เมกากระอัก!! จีนได้สัมปทานเหมืองลิเธียมโบลิเวียแหล่งใหญ่ที่สุดในโลก ครองสามเหลี่ยมขุมทรัพย์ละตินหลังบ้านUS

0

มหาอำนาจเดี่ยวสหรัฐฯกำลังดิ้นรนเพื่อควบคุมห่วงโซ่อุปทาน ‘แร่แห่งอนาคต’ ลิเธียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับแหล่งพลังงานหมุนเวียนและอุปกรณ์ไฮเทคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้าที่ขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือดในสนามรบทางเศรษฐกิจ กำลังมุ่งสู่ศตวรรษที่ ๒๑ เช่นเดียวกับถ่านหินเมื่อสองศตวรรษก่อน

วันที่ ๑ ก.พ.๒๕๖๖ สำนักข่าวรัสเซียทูเดย์รายงานว่า เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนกลุ่มสมาคมจีน  ได้ทำสัญญาในลาปาซ ประเทศโบลิเวียซึ่งให้สิทธิ์ในการพัฒนาโรงงานลิเธียมสองแห่ง บริษัทจีนจะลงทุนกว่า ๑ พันล้านดอลลาร์ในขั้นตอนแรกของโครงการ

ในพิธีลงนามในสัญญาที่เมืองลาปาซ ประธานาธิบดีลุยส์ อาร์เซ (Luis Arc) ของโบลิเวียกล่าวว่าประเทศมีเป้าหมายที่จะดำเนินการเชิงพาณิชย์และส่งออกแบตเตอรี่ลิเธียมในไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๘ เขากล่าวว่า “วันนี้เป็นการเริ่มต้นยุคของการผลิตลิเธียมของโบลิเวียในเชิงอุตสาหกรรม”

โบลิเวียมีแหล่งแร่ลิเธียมที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก โดยมีประมาณ ๒๑ ล้านตัน หรือ ๒๓.๖% ของทั้งหมดในโลกที่ระบุปี ๒๕๖๔

แร่ธาตุลิเธียมเป็นวัสดุสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ซึ่งให้พลังงานแก่ทุกสิ่งตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปจนถึงรถยนต์ไฟฟ้า ที่สำคัญกว่านั้น องค์การสหประชาชาติถือว่าเป็น”เสาหลักสำหรับเศรษฐกิจที่ปราศจากเชื้อเพลิงฟอสซิล” ซึ่งมองว่าเป็นหนทางหลักในการจัดเก็บพลังงานในโครงข่ายพลังงานสะอาดในอนาคต ด้วยเหตุนี้ ลิเธียมจึงกลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยราคาของมันพุ่งสูงขึ้นกว่า ๕๐๐% ในช่วงสองปีที่ผ่านมา

กระแสภูมิรัฐศาสตร์กำลังผลักดันให้มหาอำนาจโลกแย่งชิงแร่ล้ำค่า มีการต่อสู้ว่าใครเป็นผู้ควบคุมห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเริ่มต้นโดยสหรัฐฯ ซึ่งปฏิเสธกระแสโลกาภิวัตน์และพยายามที่จะยืนยันถึงอิทธิพลของตนที่มีต่อสินค้าโลกที่สำคัญโดยการบังคับให้เปลี่ยนแนวใหม่และบ่อนทำลายคู่แข่ง (ลักษณะสำคัญของแนวทางที่มีต่อรัสเซียและจีน)

ด้วยตำแหน่งที่โดดเด่นเหนือสินค้าและเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน จีนจึงกลายเป็นจุดเน้นของความพยายามของรัฐบาลไบเดน ในการหวลกลับมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมให้ได้ ท่าทีที่แข่งขันกันมากขึ้นของวอชิงตันทำให้ทั้งสองประเทศขัดแย้งกันหนักขึ้นว่า ใครสามารถค้นหาและใช้ประโยชน์จากแหล่งแร่ลิเธียมทั่วโลก ใครก็ตามที่ควบคุมห่วงโซ่อุปทานจะเป็นผู้ครอบครองอุตสาหกรรม

จีนมีจุดเริ่มต้นที่ครอบครองทั้งลิเธียมจำนวนมากและความสามารถในการขุด อยู่ในอันดับที่ ๖ ของโลกสำหรับทรัพยากรลิเธียมโดยรวม ๕.๑ ล้านตัน และอันดับที่ ๔ ในด้านปริมาณสำรองที่ขุดได้ ๑.๕ ล้านตัน  

สหรัฐอเมริกาเองมีทรัพยากรลิเธียมมากกว่า ๙.๑ ล้านตัน แต่ปริมาณสำรองที่ขุดได้ในปัจจุบันมีเพียง ๗๕๐,๐๐๐ ตัน ทรัพยากรในกรณีนี้เกี่ยวข้องกับการสะสมของลิเธียมที่ทราบในขณะที่ปริมาณสำรองที่ขุดได้ คือทรัพยากรที่ถูกสกัดและนำไปใช้แล้วในปัจจุบัน

ในขณะที่ออสเตรเลียมีลิเทียมสำรองอยู่ ๕.๗ ล้านตัน อาจช่วยเปลี่ยนความสมดุลได้ แต่ดูเหมือนว่าสหรัฐฯ จะสูญเสียการยึดเกาะในภูมิภาคอเมริกากลางและใต้ ที่อุดมไปด้วยแหล่งลิเธียมซึ่งวอชิงตันได้ครองอำนาจมานานหลายทศวรรษ 

ในขณะเดียวกัน จีนก็กำลังก้าวหน้าอย่างมากในภูมิภาคสำคัญเหล่านี้

ละตินอเมริกาเพียงแห่งเดียวครอบครอง ๕๖ %ของแหล่งสะสมลิเธียมของโลก กระจุกตัวอยู่ในโบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี ที่เรียกว่า”สามเหลี่ยมลิเธียม” และบราซิล แร่ปริมาณ ๒๑ ล้านตันของโบลิเวียแทบไม่ถูกใช้ประโยชน์ และในขณะที่อาร์เจนตินาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรโดยรวมทั้งหมด ๒.๒ ล้านตันจากทั้งหมด ๑๙ ล้านตัน เห็นได้ชัดว่ามีช่องว่างให้เติบโต นอกจากนี้เม็กซิโกยังมี ๑.๗ ล้านตัน ขณะนี้ สหรัฐฯและจีนกำลังแข่งขันกันเพื่อเข้าถึงอุปทานจำนวนมหาศาลนี้อย่างเคร่งเครียด

สหรัฐฯ ได้อ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าโลกเหนือทวีปอเมริกาผ่านนโยบายลัทธิมอนโร ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดขึ้นของอำนาจการแข่งขันอื่นใดในภูมิภาคนี้ เพื่อรักษาการครอบงำนี้ วอชิงตันได้ทำสงครามมูลค่ามหาศาลมาหลายศตวรรษและสร้างการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองและการรัฐประหารในประเทศแถบลาตินอเมริกา ความพยายามล่าสุดล้มเหลวในการถอดนิโคลัส มาดูโรออกจากเวเนซุเอลาซึ่งเกี่ยวข้องกับน้ำมัน หรือความพยายามสนับสนุนฝ่ายต้านบราซิลให้โค่นล้มรัฐบาลใหม่ที่สนิทกับรัสเซียมากกว่าสหรัฐฯ

ในขณะที่การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจระหว่างสหรัฐฯ และจีนกำลังร้อนระอุ ปักกิ่งพยายามลงทุนในธุรกิจลิเธียมหลายแห่งทั่วอเมริกาใต้ สหรัฐฯ ตอบโต้ด้วยการใช้ประโยชน์จากอำนาจทางการเมืองเท่าที่จะทำได้ มีความพยายามที่จะปิดกั้นบริษัทจีนไม่ให้สำรวจลิเธียมในเม็กซิโก และเมื่อเร็ว ๆ นี้ แคนาดาได้สั่งให้บริษัทจีนสามแห่งปลดออกจากบริษัทแร่ของตนโดยอ้างเรื่องความมั่นคงของชาติ ทั้งสองประเทศนี้เป็นภาคีของข้อตกลง USMCA – สหรัฐอเมริกา – เม็กซิโก – แคนาดา เพราะถ้าไม่มีจีน เหมืองลิเธียมก็จะเปิดกว้างมากขึ้นสำหรับการลงทุนของอเมริกา

ความพยายามของวอชิงตันไม่ได้ประสบความสำเร็จในทุกกรณี โบลิเวีย ประเทศอันดับหนึ่งสำหรับปริมาณสำรองลิเธียมไม่ใช่ประเทศที่เป็นมิตรต่อสหรัฐฯ มีแนวคิดเอนเอียงไปทางซ้ายสุดทางการเมือง และใกล้ชิดจีนมากยิ่งขึ้นเมื่อถูกแรงบีบจากสหรัฐฯ

ปีที่แล้ว อาร์เจนตินาเข้าร่วมโครงการ Belt and Road ของจีน และในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว บริษัทจีนได้บรรลุข้อตกลงมูลค่าเกือบ ๑ พันล้านดอลลาร์เพื่อเข้าครอบครองบริษัทลิเธียมของอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นสิ่งที่สหรัฐฯไม่สามารถขัดขวางได้

ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์กำลังร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วราวกับแบตเตอรี่ลิเธียมที่ทำงานหนักเกินไป อนาคตที่เต็มไปด้วยรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดกำลังมา แต่ปัญหาสภาพอากาศและอนาคตของมนุษยชาติไม่ใช่แรงผลักดันที่แท้จริง เมื่อผลประโยชน์ขัดกัน มหาอำนาจเดี่ยวกับโลกหลายขั้วจึงยากประสานกันให้ลงตัว เมื่อฝ่ายหนึ่งต้องการรวบอำนาจและผลประโยชน์ไว้ในมือแต่เพียงผู้เดียว การประลองครั้งใหม่ในสงครามเศรษฐกิจจึงดุเดือดเคร่งเครียดสูงขึ้นไม่ได้ชิวๆแค่สงครามการค้าธรรมดาในอดีต เรื่องนี้จึงเชื่อมโยงกับสงครามทางทหารในขอบเขตทั่วโลกอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง!!??