สหรัฐช็อคอีก! โดมิโนธนาคารล้มเพิ่มระนาว-ธุรกิจเจ้าหนี้ SVB พลอยน็อคตาม! พันธบัตรสหรัฐ ไร้ทองคำประกันจ่อพัง

0

สหรัฐช็อคอีก! โดมิโนธนาคารล้มเพิ่มระนาว-ธุรกิจเจ้าหนี้ SVB พลอยน็อคตาม! พันธบัตรสหรัฐ ไร้ทองคำประกันจ่อพัง

จากกรณีเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2566 มีรายงานว่า สหรัฐอเมริกา สังปิดกิจการ Silicon Valley Bank หรือ SVB ซึ่งเป็นธนาคารที่เน้นการลงทุนและปล่อยกู้ให้แก่สตาร์ตอัป ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่อันดับที่ 16 ในสหรัฐอเมริกา มีสินทรัพย์ประมาณ 209 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 7 ล้านล้านบาท เกิดปัญหาทางการเงิน และลูกค้าเจ้าของบัญชีแห่ถอนเงิน

จนทางการต้องสั่งปิดกิจการ และให้ Federal Deposit Insurance Corporation หรือ (FDIC) ซึ่งเป็นสถาบันที่ให้ประกันเงินฝากจากความล้มเหลวของธนาคาร มาเป็นผู้ดูแลสินทรัพย์ของ SVB โดยจะขายสินทรัพย์ของธนาคาร เพื่อจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเงินและบรรดาเจ้าหนี้ธนาคาร

ต่อมาวันนี้ (18 มีนาคม 2566) Blockdit World Update ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับสถานการณ์ของสถาบันการเงินในสหรัฐ โดยบอกว่า

ในระบบธนาคารตามมาตรฐานทั่วโลกนั้น ธนาคารแต่ละชาติจะมีการกำหนดค่าอัตราส่วนสำรองขั้นต่ำ ( Required Reserve Ratio : RRR) กำหนดเปอร์เซ็นต์ให้บรรดาธนาคารพาณิชย์ ฝากเงินสำรองฉุกเฉินไว้ที่ธนาคารแห่งชาติ
ประเทศใดรัฐบาลกำหนดค่า RRR ไว้สูงก็หมายความว่าระบบธนาคารของประเทศนั้นฝากเงินแล้วมีความปลอดภัยมากตามไปด้วย เนื่องจากมีเงินค้ำประกันสูง ล้มละลายยาก

ธนาคารใหญ่ร่ำรวยที่สุดในโลก อันดับ 1 – 6 เป็นของจีน ประเทศจีนมีค่า RRR เงินสำรองธนาคารฉุกเฉินราว 7.60% , รัสเซีย 8% , สวิสเซอร์แลนด์ 2.75% , สหภาพยุโรป 1% , ไทย 1% , ญี่ปุ่น 0.8%
ที่น่าตกใจคือ สหรัฐ กำหนดค่า RRR เงินสำรองธนาคารเท่ากับ 0% (ศูนย์เปอร์เซ็นต์) มาตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมาไม่มีความน่าเชื่อถืออะไรเลย พร้อมล้มละลายได้ทุกวินาที ตลอด 24 ชม. ทุกวันตลอดทั้งปีแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย

ใครฝากเงินไว้ในธนาคารสหรัฐ แสดงว่ายอมรับความเสี่ยงการบริจาคเงินฝากไม่ต้องการได้คืน ระบบธนาคารสหรัฐ มาตรฐานต่ำมากเทียบธนาคารจีน รัสเซียไม่ติดฝุ่น สื่อตะวันตกและสื่อไทย ที่เคยฟันธงว่าระบบการเงินการธนาคารรัสเซีย จะล้มเป็นฝุ่นนั้น ทีนี้คงเข้าใจแล้วว่าทำไมจึงเป็นไปไม่ได้ เพราะธนาคารรัสเซีย มีฐานะการเงินมั่นคงกว่าธนาคารสวิสฯ เสียอีก

ยิ่งธนาคารยุโรป อย่าไปเทียบธนาคารรัสเซียเขาเลย คนละชั้นกันมาก นี่เองจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่เมื่อมีลูกค้าแห่ถอนเงินจากธนาคาร สถาบันการเงินสหรัฐ แค่ไม่ถึง 2 วันก็ล้มละลายทันที ไปแล้วถึง 3 แห่ง โดมิโนแรกเริ่มจากวันที่ 10 มี.ค.2566 การล่มสลายของ Silicon Valley Bank (SVB) ธนาคารอันดับ 16 อายุ 40 ปี และล่าสุดวันที่ 17 มี.ค. ผ่านไปแค่ 7 วันเท่านั้น SVB Financial Group ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ SVB ก็ถูกฟ้องล้มละลายไปเรียบร้อยเป็นแห่งที่ 4

SVB Financial Group เป็นเจ้าของธุรกิจอื่นๆ อีกมากมาย ธุรกิจธนาคารที่ล้มแห่งแรกสัปดาห์ที่แล้วเป็นแค่หนึ่งในธุรกิจเขาเท่านั้น แต่การฟ้องล้มละลายเว้นวรรคให้ ธุรกิจจัดการลงทุน , บริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ศาลยังคงดำเนินธุรกิจร่อแร่ต่อไปได้

ขั้นตอนจากนี้คือกระทรวงการคลังสหรัฐ “ยึดทรัพย์ SVB Financial Group ทันที” ทุกกิจการธุรกิจที่ศาลไม่ได้เว้นวรรคไว้ แล้วหน่วยงาน Federal Deposit Insurance Corporation จะนำสินทรัพย์นั้นประมูลขายทอดตลาด
คาดว่าจะได้เงินประมาณ 2,200 ล้านดอลลาร์ โดยมีหนี้คงค้างจ่ายอยู่ประมาณ 3,300 ล้านดอลลาร์ และมีหุ้นประเภทหนึ่งมูลค่า 3,700 ล้านดอลลาร์ เมื่อขายทรัพย์สินได้แล้วจะนำเงินมาชดใช้เฉลี่ยคืนผู้ฝากเงินของ SVB Bank ที่ล้มละลายไปก่อนหน้า ซึ่งผู้ฝากเงินคงได้เงินสดคืนมาไม่ครบ 100%

วิเคราะห์ว่า..ธุรกิจบริษัทลูก และธุรกิจเกี่ยวเนื่องเจ้าหนี้ของ SVB Financial Group ที่เพิ่งล้มละลาย จะพลอยโดนหางเลขน็อกเข้า ICU ไปตามๆ กัน ใครชุบชีวิตไม่ไหวก็ล้มละลายต่อไปอีก ดังนั้นธนาคาร สถาบันการเงิน กระทรวงการคลังชาติใด ยังทำมึนถือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐไว้ ก็ต้องฉุกคิดได้แล้วว่ากระดาษแห่งความเชื่อใจที่ไม่มีทองคำค้ำประกันนี้ ยังน่าเชื่อถืออยู่อีกหรือไม่ขนาดธนาคารประเทศเขาเองล้มไปแล้ว 4 แห่ง พันธบัตรเขาจะมั่นคงได้อย่างไร มันกำลังนำภัยร้าย “โรคติดต่อธนาคารล้ม” มาสู่ประเทศนั้นๆ

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.blockdit.com/world.update

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.facebook.com/profile.php?id=100077775671454