จากที่สื่อต่างประเทศรายงานถึงวิกฤตเศรษฐกิจของชาติตะวันตกภายหลังต่อเนื่องจากการร่วมกันคว่ำบาตรรัสเซีย ล่าสุดธนาคารใหญ่ชื่อดังต่างพากันล้มละลายทั้งในสหรัฐและอังกฤษ ทำให้ทั่วโลกจับตาว่าประเทศไหนจะเป็นรายต่อไป???
โดยเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2566 Blockdit World Update ได้โพสต์เผยแพร่ถึงสถานการณ์การล้มละลายของธนาคารในสหรัฐอเมริกาว่า
“สหรัฐ นั้นรัฐบาลดำเนินนโยบายการเงินสุรุ่ยสุร่าย คือ ออกตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ขอกู้จนหนี้สาธารณะเกิดเพดาน 133% ของ GDP รายรับต่อปี หมายความว่ารัฐบาลมี รายรับน้อยกว่ารายจ่าย หรือขาดทุนราว -33% ต่อปี
ซ้ำร้ายหนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้ต่างประเทศ จึงเกิดการไหลออกของเงินไม่หยุดจากดอกเบี้ยเงินกู้ ลองคิดง่ายๆ บริษัท ที้มีผลประกอบการขาดทุนจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายคืนปันผลให้ผู้ถือหุ้น
ประเทศสหรัฐ ก็คล้ายกัน ขาดทุนติดลบ -33% ของ GDP รายได้ จะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายคืนให้ผู้ถือหุ้นคือเจ้าหนี้พันธบัตรนั่นเอง ก็ต้องผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งตามกติกาสากลจะต้องประกาศล้มละลายคล้ายรัฐบาลศรีลังกาปีที่แล้ว
แต่รัฐบาลสหรัฐ ทำมึนดื้อแพ่งแหกกติกาสากล จนเกิดอัตราเงินเฟ้อในชาติสูง ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ก็แก้ปัญหาแบบกำปั้นทุบดินโดย ขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปเกิน 5% แล้ว เพื่อนำเงินกู้พันธบัตรชุดใหม่ไปโป๊ะจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรกู้ค้างเก่า ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับระบบ “แชร์ลูกโซ่”
เริ่มหายนะจากแห่งแรก ธนาคาร Silicon Valley Bank (SVB) ขาดทุนพันธบัตรติดลบ 1,800 ล้านดอลลาร์ หุ้นร่วงดิ่งติดลบ -60% วิกฤติ ต้มยำกุ้ง ทางการเงินลามเข้าสู่ธนาคารอื่นๆ แค่ 48 ชั่วโมง ธนาคารสหรัฐสูญเสียมูลค่ากว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ และธนาคารยุโรปพังไปอีก 50,000 ล้านดอลลาร์
ธนาคาร SVB ประกาศล้มละลาย “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” รัฐบาลประกาศยึดกิจการธนาคาร และจ่ายเงินเยียวยาคืนให้ผู้ฝากเงินเริ่มวันที่ 13 มีนาคม 2566 ปลายสัปดาห์ก่อนกำหนดคืนให้ไม่เกินรายละ 250,000 ดอลลาร์
มีบางบริษัทที่เชื่อเครดิตฝากเงินธนาคารนี้มากถึง 225 ล้านดอลลาร์ (7,753 ล้านบาท) ก็ได้เงินเยียวยาคืน 250,000 ดอลลาร์ (8.6 ล้านบาท) หรือได้เยียวยาคืนมาแค่ 0.11% เท่านั้น แต่สุดท้ายรัฐบาลต้องออกประกาศทุ่มเงินอุ้มเงินฝากธนาคาร SVB
ธนาคารรายที่ 2 ล้มละลายต่อมาคือ Silvergate Bank , ล่าสุดทางการ สหรัฐฯ ยังประกาศสั่งปิดและยึดกิจการธนาคารล้มรายที่ 3 คือ Signature Bank อ้างว่าเพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤตธนาคารลุกลามออกไป เป็นสถาบันการเงินในนิวยอร์กที่เน้นปล่อยกู้ให้แก่บริษัทคริปโตเคอร์เรนซี”
ขณะที่ในวันเดียวกัน ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ นักวิชาการทางบูรพคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความลง Blockdit ถึงภาวะเศรษฐกิจของชาติยุโรปด้วยว่า “คนเยอรมันได้ใช้ของแพง กลายเป็นไฮโซสมใจนึก
ราคาอาหารการกินในเยอรมนีแพงขึ้นอีก ๒๒% เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ถ้าผู้นำเยอรมนีอยากใช้ของแพงๆ ให้สมกับเป็นประเทศที่เจริญแล้ว น่าจะถึงเวลาแล้วครับ กับข้าวแพง ของสดแพง ค่าน้ำแพง ค่าไฟแพง อุตสาหกรรมหลายอย่างล่มสลาย ฯลฯ หรูหราคู่ควรกับเป็นบริวารรับใช้อเมริกาจริงๆ”
“ปัญหาใหญ่กำลังตามมา?:ผู้สันทัดกรณีบอกว่าความล่มสลายของ SVB คือส่วนเล็กน้อยของปัญหาใหญ่ๆ ที่จะตามมา ที่แน่ๆ เฟดต้องปั้มเงินเข้าไปอุ้ม มหาศาล
โดนัลด์ ทรัมป์ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าอเมริกากำลังจะเกิด Great Depresion เหมือนสมัยพ.ศ.๒ ๔๗๒ (1929) ผลจะเป็นยังไงต่อไป โปรดติดตามอย่างใกล้ชิดครับ”