กล้าก็มาลุย!! คิมจัดหนักยิงขีปนาวุธจากพื้นสู่พื้นอีก ๒ ลูกหลังส่งขีปนาวุธร่อนจากเรือดำน้ำ ตอบโต้เมกาซ้อมรบใหญ่

0

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เกาหลีใต้และสหรัฐฯ เริ่มการซ้อมรบร่วมในชื่อ ฟรีดอมชีลด์ (Freedom Shield) อ้างว่าการฝึกร่วมมีลักษณะเป็นการป้องกันตัวและ “อิงตามแผนปฏิบัติการในการปกป้องสาธารณรัฐเกาหลีจากการรุกรานที่อาจเกิดขึ้นจากเกาหลีเหนือ” เป็นการระบุชัดเจนถึงท่าทีและจุดมุ่งหมายในการซ้อมรบพุ่งเป้าไปยัคงเกาหลีเหนือโดยตรง

แน่นอนคิม จองอึนแห่งเกาหลีเหนือมีหรือจะหวาดหวั่น เขายังคงยิงทดสอบขีปนาวุธอีก ๒ ลูกไปยังทะเลตะวันออกเพื่อเตือนที่ซ้อมรบกับติดรั้วบ้านเขานั้น เขาไม่ยอมรับ ล้ำเส้นเมื่อไหร่เจอหนักกว่านี้ ก่อนหน้านี้ก็โชว์ยิงขีปนาวุธร่อนจากเรือดำน้ำไปหนึ่งลูก

วันที่ ๑๕ มี.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวสปุ๊ตนิกและรัสเซียทูเดย์รายงานว่า เกาหลีเหนือยืนยันว่าได้ยิงขีปนาวุธพิสัยกลางจากพื้นสู่พื้น ๒ ลูกระหว่างการยิงทดสอบเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาโดยอ้างรายงานที่ออกโดยสำนักข่าวกลางเกาหลีใต้รายงานว่า เปียงยางดำเนินการยิงจรวดสองลูกโดยเป็นส่วนหนึ่งของการสาธิตสำหรับหน่วยทหารย่อยเพื่อต่อสู้กับเป้าหมายของศัตรู

เสนาธิการทหารร่วมของเกาหลีใต้รายงานเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่าการยิงขีปนาวุธสองครั้งซึ่งเกิดขึ้นระหว่างเวลา ๐๗.๔๑ น. ถึง ๐๗.๕๑ น. ตามเวลาท้องถิ่น ขีปนาวุธดังกล่าวบินเป็นระยะไกลทางประมาณ ๖๒๐ กิโลเมตร

ภาพถ่ายที่ปรากฏจากการปล่อย ดูเหมือนจะแสดงให้เห็นสิ่งที่คนวงในอธิบายว่าเป็นขีปนาวุธ KN-23 ที่ติดตั้งบนรางของเกาหลีเหนือ

รัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวว่าไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการตกของขีปนาวุธเกาหลีเหนือในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศ

การปล่อยลงสู่ทะเลญี่ปุ่นถือเป็นการปล่อยครั้งที่ ๕ ของเกาหลีเหนือในปี ๒๕๖๖ และเกิดขึ้นเพียง ๑ วันหลังจากที่เกาหลีใต้เริ่มการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกับสหรัฐฯ เป็นเวลา ๑๑ วัน แม้ว่าเปียงยางจะประท้วงซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ก่อนหน้านี้ เกาหลีเหนือได้แจ้งไปยังกองกำลังทหารของตนถึงความจำเป็นในการเริ่มใช้มาตรการป้องปราม อันเป็นผลมาจากการซ้อมรบทางทหารระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ ซึ่งเกาหลีเหนือมองว่าเป็นความตั้งใจที่จะรุกรานเปียงยางและผู้นำของเกาหลีเหนือ การฝึกซ้อมในปัจจุบันและที่กำลังจะมีขึ้นในช่วงปลายปีนี้คาดว่าจะใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่การฝึกซ้อมลูกนกอินทรี หรือที่เรียกว่า โฟลอีเกิล(Foal Eagle) ซึ่งจัดขึ้นในปี๒๕๖๑ ภายใต้ทำเนียบขาวของทรัมป์

ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และเกาหลีเหนือยังคงตึงเครียดมาตั้งแต่สมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ซึ่งหลายต่อหลายครั้งเรียกคิม จอง อึน ผู้นำเกาหลีเหนือว่าเป็น “มนุษย์จรวด” และในบางครั้งก็ออกมาขู่โจมตีคิมด้วยอาวุธนิวเคลียร์ แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศจะอบอุ่นในช่วงเวลาสั้นๆ ภายใต้การคุมทีมของทรัมป์ แต่ต่อมาความสัมพันธ์ที่ผ่อนคลายก็ถูกทิ้งลงถังขยะหลังจากการเจรจาล้มเหลวหลายครั้ง และการต้อนรับอย่างเย็นชาจากฝ่ายบริหารของ Biden ที่เข้ามาเป็นรัฐบาล

ความต้องการขีปนาวุธนำวิถีของเกาหลีเหนือ ซึ่งรวมถึงขีปนาวุธที่มีหัวรบนิวเคลียร์ ไม่ใช่เรื่องลึกลับซับซ้อนแต่อย่างใด ตลอดสามทศวรรษนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามเย็น เปียงยางได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศต่างๆ ที่ไม่ยอมทำตาม ‘ระเบียบโลกใหม่’ ที่ประกาศโดยประธานาธิบดีจอร์จ เอช ดับเบิลยู บุชในปี ๑๙๙๑ เกาหลีเหนือเฝ้าดูอย่างใจจดใจจ่อ จากยูโกสลาเวียประเทศแล้วประเทศเล่า และอัฟกานิสถานไปจนถึงอิรัก ลิเบีย ซีเรีย และเยเมน เผชิญกับการรุกราน การทิ้งระเบิดของนาโต้ หรือการทำสงครามสกปรกที่ได้รับเงินสนับสนุนจากต่างชาติหลังจากปฏิเสธที่จะเข้าแถวตามวาระวอชิงตัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของอิรักและลิเบีย ซึ่งยอมละทิ้งอาวุธทำลายล้างสูง แต่ถูกสหรัฐฯโจมตีด้วยข้ออ้างโกหกง่ายๆที่โฆษณาจนทั้งโลกเชื่อว่าเป็นจริง ในปี ๒๕๔๖ และ ๒๕๕๔

เปียงยางประกาศสถานะเป็นมหาอำนาจด้านอาวุธนิวเคลียร์อย่างเป็นทางการในเดือนกันยายนปีที่แล้ว เผยแพร่ข้อความของหลักคำสอนด้านนิวเคลียร์ที่กำหนดว่าอาวุธสามารถใช้ตอบโต้การโจมตีด้วยนิวเคลียร์ของศัตรู การโจมตีแบบธรรมดาขนาดใหญ่ หรือการพยายามตัดหัวทำลายประเทศ ความเป็นผู้นำ เอกสารดังกล่าวถือว่าการยับยั้งทางยุทธศาสตร์ของประเทศเป็น “วิธีการอันทรงพลังในการปกป้องอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และผลประโยชน์พื้นฐานของรัฐ” และป้องกันสงครามในภูมิภาค

เกาหลีเหนือดำเนินการทดสอบนิวเคลียร์ทั้งหมด ๖ ครั้งระหว่างปี ๒๕๔๙-๒๕๖๐ ซึ่งวอชิงตันและโซลได้แสดงความกังวลว่าประเทศนี้อาจกำลังเตรียมการทดสอบครั้งใหม่ท่ามกลางความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นล่าสุด ประเทศในเอเชียนี้คาดว่าจะมีขีปนาวุธมากกว่า ๑,๐๐๐ ลูกในหลากหลายประเภทในคลังแสง ตั้งแต่ขีปนาวุธพิสัยใกล้ไปจนถึงพิสัยฮวาซอง ซึ่งเป็นภาษาเกาหลีแปลว่า ‘ทรงพลัง’, ‘นวัตกรรม’ หรือ ‘การเสียสละ’ ‘ เปียงยางจึงตั้งเป็นชื่อที่เหมาะสมสำหรับอาวุธป้องกันอันตรายร้ายแรงดังกล่าว

ในปี ๒๕๖๕ ทดสอบขีปนาวุธอย่างน้อย ๒๗ ครั้งโดยยิงขีปนาวุธได้มากถึง ๑๒ ชนิดที่แตกต่างกัน รวมถึงขีปนาวุธพิสัยไกลพิเศษ Hwasong-12 และ Hwasong-17 ขีปนาวุธทางยุทธวิธี KN-25 ระยะปฏิบัติการสูงสุด ๓๘๐ กม. ขีปนาวุธทางยุทธวิธี KN-23 ที่ติดตั้งบนราง และ Hwasong-8 ซึ่งเป็นยานพาหนะร่อนความเร็วเหนือเสียงที่ติดตั้งกับ Hwasong-14 ซึ่งเป็น ICBM พิสัยไกลอีกรุ่นหนึ่ง

ข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับจำนวนหัวรบนิวเคลียร์ที่ประเทศมีอยู่ในคลังแสงเป็นเรื่องยากที่จะได้มา สถาบันวิจัยสันติภาพระหว่างประเทศสตอกโฮล์มประเมินว่าประเทศนี้มีหัวรบประมาณ ๒๐ หัวรบ และมีวัสดุฟิสไซล์มากพอที่จะสร้างเพิ่มได้อีกตั้งแต่ ๔๕-๕๕ หัวรบ