ตกต่ำปิดไม่อยู่!? กูรูเศรษฐศาสตร์มะกันฟันฉับ จุดจบดอลลาร์มาเร็วหยวนแรง โพลซัดไม่เอาทั้งไบเดน-ทรัมป์

0

สภาวะตกต่ำของสหรัฐอเมริกาเผยโฉมมากขึ้นอย่างรอบด้านทั้งการเมือง-เศรษฐกิจและแม้แต่การทหาร หนักสุดเห็นจะเป็นเศรษฐกิจ วันนี้พรรคเดโมแครตส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ Biden ลงแข่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง โพลล่าสุดบอกว่ามีเพียง ๓๗% เท่านั้นของเพื่อนร่วมงานในพรรคของเขาที่ต้องการให้ประธานาธิบดีวัย ๘๐ปีลงสมัครรับเลือกตั้งใหม่ 

อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่แข่งคนสำคัญของไบเดนก็ประกาศความตั้งใจที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งปธน.อย่างเป็นทางการอีกครั้งปลายปีนี้เช่นกัน แต่ผลสำรวจก็พบความเปอร์เซนต์สนับสนุนในพรรครีพับลิกันก็ไม่เป็นเอกฉันท์ ที่แย่กว่านั้นโพลของคนอเมริกันโดยรวมพบว่า ไม่ต้องการทั้งไบเดนและทรัมป์ แล้วทั้งสองพรรคจะเลือกใครมาลงแข่งคงต้องจับตา

นอกจากความตกต่ำทางการเมืองภายในประเทศแล้ว ที่หนักหนาสาหัสคงจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ที่ฝ่ายบริหารไบเดนพยายามสุดฤทธิ์กดเงินเฟ้อและผลักดันเศรษฐกิจไม่ให้ต้องเกิดรีเซสชั่นเหมือนยุโรป แต่ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นไปตามหวัง  ล่าสุดนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง ที่มีสมญานามเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักการเงินว่า ‘Doctor Doom’ ฟันธงว่าการครองอำนาจของเงินดอลลาร์สหรัฐกำลังจะสิ้นสุดลง ตอกย้ำสถานภาพตกต่ำของสหรัฐอเมริกาในยุคไบเดนอย่างไม่อาจปิดบังซ่อนเร้น

วันที่ ๗ ก.พ.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์และ รายงานว่า นูเรียล รูบินี (Nouriel Roubini) นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังผู้ได้รับสมญานามว่า “ดอกเตอร์ดูม”คาดการณ์ว่าระบอบสกุลเงินหลายขั้วน่าจะเข้ามาแทนที่สกุลเงินขั้วที่มีฐานเป็นสกุลเงินดอลลาร์ในปัจจุบัน

สถานะของเงินดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินสำรองหลักของโลกกำลังตกอยู่ในอันตราย รูบินีนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดัง ผู้ทำนายวิกฤตการเงินโลกในปี ๒๕๕๑ เขียนบทความลงในสื่อ Financial Times เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

เขาระบุว่า “ในขณะที่ยังไม่มีสกุลเงินใดที่สามารถแทนที่สกุลเงินดอลลาร์บนฐานได้ทั้งหมด แต่สกุลเงินของสหรัฐฯก็กำลังสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับเงินหยวนของจีนอย่างรวดเร็ว” 

“เนื่องจากการใช้เงินดอลลาร์เป็นอาวุธเพิ่มขึ้นเพื่อจุดประสงค์ด้านความมั่นคงของประเทศ และการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างตะวันตกกับมหาอำนาจที่คิดแก้ไข เช่น จีน รัสเซีย อิหร่าน และเกาหลีเหนือ บางคนโต้แย้งว่าการเลิกใช้ดอลลาร์จะเร่งตัวขึ้นในโลก ที่จะเกิดการแบ่งอิทธิพลออกเป็นสองขั้วทางภูมิรัฐศาสตร์มากขึ้น ได้แก่ อิทธิพลที่อยู่รอบๆ สหรัฐฯ และจีน มีแนวโน้มว่าระบอบการปกครองแบบสองขั้ว จะทำให้เกิดสกุลเงินจะเข้ามาแทนที่ระบอบขั้วเดียวของสหรัฐฯในที่สุด” 

ผู้ที่ไม่เห็นด้วยต่างระบุว่าเงินหยวนไม่สามารถเป็นสกุลเงินสำรองที่แท้จริงได้ เว้นแต่ปักกิ่งจะยกเลิกการควบคุมเงินทุน ยอมรับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างถาวร และอัตราแลกเปลี่ยนของเงินหยวนจะยืดหยุ่นมากขึ้น แต่นักเศรษฐศาสตร์รายนี้โต้แย้งว่าประเด็นดังกล่าวใช้ไม่ได้อีกต่อไป เนื่องจากวอชิงตันกำลังบ่อนทำลายความน่าดึงดูดใจของสกุลเงินของตนด้วยการคว่ำบาตร ใช้เป็นอาวุธลงโทษประเทศที่ไม่ยอมสยบอำนาจ

รูบินีโต้แย้งว่า “ความยืดหยุ่นของอัตราแลกเปลี่ยนอย่างสมบูรณ์และการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศนั้น ไม่จำเป็นสำหรับประเทศหนึ่งในการบรรลุสถานะสกุลเงินสำรอง… และในขณะที่จีนอาจมีการควบคุมเงินทุน สหรัฐฯ ก็มีเวอร์ชั่นของตัวเอง ที่ทำให้ลดความน่าสนใจของสินทรัพย์ดอลลาร์ในหมู่ศัตรูและพันธมิตร สิ่งเหล่านี้รวมถึงการคว่ำบาตรทางการเงินต่อคู่แข่ง การจำกัดการลงทุนขาเข้าในภาคส่วนและบริษัทที่อ่อนไหวต่อความมั่นคงของชาติ และแม้แต่การลงโทษกับเพื่อนที่ละเมิดหลัก” 

นักเศรษฐศาสตร์ยังตั้งข้อสังเกตว่าจีนได้เพิ่มการทำธุรกรรมเงินหยวนกับพันธมิตรต่างประเทศ และกล่าวว่าแนวโน้มนี้มีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไปมากขึ้น โดยประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่จำนวนมากต้อนรับ “ความสามารถในการซื้อขายน้ำมันในเงินหยวนจีน และถือหุ้นในทุนสำรองมากขึ้นในสกุลเงินของจีน  เนื่องจากพวกเขาทำการค้ากับจีนมากกว่าสหรัฐฯ ” 

เขาเสริมว่า “เทคโนโลยีทางการเงินใหม่ๆ เช่น CBDC ระบบการชำระเงินแบบ Alipay การแลกเปลี่ยนสายระหว่างจีนกับคู่ค้า ทั้งแอนะล็อกระดับชาติของระบบการส่งข้อความ SWIFTไปเป็นทางเลือกใหม่ของบริกส์ จะเร่งการถือกำเนิดของระบบการเงินและการคลังของโลกสองขั้ว”

รูบินีสรุปว่า “ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ การลดลงของเงินดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินสำรองหลักมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นภายในทศวรรษหน้า การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นระหว่างวอชิงตันและปักกิ่งจะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระบอบทุนสำรองโลกแบบสองขั้วเช่นกัน”

เมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมา สื่อบลูมเบิร์กรายงานว่า ทางการจีนได้ขยายเวลาซื้อขายเงินหยวนในประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายของรัฐบาลที่จะขยายการใช้สกุลเงินของประเทศข้ามพรมแดนและเพิ่มกิจกรรมการซื้อขายเงินหยวนให้มากขึ้น

มาตรการดังกล่าวสนับสนุนความคิดริเริ่มก่อนหน้านี้ของปักกิ่งที่มุ่งส่งเสริมการใช้สกุลเงินประจำชาติจีนในการทำธุรกรรมกับผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่และสินค้าโภคภัณฑ์ เมื่อเดือนที่แล้ว ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยืนยันว่าปักกิ่งพร้อมที่จะซื้อพลังงานในสกุลเงินหยวนแทนดอลลาร์สหรัฐกับประเทศสมาชิกของคณะมนตรีความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) และทางกลุ่มอ่าวได้ยืนยันตามนั้น

สตีเฟน เจน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ (Stephen Jen:Eurizon SLJ Capital) กองทุนเฮดจ์ฟันด์ในลอนดอน วิเคราะห์กับบลูมเบิร์ก “ปักกิ่งพยายามอย่างหนักเพื่อให้เงินหยวนมีความเกี่ยวข้องในฐานะสกุลเงินระหว่างประเทศ เพื่อตอบโต้ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และความรู้สึกที่ไม่เป็นมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา” 

เงินหยวนพุ่งขึ้นสู่ระดับที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบ ๔ เดือนหลังจากจีนประกาศขยายเวลาซื้อขายตามแผน ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เนื่องจากนักลงทุนทั่วโลกเดิมพันกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนหลังจากจีนปลดล็อกนโยบายปลอดโควิด!!