มาครงไม่น่ารอด!! ฝรั่งเศส ๓ ล้านประท้วงปะทะตำรวจ ไล่รัฐบาลต้านเมกา-นาโต้เลิกหนุนยูเครน จลาจลหนักศก.ดิ่งเหว

0

การประท้วงนัดหยุดงานของประชาชนฝรั่งเศสนับวันดุเดือดรุนแรงขึ้น มีการปะทะกันระหว่างผู้ประท้วงกับตำรวจปราบจลาจล หนักขึ้นทุกวัน ขณะที่ผู้นำ ปธน.เอมมานูเอล มาครงเดินสายฟื้นสัมพันธ์อาฟริกา เป็นสัปดาห์แต่ก็เจอการต้อนรับแบบขับไล่ไสส่งจากประชาชนอาฟริกันทุกประเทศที่ย่างกรายไปเยือน

สหภาพแรงงานฝรั่งเศสสาบานว่าจะทำให้ประเทศหยุดนิ่งสนิทนับตั้งแต่วันที่ ๗ มี.ค. ชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศเพื่อประท้วงการปฏิรูปเงินบำนาญของประธานาธิบดีมาครง แม้ว่าก่อนหน้านี้ ทำเนียบเอลเลสเซ่(Elyse Palace) จะยืนยันว่าการเพิ่มอายุเกษียณเป็น ๖๔ ปีภายในปี ๒๕๗๓ นั้น “ไม่สามารถต่อรองได้” แต่ดูเหมือนว่าผู้ประท้วงจะเต็มใจที่จะพิสูจน์ในทางตรงกันข้าม ท่ามกลางแรงกดดันเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย เงินเฟ้อทะยานรายได้หดหายในขณะที่ค่าครองชีพสูงปรี๊ดทั้งๆที่อียูอ้างว่าค่าสินค้าพลังงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่ประชาชนสงสัยว่าทำไมข้าวของยังแพงลิบลิ่ว ประชาชนลำบากแต่รัฐบาลยังส่งอาวุธให้ยูเครนตามวาระวอชิงตันไม่หยุด

วันที่ ๙ มี.ค.๒๕๖๖ สำนักข่าวสปุ๊ตนิค รายงานว่า แอคคิวส์ ซาเปียร์(acques Sapir) ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาขององค์กร EHESS (École des Hautes Études en Sciences Sociales ) กล่าวว่า “การนัดหยุดงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคตมีความสำคัญเป็นพิเศษเนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากความคิดเห็นของสาธารณชน เป็นเพราะความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างองค์กรต่างๆ ของสหภาพแรงงานทั้ง ในปารีสและหัวหน้าขององค์กรCEMI ซึ่งมีเครือข่ายทั่วประเทศ (Centre d’Étude des Modes d’Industrialisation)

เขากล่าวเสริมวา “ประเด็นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง แม้แต่สหภาพแรงงานที่มีชื่อเสียงว่าเป็น ‘นักปฏิรูป’ และไม่เคยมีส่วนร่วมในการระดมพลเพื่อต่อต้านการปฏิรูปเงินบำนาญมาก่อนหน้านี้ ก็ยังเข้าร่วมและบางพื้นที่ก็เป็นผู้ริเริ่มในการเคลื่อนไหวในปัจจุบัน”

จนถึงตอนนี้ ปารีสได้จัดหาปืนใหญ่ซีซาร์ มิสไซล์ต่อต้านรถถัง แบตเตอรีมิสไซล์ป้องกันภัยทางอากาศโครตาเล และเครื่องยิงจรวดจำนวนมากให้กับยูเครน เมื่อเดือนที่แล้ว ฝรั่งเศสให้คำมั่นว่าจะขยายความช่วยเหลือทางทหารไปยังเคียฟและจัดหายานเกราะต่อสู้ให้ นอกจากนี้ยังฝึกทหารยูเครนประมาณ ๒,๐๐๐ นายบนแผ่นดินฝรั่งเศส

อย่างไรก็ตาม ความอ่อนล้าจากความขัดแย้งในยูเครนค่อยๆ เป็นรูปเป็นร่างขึ้นในฝรั่งเศส ผู้คนหลายพันคนไม่พอใจเกี่ยวกับการส่งมอบอาวุธของฝรั่งเศสให้ยูเครนเดินขบวนผ่านปารีสในวันที่ 26กุมภาพันธ์ การประท้วงเกิดขึ้นในส่วนอื่นๆ ของฝรั่งเศสด้วย ผู้ประท้วงถือธงชาติและป้ายที่มีข้อความว่า”เพื่อสันติภาพ” “ไม่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 3” และ “ออกจากนาโต้กันเถอะ” พลเมืองเหล่านี้ตระหนักดีถึงวิกฤตหลายด้านที่กำลังเกิดขึ้น

ด้านวิกฤตพลังงานของยุโรปซึ่งเริ่มต้นจากการรวมกันของ “นโยบายสีเขียว” ที่คาดการณ์ว่าจะยุติการระดมทุนของเชื้อเพลิงฟอสซิลและการขาดดุลพลังงานหลังโควิด ได้รับการขยายอำนาจโดยการคว่ำบาตรด้านพลังงานต่อต้านรัสเซียของตะวันตกซึ่งครอบคลุมถึงถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซ และ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากปฏิบัติการทางทหารพิเศษของมอสโกว์ในยูเครน ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลฝรั่งเศสและพันธมิตรนาโต้กำลังยืดเยื้อความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนโดยจัดหายุทโธปกรณ์และการฝึกอบรมทางทหารอย่างหนักแก่รัฐบาลเคียฟอย่างไม่ลดละ

แรงกดดันที่ท่วมท้นอีกด้านหนึ่งคือ ต้นทุนด้านพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นยังคงกัดกินฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้รัฐบาลคาดว่าค่าไฟในครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นมากถึง ๑๕% ถึงกระนั้นตาม Sapir มันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น

สถาบันบรูเกล (Bruegel) ได้คำนวณว่าตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๐๒๒ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ใช้จ่าย ๙๒,๐๐๐ ล้านยูโร คิดเป็นประมาณ ๔% ของ GDP เพื่อปกป้องชาวฝรั่งเศสจากผลกระทบของวิกฤตพลังงาน โดยรวมแล้วใช้จ่ายถึง ๖๕๗ พันล้านยูโรถูกใช้โดยประเทศในสหภาพยุโรป, ๑๐๓ พันล้านยูโรโดยบริเตนใหญ่; และ ๘ พันล้านยูโรโดยนอร์เวย์ ประเด็นนี้ซาเปียร์ ย้ำว่าจำนวนเงินเหล่านี้เทียบได้กับการใช้จ่ายในช่วงการระบาดของ COVID-19 ทั้ง ๓ ปีเลย

วิกฤตพลังงานกำลังส่งผลกระทบต่อชาวฝรั่งเศสอย่างหนักใน ๓ ทางที่แตกต่างกัน ประการแรกมันส่งผลกระทบต่อผู้คนผ่านค่าเชื้อเพลิงและค่าความร้อนที่เพิ่มขึ้นแม้จะมีมาตรการของรัฐบาลฝรั่งเศส ประการที่สองผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตอาหารและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น ประการสุดท้ายวิกฤตพลังงานนี้ยังส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในฝรั่งเศส บริษัทอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางจำนวนมากกำลังถูกครอบงำด้วยราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นและปิดกิจการอย่างต่อเนื่อง

ซาเปียร์กล่าวสรุปว่า “ชาวฝรั่งเศสมีปฏิกิริยาเชิงลบอย่างมากต่อผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมของวิกฤตนี้ หรืออีกนัยหนึ่งคือปัญหาเงินเฟ้อที่เรากำลังประสบอยู่ และหากพวกเขายังแสดงความโกรธเกรี้ยวด้วยการประท้วงโครงการปฏิรูประบบบำนาญ ก็ไม่ต้องสงสัยเลย เพราะประชาชนตระหนักดีถึงภัยคุกคามต่อการจ้างงานและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งระบบจะส่งผลต่อชีวิตของพวกเขาสาหัสเพียงใด” 

สถานการณ์วันนี้ที่ฝรั่งเศสมีแต่ตึงเครียดหนักขึ้น โดยมาครงไม่มีท่าทีในการผ่อนปรน หรือมีการเจรจาต่อแกนนำการชุมนุม โลกกำลังจับตาว่าเส้นทางนี้จะไปจบลงตรงไหน เมื่อความโกรธแค้นของประชาชนยิ่งนานวันยิ่งทวีความร้อนแรง!!