แหกอกเมกา!! ฮังการีลั่นไม่จับปูติน หมายจับICC ผิดก.ม.เครื่องมือวอชิงตัน ยันจับมือรัสเซียสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

0

ฮังการีหนึ่งในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและนาโต้กล่าวว่าจะไม่จับกุมปธน.ปูติน เพราะการบังคับใช้หมายจับของ ICC กับประธานาธิบดีรัสเซียละเมิดกฎหมายของฮังการี และเริ่มต้นจากภูมิรัฐศาสตร์การเมืองของวอชิงตัน ขาดการสืบสวนอย่างรอบด้านยุติธรรม

วันที่ ๒๗ มี.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์รายงานว่า เกอร์เกลี กุลยาส(Gergely Gulyas) รมว.สำนักนายกรัฐมนตรีวิเตอร์ ออร์บัน (PM Viktor Orban) กล่าวระหว่างการแถลงข่าว การประชุมที่บูดาเปสต์ว่า “รัฐธรรมนูญของประเทศไม่อนุญาตให้มีการบังคับใช้ตามคำสั่งของICC เราสามารถอ้างถึงกฎหมายของฮังการีได้ และโดยพื้นฐานแล้วเราไม่สามารถจับกุมประธานาธิบดีรัสเซีย เนื่องจากกฎหมาย ICC ยังไม่ได้ประกาศใช้ในฮังการี” “การตัดสินใจเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่โชคดีที่สุด เนื่องจากพวกเขามุ่งไปสู่การยกระดับบับรัสเซียต่อไป ไม่ใช่เพื่อสันติภาพ” 

Gulyas กล่าวโดยอ้างถึงหมายจับของ ICC โดยระบุว่าเป็นความเห็นส่วนตัวเนื่องจากฮังการียังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ICC เรียกร้องให้จับกุมปูตินและมาเรีย ลิวา-เบโลวา กรรมาธิการด้านสิทธิเด็กของรัสเซีย โดยกล่าวหาว่าพวกเขามีความรับผิดชอบส่วนตัว ออกคำสั่ง และโดยอ้อมสำหรับ “การบังคับย้ายประชากร” โดยอ้างถึงความพยายามของมอสโกว์ในการอพยพเด็กออกจากเขตสู้รบ สหรัฐฯและยูเครนเชียร์การเคลื่อนไหวดังกล่าว โดยกล่าวหารัสเซียว่า”ลักพาตัว”เด็ก

มอสโกว์ตอบโต้โดยกล่าวว่า ICC ไม่มีอำนาจหรือความชอบธรรม เนื่องจากรัสเซียไม่เคยให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมปี ๑๙๙๘ซึ่งทั้งสหรัฐฯและยูเครนก็ไม่ได้ลงสัตยาบันเช่นกัน  อดีตประธานาธิบดี ดมิทรี เมดเวเดฟ กล่าวว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวหมายถึง“การล่มสลายของกฎหมายระหว่างประเทศโดยสิ้นเชิง” ทางการรัสเซียยังได้เริ่มดำเนินคดีอาญากับหัวหน้าอัยการของ ICC และผู้พิพากษา 3 คนที่เกี่ยวข้องกับหมายจับ ซึ่งรัสเซียถือว่าละเมิดกฎหมายอาญารัสเซีย

สหรัฐฯ ไม่เคยยอมรับ ICC หลังจากถอนการลงนามในสนธิสัญญาโรมในปี ๒๐๐๒ รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านกฎหมายที่อนุญาตให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเหลือชาวอเมริกันหรือสมาชิกของกองทัพพันธมิตร หากพวกเขาถูกควบคุมตัวในกรุงเฮก

แม้ว่าฮังการีจะเป็นสมาชิกของนาโต้และสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัฐบาลของฮังการีก็มักจะขัดแย้งกับชาติตะวันตก โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสงครามยูเครน ฮังการีปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกับสมาชิกสหภาพยุโรปในการห้ามนำเข้าน้ำมันของรัสเซียหลังสงครามเริ่มขึ้น

ปธน.ออร์บันวิพากษ์วิจารณ์ตะวันตกเกี่ยวกับมาตรการคว่ำบาตรที่ย้อนกลับมาทำร้ายยุโรปอย่างสาหัส และประกาศคัดค้านการส่งอาวุธตะวันตกไปยังยูเครนทั้งห้ามลำเลียงอาวุธผ่านประเทศฮังการีด้วย  เช่นเดียวกับการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปต่อรัสเซีย บูดาเปสต์ร่วมกับรัฐบาลตุรกีได้ชะลอกระบวนการเพิ่มฟินแลนด์และสวีเดนเข้าใน NATO 

สัปดาห์นี้รัฐบาล Biden ไม่ได้เชิญฮังการีและตุรกี ซึ่งเป็นพันธมิตร ของNATO เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเพื่อประชาธิปไตย ตามรายงานของ Foreign Policy ความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันและทั้งสองประเทศตกต่ำลงในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เนื่องมาจากความเสื่อมถอยของระบอบประชาธิปไตยและนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯที่พูดอย่างทำอย่าง ถือเอาประโยชน์ของเมกาฝ่ายเดียว

นอกจากฮังการีแล้ว แอฟริกาใต้เป็นอีกประเทศที่คัดค้านการออกหมายจับปธน.รัสเซีย  

นาเลดี ปันดอร์(Naledi Pandor) รัฐมนตรีกระทรวงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาฟริกาใต้ กล่าวกับSouth African Broadcasting Corp.ว่า “แอฟริกาใต้ตระหนักถึงภาระผูกพันทางกฎหมายของตนแต่กรณีนี้ เรายังพิจารณาที่จะเชิญปูตินเข้าร่วมการประชุมสุดยอดในเดือนสิงหาคมที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก” 

สหภาพยุโรปกำลังทนทุกข์ทรมานจากการคว่ำบาตรทั้งอ่อนล้า และมีขาดแคลนปัจจัยสำคัญในการผลิตเช่นพลังงาน ต้องซื้อจากเมกาในราคาแพงทำให้ต้นทุนสินค้าแพงกระฉูด ทั้งหมดเป็นเพราะการกำหนดบทลงโทษทางเศรษฐกิจต่อมอสโกว์ตามก้นวอชิงตัน  นายกรัฐมนตรีมาเตอุส โมราเวียคกี ของโปแลนด์เองยังยอมรับว่าออกมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียอีกก็ไม่มีความหมาย เขากล่าวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า การลงโทษที่เสนอโดยบรัสเซล มีแนวโน้มที่จะถูกต่อต้านจากสมาชิกของกลุ่มอีกแน่นอน

จากข้อมูลของ IMF เศรษฐกิจรัสเซียยังคงเติบโตเร็วกว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีและอีกหลายประเทศในยุโรป ซึ่งเดิมเคยเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ยุโรปกำลังสั่นคลอนจากวิกฤตพลังงานครั้งประวัติศาสตร์และกำลังดิ้นรนกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ ในโปแลนด์ อัตราเงินเฟ้อแตะ ๑๘.๔% ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี ๑๙๙๖

ท่ามกลางความเห็นเป็นเอกฉันท์ที่เพิ่มขึ้นว่านโยบายการคว่ำบาตรล้มเหลว หัวหน้าฝ่ายกิจการต่างประเทศของสหภาพยุโรป โจเซป บอร์เรล กล่าวเมื่อต้นเดือนนี้ว่า“ไม่มีอะไรให้ทำมากไปกว่านี้จากมุมมองของการคว่ำบาตร” แต่เมกายังต้องการให้กลุ่มกดดันต่อไปด้วยการคว่ำบาตรเพิ่มเติม แพ็คเกจที่ 11 จะรวมถึงข้อจำกัดเกี่ยวกับเพชรรัสเซียและ Rosatom บริษัทพลังงานนิวเคลียร์ของรัฐ

คำสั่งหลังนี้ถูกขัดขวางโดยฮังการี ซึ่งขึ้นอยู่กับยูเรเนียมของรัสเซียในการขับเคลื่อนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพียงแห่งเดียว และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการสร้างเครื่องปฏิกรณ์ใหม่ ๒ เครื่องโดยมี Rosatom ที่โรงงานของฮังการี 

นายกรัฐมนตรีฮังการีกล่าวเมื่อเดือนมกราคมว่า เขาจะ“ไม่ยอมให้พลังงานนิวเคลียร์รวมอยู่ในขอบเขตของการคว่ำบาตร” เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนียกลับคว่ำบาตรโรซาตอมทั้งหมด ยังไม่ชัดเจนว่าฟินแลนด์และบัลแกเรีย ซึ่งทั้งคู่ให้พลังงานแก่เครื่องปฏิกรณ์ด้วยเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของรัสเซีย จะสนับสนุนมาตรการดังกล่าวหรือไม่ต้องจับตา!!