ไบเดนร่อแร่!? JPMorgan โวยเมกาเจอพายุRecession วิกฤตธนาคารลากยาว วิกฤตการเมืองขย่มซ้ำจ่อจลาจล

0

บิ๊กภาคการเงินอย่างเจพีมอร์แกนอดไม่ไหวต้องออกมาโวย สภาพเศรษฐกิจมหภาค และปัญหาแบงก์รัน แบงก์ล้มและการควบรวมหักดิบ ส่งผลให้การชะลอตัวทางเศรษฐกิจ วิกฤตการธนาคาร และตลาดหุ้นWall Street ผันผวนไม่หยุด

ความวุ่นวายในอุตสาหกรรมการเงินที่เกิดจากการล่มสลายของ Silicon Valley Bank (SVB) ทำให้Recession หรือภาวะเศรษฐกิจถดถอยรุนแรงของสหรัฐมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างปิดบังซ่อนเร้นไม่ได้

ล่าสุดFedส่งสัญญาณว่าจะยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอยู่เรื่อยๆ โดยแก้ตัวว่ายังไม่มีสัญญานอันตรายจากวิกฤตธนาคาร ภาคการเงินยังปกติ มันสวนทางความจริงที่เห็นอยู่ตรงหน้า นักลงทุนจึงยังคงไม่เชื่อใจสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งของสหรัฐและยุโรปว่าจะยังแข็งแกร่งพอกับการเผชิญมหาพายุเศรษฐกิจครั้งประวัติศาสตร์๋ได้

วันที่ ๘ เม.ย.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์รายงานว่า เจมี ดิมอน(Jamie Dimon) CEO ของ JPMorgan Chase เตือนแรงโดยตั้งข้อสังเกตว่าผู้ให้กู้กำลังเข้มงวดสินเชื่อมากกว่าเดิม เขากล่าวว่า “เราเห็นผู้คนลดการปล่อยสินเชื่อลงเล็กน้อย ลดลงเล็กน้อย และถอยกลับเล็กน้อย” Dimon กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ CNN เมื่อวันพฤหัสบดี ความวุ่นวายในอุตสาหกรรมไม่จำเป็นต้องก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเสมอไป เขากล่าว แต่“มันคือภาวะเศรษฐกิจถดถอย”

ความคิดเห็นของดิมอน เป็นไปตามคำกล่าวของเขาในสัปดาห์นี้ที่ว่า “วิกฤตยังไม่จบสิ้นและจะดำรงอยู่ไปอีกหลายปี” นายธนาคารกล่าวในจดหมายประจำปีถึงผู้ถือหุ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า “เหตุการณ์พลิกผันครั้งนี้ได้เปลี่ยนความคาดหวังของตลาดอย่างมาก ราคาพันธบัตรฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ตลาดหุ้นตกต่ำ และโอกาสที่ตลาดจะถดถอยเพิ่มขึ้น” 

จากที่เขาพูด วิกฤตล่าสุดได้กระตุ้นความกระวนกระวายใจมากมายในตลาดและจะทำให้เงื่อนไขทางการเงินเข้มงวดขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากธนาคารและผู้ให้กู้รายอื่น ๆ กลายเป็นอนุรักษ์นิยมมากขึ้น”

ในช่วงต้นเดือนมีนาคม การฝากเงินจำนวนมหาศาลทำให้ SVB และ Signature Bank ล้มเหลวภายในไม่กี่วัน ผู้ให้กู้รายที่สาม First Republic ได้รับการช่วยเหลือมูลค่า ๓๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารชั้นนำของ Wall Street รวมถึง JPMorgan ในรูปแบบของเงินฝาก 

ผู้ให้กู้รายใหญ่ก้าวเข้ามาท่ามกลางความกลัวของนักลงทุนว่า First Republic อาจกลายเป็นธนาคารสหรัฐรายต่อไปที่ล้มเหลว จากนั้นโรคติดต่อก็แพร่กระจายไปยังยุโรป ซึ่งไม่นาน Credit Suisse ก็พบว่าตัวเองกำลังมีปัญหา และท้ายที่สุดก็ถูก UBS คู่แข่งเข้ายึดครองด้วยข้อตกลงเร่งด่วนที่ธนาคารกลางของประเทศเป็นนายหน้า ถูกบังคับขายในราคาขาดทุนยับ

ผู้บริหารระดับสูงของ JPMorgan ได้เรียกร้องให้มีการควบคุมเพิ่มเติมในภาคการเงินโดยอ้างว่าผู้กำหนดนโยบายควรระมัดระวังมากขึ้นในการผลักดันบริการทาง การเงินบางอย่างไปยัง nonbanks หรือที่เรียกว่าธนาคารเงา

นอกจากนี้เขายังเตือนอีกว่า “ความวุ่นวายในอุตสาหกรรมการเงินที่เกิดจากการล่มสลายของ Silicon Valley Bank (SVB) ยังไม่จบสิ้นและจะยาวต่อไปอีกหลายปี”

จากข้อมูลของ Dimon ความเครียดเกี่ยวกับวิกฤตธนาคารในภูมิภาคทำให้นักลงทุนและนักวิเคราะห์แนะนำว่าธนาคารที่ ‘ใหญ่เกินไปที่จะล้ม’ จะได้รับประโยชน์จากวิกฤต แต่เขากล่าวว่า JPMorgan ต้องการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธนาคารขนาดเล็กเพื่อประโยชน์ของระบบการเงินทั้งหมด หากล่มสลายย่อมส่งกระทบห่วงโซ่ทั้งหมด

ดิมอนย้ำว่า “วิกฤตใด ๆ ที่ทำลายความเชื่อมั่นของชาวอเมริกันที่มีต่อธนาคารของพวกเขา จะสร้างความเสียหายให้กับธนาคารทุกแห่ง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ทราบกันดีอยู่แล้วก่อนที่จะเกิดวิกฤตนี้ ในขณะที่มันเป็นความจริงที่วิกฤตธนาคารครั้งนี้ ‘ได้ประโยชน์’ แก่ธนาคารขนาดใหญ่เนื่องจากการไหลเข้าของเงินฝากที่พวกเขาได้รับจากสถาบันขนาดเล็ก ความคิดที่ว่าการล่มสลายนี้เป็นสิ่งที่ดีสำหรับพวกเขาในทางใดทางหนึ่งนั้นช่างไร้สาระ” 

มาดูทางด้านการเมืองที่พรรคใหญ่สองพรรคส่อเค้าจะสู้กันดุเดือด ชิงบัลลังก์อำนาจ กรณีอดีตปธน.สหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์กำลังจะกลับมาสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแต่ถูกเดโมแครตตัดแข้งตัดขา แสดงว่าคะแนนนิยมเขานำไบเดนและเดโมแครตยังไม่มีตัวเลือกที่จะลงแข่งนอกจากไบเดนที่คะแนนดิ่งลงทุกวัน

สุนทรพจน์ความยาว ๒๕ นาทีของโดนัลด์ ทรัมป์ ณ บริเวณ Mar-a-Lago ของเขาเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ฉีกกระชากหน้ากากประชาธิปไตยจอมปลอมของเมกาอย่างหมดเปลือก ภายหลังจากถูกฟ้องร้องในข้อหาก่ออาชญากรรมในนิวยอร์ก นับเป็นการกลับมาสู่ศูนย์กลางการเมืองอเมริกันอีกครั้งหลังจากซบเซาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 

ทรัมป์ตอกย้ำว่า “ประเทศของเรากำลังจะตกนรก” เขาวาดภาพอเมริกาที่เสื่อมทราม เต็มไปด้วยอาชญากร และอ่อนแอ ส่งเสริมความขัดแย้งที่เป็นอันตรายและไม่จำเป็นในยูเครนอย่างโง่เขลา พุ่งไปสู่การทำลายตนเอง และยืนยันว่าสหรัฐฯ เป็น “ ประเทศที่ล้มเหลว … ประเทศที่ตกต่ำ” 

ตอนนี้ทรัมป์กลับมาสู่เกมอีกครั้งพร้อมกับการล้างแค้น เท่ากับต้องขอบคุณการตัดสินใจของอัลวิน แบรกก์ อัยการสูงสุดของนิวยอร์กที่ให้ตั้งข้อหาปลอมแปลงบันทึกทางธุรกิจแก่เขา ๓๔ กระทง การตัดสินใจที่ขัดแย้งกันของ Bragg ในการดำเนินคดีกับทรัมป์อาจกลายเป็นการตัดสินที่ผิดพลาดโดยเจ้าหน้าที่รัฐครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์อเมริกา ท่ามกลางโลกโซเชียลแพร่ประเด็น อัยการรับจ๊อบจากจอร์จ โซรอสสปอนเซอร์ใหญ่ของเดโมแครตให้กระทำการอุกอาจครั้งสำคัญต่อผู่นำสหรัฐฯด้วยการใช้คดีอาญาเล่นงานคู่แข่งทางการเมือง ซึ่งเรื่องนี้อาจเป็นชนวนหนุนการก่อความวุ่นวายที่ร้ายแรงกว่า กรณีจลาจลแคปปิตัลฮิลล์ในอดีต

ต้องจับตาการปะทะกันทั้งความคิดสองขั้วของพรรคใหญ่ และคู่แข่งการเมืองที่กำลังสู้กันแบบให้ตายกันไปข้างอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน!!