่น

แต่หลังจากพบสี จิ้นผิง พอกลับมาบ้านมาครงกลับปลุกยุโรปแข็งข้อมะกันเฉยเลย ประธานาธิบดีฝรั่งเศสให้สัมภาษณ์สื่อใหญ่มะกันว่ายุโรปต้องลดการพึ่งพาสหรัฐฯ ขณะที่ก็ต้องเจอการเดินขบวนต่อต้านที่ไม่ได้ลดลง มีแต่จะเพื่มมากขึ้น ไม่ใช่แค่ต่อต้านกฎหมายปฏิรูประบบบำนาญเท่านั้น แต่รวมกลุ่มที่ต่อต้านนาโต้ คัดค้านส่งอาวุธและทหารไปรบในยูเครน ทำให้มาครงต้องออกมายืนยันว่า ไม่มีแผนส่งทหารเข้าไปรบในยูเครน และไม่อาจปฏิเสธว่าส่งอาวุธไปยูเครนแล้วไม่น้อย ถึงแม้จะหนีหน้าไปจีนพักใหญ่เมื่อกลับถึงบ้านก็ยังต้องเจอกับการประท้วงที่ดุเดือดหนักขึ้นกว่าเดิม มีการปะทะระหว่างตำรวจปราบจลาจลและผู้ประท้วง ลามหลายเมืองใหญ่ในฝรั่งเศสไม่เฉพาะในปารีส

วันที่ ๑๐ เม.ย.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์และpolitico.euรายงานว่า เอ็มมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ให้สัมภาษณ์ บนเครื่องบินระหว่างการเดินทางกลับจากการเดินทางเยือนประเทศจีน โดยกล่าวว่า “ยุโรปต้องลดการพึ่งพาสหรัฐฯ และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเข้าสู่การเผชิญหน้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในกรณีไต้หวัน ซึ่งไม่ใช่วิกฤตการณ์ของยุโรป และในระหว่างการประชุมร่วมกับจีน ทั้งสองประเทศได้หารือเกี่ยวกับไต้หวันอย่างเข้มข้น โดยฝรั่งเศสมีท่าทีประนีประนอมมากกว่าสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป”

มาครงระบุว่า “ยุโรปกำลังเผชิญกับ ความเสี่ยงครั้งใหญ่หากจมอยู่กับวิกฤตที่ไม่ใช่ของเรา” “ความขัดแย้งก็คือ เราเอาชนะด้วยความตื่นตระหนก เราเชื่อว่าเราเป็นแค่สาวกของอเมริกา เป็นคำถามที่ชาวยุโรปต้องตอบ  เราสนใจที่จะเร่งวิกฤตในไต้หวันหรือไม่? คำตอบคือ “ไม่” สิ่งที่แย่กว่านั้นคือการคิดว่าพวกเราชาวยุโรปต้องกลายเป็นผู้ติดตามในประเด็นนี้ และรับแนวทางของเราจากวาระการประชุมของสหรัฐฯ และรับผลจากปฏิกิริยาที่มากเกินไปของจีน”

มาครงพบกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนก่อนการสัมภาษณ์ และสรุปหลังจากนั้นว่า หาก“ชาวยุโรปไม่สามารถแก้ไขวิกฤตในยูเครนได้ เราจะพูดอย่างน่าเชื่อถือได้อย่างไรเกี่ยวกับไต้หวัน”

ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากมาครงออกจากน่านฟ้าจีน ปักกิ่งก็เปิดการซ้อมรบรอบเกาะไต้หวัน ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางว่าเป็นการตอบโต้ที่ไช่ อิง-เหวิน ผู้นำเอกราชของเกาะจัดการประชุมกับส.ส.สหรัฐในแคลิฟอร์เนียเมื่อวันพุธ

ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ อยู่ในจุดตกต่ำเป็นประวัติการณ์ โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ เสนอหลายครั้งเมื่อปีที่แล้วว่า วอชิงตันจะเข้าแทรกแซงทางทหารเพื่อป้องกันไม่ให้ปักกิ่งรวมไต้หวันกับแผ่นดินใหญ่อีกครั้ง ในขณะที่ผู้นำโลกรวมถึงมาครง ดูเหมือนจะพอใจที่จะอยู่ห่างจากความขัดแย้งของไต้หวัน แต่การยืนกรานที่จะผลักดันให้จีนประณามรัสเซียเกี่ยวกับปฏิบัติการทางทหารในยูเครนทำให้สีโกรธเคือง ตามรายงานของสื่อและความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่จีน 

ความขัดแย้งในยูเครนยังขัดขวางการอภิปรายเกี่ยวกับ “ความเป็นอิสระทางยุทธศาสตร์” ในยุโรปเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่มาครงและอดีตนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิลของเยอรมนีได้พูดคุยกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการลดการพึ่งพาสหรัฐฯ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงอำนาจในกรุงเบอร์ลินทำให้รัฐบาลของโอลาฟ โชลซ์กลับใจจากนโยบายต่างประเทศที่สงบสุขมานานหลายทศวรรษเพื่อติดอาวุธให้ยูเครนตามคำสั่งของวอชิงตัน ในขณะที่ทั้งฝรั่งเศสและ เยอรมนีได้จัดหารถหุ้มเกราะ กระสุน และในกรณีของเยอรมนี รถถัง ให้กับกองกำลังของเคียฟ

ด้วยค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงขึ้นและอัตราเงินเฟ้อที่เอื้อต่อความไม่มั่นคงในประเทศ มาครงยังคงสนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรต่อต้านรัสเซียของสหภาพยุโรปทั้ง ๑๐ ชุด แม้จะพูดคุยกับประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียหลายครั้งตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว แต่มาครงก็ยังไม่สามารถผลักดันให้เครมลินยุติการดำเนินการในยูเครนได้ เนื่องจากความไม่จริงใจและหลอกลวงรัสเซีย ที่เยอรมนีและฝรั่งเศสยอมรับเองว่า หลอกลวงรัสเซียเรื่องสนธิสัญญามินส์ คำพูดของ  มาครงต่อปูตินจึงไม่มีน้ำหนัก

รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ กล่าวเมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว และเสริมว่า ประธานาธิบดีฝรั่งเศส“ยังคงพูดถึงความเป็นอิสระทางยุทธศาสตร์ของสหภาพยุโรป แต่ผมมั่นใจว่าพวกเขาจะไม่ได้รับอนุญาตให้มีอิสระในการคิดอย่างแท้จริง”

ชาติยุโรปอย่างฝรั่งเศสยังพูดแบบนี้ เป็นตัวชี้วัดชัดเจนว่าอำนาจของสหรัฐฯแม้แต่กับพันธมิตรยุโรปลดลงจนทำให้เพื่อนไม่เกรงใจเพื่อนแล้ว เพราะมีเพื่อนใหม่ใจป้ำกว่าอย่างจีน ดูท่าฝรั่งเศสอาจเทเมกาฯเหมือน ชาติอาหรับอย่างซาอุฯ และ กลุ่มอ่าว ปรากฎการณ์ท่าทีของมาครงนี้บ่งบอกว่า ขัดใจเมกาในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้หมายความว่า บทบาทของฝรั่งเศสในฐานะแกนนำนาโต้จะลดลงและหักล้างยุทธศาสตร์ในการเผชิญหน้าทางทหารกับรัสเซีย สำหรับจีนยังไมตรีไว้เพราะได้ผลประโยชน์ แต่นาโต้เอเชียก็กำลังขับเคลื่อนอย่างก้าวร้าวในเอเชีย-แปซิฟิกด้วยการสนับสนุนของญี่ปุ่น-เกาหลีใต้และฟิลิปปินส์!!??