เยอรมันไม่เอาแล้ว!ไม่ส่งรถถังเทพให้ยูเครนเพิ่ม!? รมว.กห.แฉสหรัฐเทนาโต้-ยุโรป ถึงวาระสุดท้ายตะวันตก

0

จากกรณีการสนับสนุนยูเครนของชาติตะวันตกที่มาโดยนาโต้ ซึ่งมีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำสำคัญในการส่งอาวุธและเงินกู้ ต่อมาปรากฏถึงภาวะการขาดแคลนยุทโธปกรณ์ในคลังแสงของสมาชิกชาตินาโต้

ทั้งนี้มีความเคลื่อนไหวที่น่าจับตาเมื่อวันที่ 03 เมษายน 2566 โดยสื่อต่างประเทศรายงานถึง บรรดาสมาชิกยุโรปขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) อาจต้องเผชิญงานยากลำบากในการสนับสนุนเคียฟ สู้รบกับรัสเซีย ในช่วงหลังศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ ปี 2014

โดยเป็นเสียงเตือนของ บอริส พิสโตริอุส รัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี ท่ามกลางความคาดหมายว่าความช่วยเหลือของวอชิงตันที่จะมอบแก่ยูเครน มีความเป็นไปได้ว่าจะลดลง โดยไม่คำนึงถึงว่าผลลัพธ์จะออกมาเช่นไร ซึ่งจากการให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Welt am Sonntag ที่เผยแพร่เมื่อวันที่1 เมษายน 2566

พิสโตริอุส มองว่าสหรัฐฯ อาจหันไปให้ความสนใจกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกมากยิ่งขึ้นหลังศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา 2024 แม้ว่าประธานาธิบดีที่ฝักใฝ่ยุโรปได้รับชัยชนะ และในกรณีเลวร้ายที่สุดอาจนำมาซึ่งวาระสุดท้ายที่ตะวันตกจะให้การสนับสนุนเคียฟ

Russian President Vladimir Putin speaks during a joint press conference with German Chancellor following their meeting over Ukraine security at the Kremlin, in Moscow, on February 15, 2022. – The Kremlin, earlier on February 15, 2022, confirmed a pullback of some Russian forces from Ukraine’s borders but said the move was planned and stressed Russia would continue to move troops across the country as it saw fit. (Photo by Mikhail Klimentyev / Sputnik / AFP)

“หากกรณีเลวร้ายสุดกลายเป็นจริง และประธานาธิบดีอเมริกา ซึ่งปลีกตัวเองออกห่างจากยุโรปและนาโต้ ก้าวเข้าสู่ทำเนียบขาว เราจะเจอความท้าทายต่างๆ ที่ไม่อาจจินตนาการได้ในปัจจุบัน” พิสโตริอุส ระบุ พร้อมกล่าวว่าเมื่อนั้นยุโรปจะจำเป็นต้องชดเชยพันธสัญญาที่ลดน้อยถอยลงไปของสหรัฐฯ ในการปกป้องกลุ่มทหารแห่งนี้ นอกเหนือจากสิ่งที่เรากำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

พิสโตริอุส ยังคาดหมายด้วยว่า การป้องกันตนเองของเยอรมนี คงยังไม่สามารถคลี่คลายได้ในช่วงเวลาดังกล่าว หลังจากกองทัพเยอรมนีเจอปัญหาด้านเสบียงและเงินทุนมานานหลายปี

และคาดหมายว่าคงไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ก่อนปี 2023 นอกจากนี้ เขาบอกด้วยว่าเวลานี้คลังแสงของกองทัพมีอย่างจำกัด และปฏิเสธรับปากมอบรถถังที่ผลิตโดยเยอรมนีให้แก่ยูเครนเพิ่มเติม

รัฐมนตรีรายนี้ไม่ได้พูดอย่างเจาะจงว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ รายใดที่เขาคิดว่าจะเป็นกรณีเลวร้ายสุด อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้สมัครคนดังจากรีพับลิกันหลายราย ในนั้นรวมถึงอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เคยส่งเสียงแสดงความสงสัยต่อแนวคิดเดินหน้าให้การสนับสนุนยูเครน ซึ่งมันก่อความกังวลในเคียฟ

 

นอกจากนี้ยังมีรายงานถึง ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ซึ่งรัฐบาลของเขาได้รับการรับประกันเงินทุนที่เกี่ยวข้องกับยูเครน 112,000 ล้านดอลลาร์ จากสภาคองเกรสเมื่อปี่ที่แล้ว ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสมาชิกรีพับลิกันบางส่วน สำหรับสิ่งที่พวกเขาเรียกว่าการตี เช็คเปล่า ให้เคียฟ

อย่างไรก็ตามในเดือนมีนาคม ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี บอกกับเอพีว่า เขามีความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะลดการสนับสนุน โดยบอกว่า “ถ้าพวกเขาหยุดช่วยเหลือเรา เราจะไม่ชนะ”