วิกฤติธนาคารสหรัฐเป็นภัยคุกคามทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการเมืองสหรัฐซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังย้ำว่า การติดเชื้ออาจแพร่กระจายไปยังยุโรปและที่อื่นๆ หากสหรัฐฯยังไม่เร่งแก้ปัญหาและFed ยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยแรงต่อไป จะส่งผลคุกคามต่อระบบการเงินทั้งโลก
ทุนนิยมอเมริกัน ‘พังทลายต่อหน้าต่อตาเรา’ มหาเศรษฐีสหรัฐ เคน กริฟฟิน(Ken Griffin) ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ตอกย้ำอีกหนึ่งเสียง ให้สัมภาษณ์กับวารสารธุรกิจรายใหญ่ของอังกฤษเมื่อวันจันทร์าที่ผ่านมา
วันที่ ๑๖ มี.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์และสปุ๊ตนิก รายงานว่า พอล เกรก โรเบิร์ตส(Paul Craig Roberts) ประธานสถาบันเศรษฐกิจการเมืองสหรัฐฯ เชื่อว่านโยบายของธนาคารกลางสหรัฐมีส่วนรับผิดชอบต่อวิกฤตการธนาคารที่เกิดขึ้น และอาจนำไปสู่ความล้มเหลวมากขึ้นในภาคส่วนการเงินการธนาคาร
เจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่ในกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ในช่วงปี ๑๙๘๐ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อ เกี่ยวกับความล้มเหลวของธนาคารที่มีชื่อเสียงเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบการเงินของสหรัฐฯ และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์เหล่านั้นในลำดับต่อไป
Roberts อธิบายว่า “เป็นเวลาหลายปีที่ธนาคารกลางสหรัฐคงอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำมาก ดังนั้นดอกเบี้ยของสินทรัพย์ทางการเงินที่ธนาคารมีอยู่ในงบดุลจึงอยู่ในระดับต่ำ เมื่ออัตราดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้น มูลค่าของพอร์ตการลงทุนของพวกเขาจะลดลง แต่หนี้สินของพวกเขาไม่ลดลง”
นโยบายอัตราดอกเบี้ยสูงของเฟดผลักดันให้ธนาคารเข้าสู่ภาวะล้มละลาย และนี่คือสาเหตุหลักของปัญหา”เขากล่าวเตือนว่า“หากเฟดยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะเกิดความล้มเหลวมากยิ่งขึ้น”
นักเศรษฐศาสตร์ชี้ว่าธนาคารขนาดใหญ่ ๕ แห่งของสหรัฐฯ ได้แก่ ธนาคารยักษ์ใหญ่ในนิวยอร์ก ๓ แห่ง และธนาคารยักษ์ใหญ่ในแคลิฟอร์เนีย ๒ แห่ง มีตราสารอนุพันธ์หลายล้านล้านดอลลาร์ที่พวกเขาถือครองอยู่ในปัจจุบัน ถึงกระนั้นฐานเงินทุนของพวกเขาก็อยู่ในระดับพันล้านเท่านั้น แต่พวกเขามีความเสี่ยงเป็นมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์ และพวกเขาไม่มีฐานเงินทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงนั้นเลย ดังนั้นหากมีสิ่งใดเกิดขึ้นอีกครั้งในตราสารอนุพันธ์เหล่านี้เหมือนที่เกิดในศตวรรษก่อนเมื่อเราเกิดวิกฤตครั้งใหญ่ ธนาคารเหล่านั้นก็จะตกอยู่ในอันตรายจ่อล้มละลายทันที”
Roberts เตือนต่อไปว่าหากธนาคารเหล่านั้นประสบปัญหาจากตราสารอนุพันธ์ (derivatives)มันจะแพร่กระจายไปยังยุโรป เขาตั้งข้อสังเกตว่าธนาคารเหล่านั้นมีขนาดใหญ่เกินไปและมีความสัมพันธ์กันอย่างมากมายาวนาน
เขาตั้งข้อสังเกตุว่า“ฉันสงสัยว่าไบเดน หรือใครก็ตามในฝ่ายบริหารของเขา หรือแม้แต่ Federal Reserve มีความคิดเกี่ยวกับขอบเขตของความเสี่ยงหรือไม่ เพื่อให้ชัดเจน ธนาคารขนาดใหญ่ ๕ แห่งของสหรัฐฯ ถือครองตราสารอนุพันธ์ ซึ่งมีมูลค่าเป็นสองเท่าของ GDP ของทั้งโลก พวกเขาถือตราสารอนุพันธ์มูลค่า ๑๘๘ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นไม่มีใครรู้ว่าความเสี่ยงของสิ่งนี้คืออะไร?”
อดีตเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวเสนอว่าวิกฤตในปัจจุบันในภาคการธนาคารของสหรัฐฯ อาจส่งผลกระทบต่อส่วนที่เหลือของโลก โดยสังเกตว่าธนาคารในยุโรปบางแห่ง เช่น Credit Suisse กำลังตกอยู่ในอันตรายแล้ว
โรเบิร์ตส์กล่าวพร้อมย้ำว่า“เราไม่รู้จริงๆ ถึงปัญหาในธนาคารทั้งหมด มันเหมือนกับอนุพันธ์ที่ระเบิดในปี ๒๐๐๗/๒๐๐๘ และเราสูญเสียธนาคาร เราสูญเสียบริษัทวอลล์สตรีท และเป็นสาเหตุให้อัตราดอกเบี้ยต่ำมากในอีก ๑๒ ปีต่อมา ซึ่งนำไปสู่วิกฤตในปัจจุบัน
อุตสาหกรรมการธนาคารของสหรัฐกำลังสั่นคลอนจากความล้มเหลวของธนาคารซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วและยังคงสั่นคลอนตลาดในประเทศและทั่วโลก
เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ รัฐบาลสหรัฐฯและตะวันตกพากันขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในอดีตมีความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและความล้มเหลวของสถาบันการเงินที่มีภาระหนี้มากเกินไป เลเวอเรจเกินเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจกู้ยืมเงินมากเกินไป และไม่สามารถชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืน หรือคงไว้ซึ่งค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ มีการปรับขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้งในปีที่ผ่านมา และนักวิเคราะห์หลายคนเตือนว่าอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้สูงเกินไปที่ ๔.๕%-๔.๗๕% และอาจสูงต่อไปถึง ๗%เพื่อกดดันไม่ให้ฟองสบู่การเงินแตก
ผู้ค้าและนักวิเคราะห์ประเมินว่าวันนี้ความตื่นตระหนกสุกงอมแล้ว และสามารถผลักดันให้นักลงทุนย้ายเงินทุนจากธนาคารขนาดเล็กไปยังสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็นความปลอดภัยของผู้ให้กู้รายใหญ่ที่มีความสำคัญอย่างเป็นระบบ สิ่งนี้จะระบายสภาพคล่องจากส่วนหลังและอาจนำไปสู่ความหายนะได้
สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเมื่อผู้ฝากเงินตื่นตระหนก ส่งผลให้เกิดBank run.เป็นโดมิโนในระดับชาติ เนื่องจากผู้ให้กู้ไม่มีเงิน พวกเขาจะถูกบังคับให้ปิดประตูและปิดกั้นการเข้าถึงบัญชีของผู้ฝาก พูดภาษาชาวบ้านคือ ผู้ฝากถอนเงินไม่ได้นั่นเอง และเนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถปกป้องผู้ฝากเงินได้ทั้งหมด เราอาจเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่แบบปี ๑๙๒๙ หรือแย่กว่านั้น นั่นคือการล่มสลายของระบบการเงินตะวันตกทั้งหมด!!??