มาช้าดีกว่าไม่มา! ประชาธิปัตย์ขยับแล้ว เยียวยา“เกษตรกร” ถ้าจะดีต้องคิดยุทธศาตร์ข้างหน้าด้วย ะทำอย่างไรให้ประเทศไทยจะกลายเป็นครัวโลก
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ไวรัสโคโรนา (โควิด-19) สร้างความกังวลใจให้กับคนทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยทางรัฐบาลเองก็ได้มีความพยายามที่จะดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้ ทั้งจากมาตรการ “เราไม่ทิ้งกัน”เยียวยา 5,000บาท โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก เยียวยาลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระ ซึ่งปรากฎว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการเยียวยาและไม่ค่อยได้รับการพูดถึงเลยก็คือ “เกษตรกร” อีกทั้งการมาตรการการเยียวยาต่าง ๆ ก็ออกมาจากฝากฝั่งของนายกรัฐมนตรีเป็นหลัก ที่ผ่านมาไม่ได้เห็นถึงบทบาทของพรรคร่วมรัฐบาลเลย
กระทั้งมีความเคลื่อนไหวจากฝากฝั่งของพรรคประชาธิปัตย์ นั่นก็คือ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และรับตำแหน่ง รัฐมนตรี กระทรวงสำคัญอย่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญยิ่งในการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรไทย
หลังจาก “เฉลิมชัย ศรีอ่อน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้ ปลัดกระทรวงกระทรวงเกษตรฯ ประสานการทำงานกับปลัดกระทรวงการคลัง ปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรให้ครอบคลุม เพื่อให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ได้รับการช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐบาลมากที่สุด
ทั้งนี้ให้ปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการของรัฐจะไม่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกระทรวงการคลัง
ทั้ง กลุ่มประมง กลุ่มปศุสัตว์ กลุ่มนาเกลือ รวมทั้งกลุ่มเกษตรกรชาวนาชาวไร่ข้าวโพดชาวไร่มันสำปะหลัง ชาวสวนปาล์ม และชาวสวนยางพาราที่รายชื่อตกหล่นไม่ได้ขึ้นทะเบียนในโครงการประกันรายได้เกษตรกรเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป นอกจากนี้กำชับให้จัดทำแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรเสนอต่อกระทรวงการคลัง
ด้านนายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ได้ปรับปรุงแอพพลิเคชัน สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล หรือ Farmbook ในช่วงที่ให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรปี 2562/63 และติดตามผลการโอนเงินที่รับจากโครงการประกันรายได้ ปัจจุบัน Farmbook มีเกษตรกรเข้ามาปรับปรุงทะเบียนกว่า 6 ล้านครัวเรือนสำหรับเกษตรกรที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนและต้องการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรสามารถใช้งานแอพพลิเคชัน Farmbook ผ่านโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟนเพื่อแจ้งข้อมูล 4 ประเภทคือ
- การแจ้งปรับปรุงข้อมูลกิจกรรมการเพาะปลูก เฉพาะแปลงเดิมที่ได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ในปีการผลิตที่ผ่านมาคือ ข้อมูลเอกสารสิทธิ์ เช่น เนื้อที่ ที่ตั้ง พิกัด กิจกรรมการเกษตร ประกอบด้วย ชนิด พันธุ์พืช วันที่ปลูก วันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว เนื้อที่ปลูก ปีเพาะปลูก และประเภทการทำการเกษตรกรรมยั่งยืน
- การติดตามผลการแจ้งปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร แสดงรายละเอียดแปลงที่มีการแจ้งปลูก เพื่อติดตามสถานะการแจ้งปลูก ทั้งนี้ แปลงที่แจ้งปลูกผ่านแอพพลิเคชัน สามารถลบ แก้ไข กรณีแจ้งปลูกผิด แต่สถานะการแจ้งปลูกต้องยังไม่จัดชุด ส่วนแปลงที่แจ้งปลูกผ่านเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งลบ แก้ไขที่สำนักงานเกษตรอำเภอเท่านั้น
- การติดตามผลการเข้าร่วมโครงการภาครัฐด้านการเกษตร โดยแสดงรายการโครงการที่เข้าร่วมและผลการโอนเงินตามเงื่อนไขโครงการและ
- การคาดการณ์ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยแสดงรายละเอียด ช่วงวันที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คาดการณ์ผลผลิต คาดการณ์กำไร และราคาขาย
อย่างไรก็ตามยังมีข้อเสนอที่น่าสนใจหลายเสียงผู้ตรงกันว่านอกเหนือจากมาตรการเยียวยา“เกษตรกร”ที่กำลังเริ่มดำเนินการอยู่ขณะนี้ ต้องมองไปข้างหน้า สิ่งที่ควรจะทำต่อจากคือการตั้งรับ “วิกฤตภัยแล้ง” ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19จางลง ซึ่งปัญหาการขาดแคลนอาหารของโลกจะต้องเข้ามาแทน หรือสิ่งค้าภาคเกษตรจะเป็นที่ต้องการของโลก ซึ่งมีการคาดการณ์ไว้จะเป็นปัญหาใหญ่ต่อไป จะทำอย่างไรให้ประเทศไทยจะกลายเป็นครัวโลก