ศาลโลกเอียง!? ฟิลิปปินส์ลั่นตัดขาดศาลโลกต.ต.ใช้คดีสงครามยาเสพติดแบล็คเมล์ให้เดินตามวอชิงตัน

0

ปรากฎการณ์แตกหักองค์กรโลกบาลรับใช้วอชิงตันได้เกิดขึ้นอีก ผู้นำฟิลิปปินส์โวยศาลอาญาโลก ลั่นตัดขาดไม่ติดต่อไม่เกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด หลังโดนหยิบยกคดีสงครามยาเสพติดสมัยดูเตอร์เตมาขู่อีก ฟิลิปปินส์แย้งว่าสถาบันกฎหมายของตนเองสามารถดำเนินคดีอาชญากรรมได้ และเวลานี้ไม่ได้เป็นภาคีทำแบบนี้มีวาระแอบแฝง ขณะที่กระแสต่อต้านฐานทัพสหรัฐฯยังมีอยู่คุกรุ่นสืบเนื่องมาจากสมัยอดีตปธน.คนก่อนดูเตอร์เตที่ห่างเหินวอชิงตัน

วันที่ ๒๙ มี.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวซินหัวและอีโคโนมิสต์ รายงานว่า เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ แสดงความไม่พอใจอย่างหนัก ต่อการที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ(ICC) ปฏิเสธคำร้องของรัฐบาลมะนิลา ซึ่งต้องการอุทธรณ์ เพื่อให้ยุติการสอบสวนคดีสงครามยาเสพติด

ผู้นำฟิลิปปินส์กล่าวว่า “เราลงเอยด้วยตำแหน่งที่เราเริ่มต้น เราไม่สามารถร่วมมือกับ ICC ได้เนื่องจากมีคำถามร้ายแรงเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลของพวกเขา” 

การที่ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ปฏิเสธคำร้องอุทธรณ์จากสำนักงานอัยการสูงสุดของฟิลิปปินส์ ที่เรียกร้องการยุติการสืบสวนสอบสวนนโยบายสงครามยาเสพติด ในยุครัฐบาลของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตร์เต ว่า “เป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบ” ในการไม่ติดต่อและไม่มีความเกี่ยวข้องในทางใดกับไอซีซี “อย่างเด็ดขาด”

มาร์กอส จูเนียร์ กล่าวต่อไปว่า “แม้ไม่ได้ร่วมเป็นหนึ่งในรัฐภาคีของธรรมนูญของกรุงโรม ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ใช้ก่อตั้งไอซีซี รัฐบาลมะนิลาไม่สามารถร่วมงานกับสถาบันตุลาการระหว่างประเทศแห่งนี้ ซึ่งมีขอบเขตการใช้อำนาจ ที่ฟิลิปปินส์ถือว่า “เป็นการแทรกแซงกิจการภายใน และเป็นการโจมตีอธิปไตยของประเทศ”

ไอซีซีประกาศเมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา กลับมาสืบสวนสอบสวน “ข้อสงสัยทั้งหมด” ด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม “เพื่อการปราบปรามยาเสพติด” ของรัฐบาลฟิลิปปินส์ในยุคดูเตร์เต โดยช่วงเวลาที่ไอซีซีต้องการสอบสวน คือระหว่างเดือน ก.ค.๒๕๕๙-มี.ค.๒๕๖๒ ก่อนรัฐบาลมะนิลาถอนตัวออกจากไอซีซี

ก่อนหน้านี้ไอซีซีประกาศแผนการสอบสวนอย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อเดือน ก.พ.๒๕๖๑แต่ระงับไปก่อนเมื่อเดือน พ.ย. ๒๕๖๔ เนื่องจากกระทรวงยุติธรรมของฟิลิปปินส์ ส่งหนังสือมายังไอซีซี ให้เหตุผลว่า หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของรัฐบาลมะนิลา ดำเนินการสอบสวนเรื่องนี้คู่ขนานอยู่แล้ว วันนี้เอากลับมาขึ้นโต๊ะทั้งๆที่ฟิลิปปิสต์ถอนตัวจากICC แล้ว บ่งบอกชัดว่าเป็นไปเพื่อการเมืองใหญ่ของหัวโจกสหรัฐฯที่ต้องการกลับมาคุมเอเชีย-แปซิฟิก ต่อต้านจีน และเคลื่อนย้ายกำลังรบเข้าสู่ย่านนี้อย่างต่อเนื่อง

ในช่วงเวลาดังกล่าวสหรัฐฯได้เจรจาขอเปิดฐานทัพเก่าที่ฟิลิปปินส์แต่รัฐบาลมาร์กอสจูเนียร์ยังลังเล ล่าสุดกลับไฟเขียวให้สหรัฐขยายฐานทัพและเข้าร่วมซ้อมรบใหญ่รวมพลข่มจีนอย่างโจ่งแจ้ง

มาร์กอส จูเนียร์และไบเดนจัดการพูดคุยแบบตัวต่อตัวเป็นครั้งแรกนอกรอบการประชุมสมัชชาสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก ไม่กี่เดือนหลังจากบุตรชายของผู้นำเผด็จการผู้ล่วงลับเข้ารับตำแหน่งหลังจากได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งฟิลิปปินส์

นับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี มาร์กอสได้จัดการประชุมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ หลายคน รวมถึงนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศจากสมัยของอดีตประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตอร์เต ซึ่งดูแลยุทธศาสตร์ในการแยกกรุงมะนิลาออกจากวอชิงตัน และยอมรับทิศทางที่เป็นมิตรต่อปักกิ่ง

มาร์กอสกล่าวกับไบเดนระหว่างการประชุมครั้งนั้นว่า “เราเป็นหุ้นส่วนของคุณ เราเป็นพันธมิตรของคุณ เราเป็นเพื่อนของคุณ และในทำนองเดียวกัน เราถือว่าสหรัฐฯ เป็นพันธมิตร และเพื่อนของเรามาโดยตลอด” 

ไบเดนกล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์มีรากลึกมาก เรามีช่วงเวลาที่ยากลำบาก แต่ความจริงก็คือมันเป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญและวิกฤตจากมุมมองของเรา”

เกรกอรี่ โพลิ่ง(Gregory Poling) ผู้เชี่ยวชาญด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของศูนย์ยุทธศาสตร์และการศึกษาระหว่างประเทศในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กล่าวว่า“การประชุมพบกันของสองผู้นำ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าทั้งสองฝ่ายต่างกระตือรือร้นที่จะกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และการทำเช่นนั้นมีความสำคัญสูงสุดสำหรับฝ่ายบริหารของ Biden”

เป็นอันชัดเจนแล้วว่า ฟิลิปปินส์มีจุดยืนเลือกข้างสหรัฐ นับตั้งแต่การเข้ารับตำแหน่ง มาร์กอส จูเนียร์ค่อยๆเปิดเผยนโยบายต่างประเทศที่แรกดูเหมือนว่าเปิดรับทั้งฝั่งจีนและสหรัฐ มาวันนี้เลือกข้างสหรัฐฯเป็นหลัก คิดว่าจะได้รับยกเว้นเรื่องอื้อฉาวแต่หาเป็นเช่นนั้นไม่  พวกที่ยื่นเรื่องขอสอบสวนคดีฆ่าตัดตอนยาเสพติดอีกก็คือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอีกองค์กรภายใต้เงาของวอชิงตันนั่นเอง เมื่อเลือกเป็นบริวารเมกาก็ต้องเจอแบบนี้ น่าจะดูยุโรปเป็นตัวอย่าง

วันนี้อเมริกาได้เข้าถึงฐานทัพเก้าแห่งในอาณานิคมเอเชียเดิมแล้ว กำลังรุกคืบในบทบาทของกลุ่มตัวแทนผลประโยชน์ออคัสพันธมิตรทางทหาร ที่ประกอบด้วย สหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย ซึ่งเกาหลีเหนือและจีนเรียกว่า นาโต้เวอร์ชั่นเอเชีย-แปซิฟิก จับตาดูชะตากรรมประเทศในเอเชียที่ยอมรับใช้วาระวอชิงตันว่า จะได้เจออะไรอีก อย่างน้อยสิงคโปร์หนึ่งมิตรชิดใกล้ของสหรัฐฯก็ชิ่งไปอิงจีนให้ดูแม้ไม่ปล่อยมือจากสหรัฐฯก็ตาม!!??