การประท้วงเดือดกำลังเกิดขึ้นอีกครั้งในเมืองหลวงทิบลิซี แห่งจอร์เจียแน่นอนว่าจะไม่ค่อยเห็นในสื่อหลักของตะวันตก เนื่องจากการประท้วงครั้งนี้ เป็นประชาชนท้องถิ่นที่ออกมาเดินขบวนสนับสนุนกฎหมาย “ควบคุมตัวแทนต่างประเทศ” และต่อต้านสหรัฐและสหภาพยุโรป
สื่อทวิตเตอร์เผยแพร่ภาพธงสหภาพยุโรปถูกเผานอกรัฐสภาจอร์เจียเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ในความรู้สึกต่อต้านชาวยุโรปที่ปะทุขึ้นอย่างชัดเจน ฝูงชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นชายสูงอายุได้ฉีกธงสหภาพยุโรปที่แขวนอยู่ด้านนอกอาคารใน Tiblisi และกลายเป็นเถ้าถ่าน
🇬🇪🇪🇺 Anti-Western protests have begun in Georgia. Protesters tear down EU flags and burn them. The purpose of today’s protest is to convince the government to put the bill to a referendum so that the people decide the fate of this law and not a handful of provocateurs. pic.twitter.com/HOoS5NfRWY
— 🅰pocalypsis 🅰pocalypseos 🇷🇺 🇨🇳 🅉 (@apocalypseos) March 14, 2023
โชตา มาร์ติเนนโกเลขาธิการกลุ่มแกนนำการประท้วงกล่าวว่า “เราเปิดเผยอย่างเปิดเผยว่ามีหลายส่วนในสังคมจอร์เจียที่ต่อต้านแนวคิดของการรวมยุโรป” “ทุกคนจะต้องฟังเสียงของประชาชนส่วนนี้ด้วย”
วันที่ ๑๗ มี.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวอัลญาซิรารายงานว่า อะไรอยู่เบื้องหลังการประท้วงล่าสุดในจอร์เจีย? ตลอดหลายสัปดาห์ประชาชนหลายหมื่นคนไม่พอใจที่ร่างกฎหมายที่เรียกว่า ‘ตัวแทนต่างชาติ’ ผ่านรัฐสภา
ร่างกฎหมายผ่านรัฐสภาจอร์เจียได้นำไปสู่การประท้วงและความโกรธแค้นจนในที่สุดสภาฯต้องยอมถอย ถอนร่างออก
กฎหมายฉบับนี้เรียกว่า”ตัวแทนต่างชาติ” มีเนื้อหากำหนดให้องค์กรพัฒนาเอกชนและสื่อที่มีเงินทุนจากต่างประเทศมากกว่าร้อยละ ๒๐ ต้องลงทะเบียนกับรัฐ แต่กลุ่มผู้ประท้วงที่ได้รับการหนุนหลังจากตะวันตกไม่ชี้ประเด็นว่า เพื่อควบคุมการแทรกแซงจากต่างประเทศ ชูประเด็นไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะจะใช้เพื่อกำจัดคู่แข่งทางการเมือง บ่งบอกถึงอิทธิพลกลุ่มโปรเมกาทั้งในระดับอำนาจรัฐและระดับประชาชน กลุ่มต่อต้านรัฐบาลให้เหตุผลว่าหากกลายเป็นกฎหมาย จะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของจอร์เจียกับชาติตะวันตก และหมดโอกาสในการสมัครเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป การประท้วงก่อนหน้านี้ได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีของจอร์เจียด้วย ซึ่งเปิดเผยว่านิยมสหรัฐและสหภาพยุโรป ไม่เอารัสเซีย ขณะที่รัฐบาลชุดนี้ถูกป้ายหน้าว่านิยมรัสเซีย และกฎหมายนี้เหมือนกฎหมายของรัสเซีย
ฤทธิ์เดชของรัสโซโฟเบีย เกลียดชังรัสเซียในประเทศอดีตสภาพโซเวียตแห่งนี้มีน้ำหนักเหมือนในยูเครนฉันใดก็ฉันนั้น
ประะธานาธิบดี ซาโลเม ซูราบิชวิลี มีจุดยืนนิยมอเมริกาแตกต่างจากพรรคจอร์เจียน ดรีม ซึ่งนิยมรัสเซีย โดยเธอกล่าวว่า หากกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้จริง จะเป็นการบั่นทอนโอกาสของจอร์เจีย ในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) และองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) พร้อมทั้งเตือนว่า เธออาจใช้อำนาจยับยั้งกฎหมายนี้
ผลจากการประท้วงหนัก ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาพรรค Georgian Dream ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลได้ถอนการสนับสนุนร่างกฎหมาย ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่ได้รับการต้อนรับจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา แต่เครมลินวิพากษ์ถึงเบื้องหลังเรื่องนี้เช่นกัน
Thousands of people staged a second straight day of protests in the Georgian capital Tbilisi, rallying against a 'foreign agents' law which critics say signals an authoritarian shift and harms Georgia's chances of closer ties with Europe https://t.co/mDmPckFrb9 pic.twitter.com/qdRVkUmp4I
— Reuters (@Reuters) March 8, 2023
เครมลินกล่าวว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับร่างกฎหมายจอร์เจีย และปฏิเสธข้อเสนอแนะที่ระบุว่าได้รับแรงบันดาลใจจากรัสเซีย ฟันธงว่าสหรัฐฯได่กระตุ้นความรู้สึกต่อต้านรัสเซียท่ามกลางผู้ประท้วงหลายพันคนที่ออกมาชุมนุมตามท้องถนนในจอร์เจีย
ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกเครมลินกล่าวกับผู้สื่อข่าว“เราเห็นว่าประธานาธิบดีจอร์เจียกำลังปราศรัยกับประชาชนของเธอจากที่ใด เธอไม่ได้พูดจากจอร์เจีย เธอกำลังส่งคำพูดจากอเมริกา” และวิจารณ์ว่า “มือที่มองเห็นได้ของใครบางคน” กระตุ้นความรู้สึก “ต่อต้านรัสเซีย”
ส.ส.พรรคจอร์เจียน ดรีม กล่าวว่าร่างกฎหมายนี้อ้างอิงจากกฎหมาย Foreign Agents Registration Act ของสหรัฐฯ ซึ่งครอบคลุมแนวคิดควบคุมผู้ทำการแนะนำ หรือชักชวนสมาชิกรัฐสภาให้ทำงานให้กับรัฐบาลต่างชาติเป็นหลัก แต่วอชิงตันได้ปฏิเสธการเปรียบเทียบนี้ ทั้งๆที่ก.ม.แบบเดียวกันนี้มีอยู่ในสหรัฐจริง
จับตากระแสการประท้วงครั้งใหม่ของกลุ่มคนที่เห็นด้วยกับก.ม.ควบคุมอิทธิพลตะวันตกผ่านการสนับสนุนทางการเงินแก่NGO และนักการเมืองของประเทศว่าจะมีน้ำหนักมากพอให้เกิดการทบทวนใหม่อีกครั้งหรือไม่ เหตุการณ์ครั้งนี้บ่งบอกถึงแรงกดดันที่รัฐบาลปัจจุบันอาจต้องเจอเหมือนยูเครนที่ถูกรัฐประหารไมดานในปี ๒๐๑๔ ก็อาจเป็นได้???